สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ กลางคืนวันที่ 7 ธันวาคม
2484 ก็ได้มีรายงานมาตามลำดับ ถึงสถานการณ์ทางทหารที่เกิดขึ้นคือ
-
กำลังทหารของญี่ปุ่น ได้ยกพลขึ้นบกที่สงขลา ปัตตานี และได้มีการปะทะกับกำลังฝ่ายไทย
- ได้มีชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในกรุงเทพ ฯ นำรถยนต์จำนวน 14 - 15 คัน
ไปทางจังหวัดสมุทรปราการ นัยว่า เพื่อไปรับกองกำลังญี่ปุ่นที่จะมาขึ้นบกที่ปากน้ำ
นายพลตำรวจตรีหลวงอดุลเดชจรัส จึงได้สั่งการให้ปิดถนนสาย สมุทรปราการ - กรุงเทพ ฯ
เมื่อเวลา 03.00 น.
- กองทัพญี่ปุ่นได้ส่งเรือรบมา 3 ขบวน ขบวนหนึ่งมีจำนวนเรือ
15 ลำ มุ่งตรงไปสงขลา อีกขบวนหนึ่งตรงมาอ่าวไทยทางทิศตะวันออก บริเวณเกาะสมุย
และอีกขบวนหนึ่งตรงมาที่ปากน้ำสมุทรปราการ
โดยที่ทางกองทัพเรือของไทยได้ไปรวมกำลังอยู่ที่เกาะสีชัง
-
มีวิทยุโทรเลขจากสิงคโปร์ ปรากฎว่าทหารญี่ปุ่นขึ้นที่กลันตัน
ในเขตอังกฤษห่างจากแดนไทย ประมาณ 18 ไมล์
- ที่พระตะบอง
กองทัพกำลังเคลื่อนเข้าหากัน
- ทางสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์ว่า ญี่ปุ่นพยายามยกพลขึ้นบก เมื่อเวลา 01.00 น.
ของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 พร้อมทั้งโจมตีทิ้งระเบิดฐานทัพต่าง ๆ ของสหรัฐมลายู
ทหารญี่ปุ่นขึ้นบกสำเร็จ ณ บริเวณชายหาดแห่งหนึ่งในสหรัฐมลายู
เรือบรรทุกเครื่องบินของอังกฤษลำหนึ่งถูกยิง ประมาณว่ากองกำลังทางอากาศของญี่ปุ่น
ได้ครอบครองน่านน้ำเขตเช่านานาชาติไว้แล้ว
-
ในเวลาต่อมาก็ได้รับโทรเลขจากเชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ มีความว่า
"ข้าพเจ้ามีความเห็นอกเห็นใจประเทศไทยที่ถูกญี่ปุ่นบุก
ขอให้ประเทศไทยช่วยตัวเองเถิด
รัฐบาลอังกฤษย่อมมีความสนใจในความเป็นเอกราชของประเทศไทยอยู่เสมอ"
การเตรียมการของไทย
การดำเนินการเจรจาทางการทูต
การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งการ
ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
เหตุการณ์ขั้นต่อมา และข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น
การร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น
การประกาศสงคราม
การประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการของฝ่ายสัมพันธมิตร
การดำเนินสงคราม
การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
การจัดตั้งกองทัพพายัพ
การปกครองสหรัฐไทยเดิม
การปฏิบัติการทางอากาศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยก่อนสงครามยุติ
ไทยประกาศสันติภาพ
ท่าทีของสัมพันธมิตรต่อไทยหลังสงครามยุติ
สภาวการณ์หลังสงคราม
การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ
จดหมายเหตุ