สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
ในระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2484 วงการทูตในประเทศไทย ได้มีการติดต่อกันทางโทรเลข และโทรศัพท์กันวุ่นวาย จากรายงานข่าวที่มีขบวนเรือลำเลียง และเรือรบของกองทัพญี่ปุ่น จำนวนประมาณ 80 ลำ ได้แล่นผ่านอ่าวคัมรานของญวนมุ่งหน้ามาที่อ่าวไทย
ตอนบ่ายวันที่ 7 เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ขอเข้าพบ นายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยแจ้งว่ามีเรื่องสำคัญที่สุดที่จะต้องปรึกษาโดยด่วน เกี่ยวกับเรื่องที่กองทัพญี่ปุ่น จะต้องขอผ่านประเทศไทย แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงว่า ไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะต้องรอนายกรัฐมนตรีซึ่งไปตรวจราชการต่างจังหวัดอยู่
ในคืนวันเดียวกัน พลตำรวจเอกหลวงอดุลย์ เดชจรัส รองนายกรัฐมนตรี
ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น ซึ่งแยกประเด็นได้ 4
ประการคือ
1. ขอให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย โดยจะเคารพอธิปไตยของไทย
2.
ให้ประเทศไทย ทำสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมกับญี่ปุ่น
3. ให้ประเทศไทยเป็นภาคีประเทศอักษะ
4. ไม่ตกลงอะไรเลยก็ได้
คณะรัฐมนตรีตกลงอะไรไม่ได้ จำเป็นต้องรอนายกรัฐมนตรี เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น พร้อมด้วยทูตทหารบก - เรือ กับนายทหารติดตามอีก 6 - 7 นาย ได้มานั่งคอยคำตอบอยู่ที่ตึกชั้นล่าง ของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่เมื่อยังไม่ได้รับคำตอบก็ต้องกลับไปก่อน และแจ้งว่าเวลา 5 นาฬิกา จะกลับมาใหม่ เพื่อขอรับคำตอบโดยทันที หาไม่จะดำเนินการตามแผนการ
เช้าวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เวลาประมาณ 6 นาฬิกา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เดินทางมาถึงที่ประชุม คณะรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลอากาศตรี พระเวชยันต์ รังสฤษดิ์ แม่ทัพอากาศ พลโท จิระ วิชิตสงคราม เสนาธิการทหาร และพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ รัฐมนตรี เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นพร้อมทั้งคณะทูตทหาร ได้ตรงเข้ามาห้อมล้อม และขอคำตอบโดยทันที แต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม แจ้งเรื่องนี้เป็นเรื่องความเป็นความตาย ต้องปรึกษาและขออนุมัติคณะรัฐมนตรี และต้องเป็นคำตอบของรัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในที่สุดเอกอัครราชทูตก็ตงลงให้เวลา 30 นาที สำหรับคำตอบ
ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ขอให้ แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ และแม่ทัพอากาศ ชี้แจงให้ทราบว่า กองทัพไทยจะสู้รบต้านทานกับกองทัพญี่ปุ่นได้เพียงใด ก็ได้รับคำตอบจากแม่ทัพบกและแม่ทัพอากาศ (แม่ทัพเรือ เข้ามาที่หลัง) แถลงว่าไม่มีทางที่จะต่อต้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา และอังกฤษไม่ได้ช่วยเหลือไทยแต่ประการใด ฝ่ายสหรัฐได้สั่งงดไม่ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด จำนวนหนึ่งตามที่ตกลงไว้เดิม ฝ่ายอังกฤษมีกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ และนาวิกโยธิน อยู่เป็นจำนวนมากที่พอจะรับมือกับกองทัพญี่ปุ่นได้ แต่กลับขอให้ไทยซึ่งมีกำลังอยู่ในภาคใต้เพียงไม่กี่กองพัน เป็นกองระวังหลังยับยั้งการรุกรานของญี่ปุ่น เพื่อให้โอกาสกองทัพอังกฤษถอยทัพจากสหรัฐมลายูไปอินเดียได้
การเตรียมการของไทย
การดำเนินการเจรจาทางการทูต
การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งการ
ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
เหตุการณ์ขั้นต่อมา และข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น
การร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น
การประกาศสงคราม
การประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการของฝ่ายสัมพันธมิตร
การดำเนินสงคราม
การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
การจัดตั้งกองทัพพายัพ
การปกครองสหรัฐไทยเดิม
การปฏิบัติการทางอากาศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยก่อนสงครามยุติ
ไทยประกาศสันติภาพ
ท่าทีของสัมพันธมิตรต่อไทยหลังสงครามยุติ
สภาวการณ์หลังสงคราม
การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ
จดหมายเหตุ