สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การประกาศสงคราม
เมื่อได้ลงนามในกติกาสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่นแล้ว คณะรัฐมนตรีก็ได้มอบหมายให้
นายเดือน บุนนาค ร่างคำประกาศสงครามพร้อมด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยชนชาติศัตรู
และได้ตั้งคณะกรรมาธิการประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
นายวิจิตร วิจิตรวาทการ (หลวงวิจิตรวาทการ) และนายเดือน บุนนาค นำไปตรวจแก้
เตรียมการต่าง ๆ ไว้เรียบร้อย แต่ยังไม่ดำเนินการประกาศสงคราม
สรุปเหตุผลที่รัฐบาลไทยต้องประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา
พอประมวลได้ดังนี้
- กองทัพญี่ปุ่นเปลี่ยนท่าทีจากเดิมที่ขอเดินทัพผ่านประเทศไทยเป็นลักษณะเข้ายึดครอง ได้เข้าควบคุมการเคลื่อนไหวทางทหาร และการคมนาคม
- กองทัพญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงการบริหารของรัฐบาล ถึงกับเสนอขอเข้าฟังการประชุมของคณะรัฐมนตรี
- กองทัพญี่ปุ่นเตรียมเกณท์ยวดยานพาหนะ เครื่องอุปกรณ์ในการรบและแรงงาน
- กองทัพญี่ปุ่นห้ามการกระจายเสียง การโฆษณา ฉายภาพยนตร์ตลอดจนห้ามสอนภาษาอังกฤษ
- กองทัพญี่ปุ่นเริ่มพิมพ์ธนบัตรญี่ปุ่นขึ้นใช้ในประเทศไทย
- กองทัพญี่ปุ่นเข้าสำรวจเตรียมยึดทรัพย์ของชนชาติอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฮอลันดา ตลอดจนสัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ ซึ่งต่อไปรัฐบาลไทยจะต้องชดใช้เป็นเงินจำนวนมหาศาล
- กองทัพญี่ปุ่นให้ส่งมอบชนชาติอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฮอลันดา ในสถานที่กักกันของไทย ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาตร์ และการเมืองจำนวนหลายพันคน ไปเข้าค่ายเชลยญี่ปุ่นที่แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี
การประกาศสงครามต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกา เป็นความจำเป็นที่สุด และเป็นการช่วยตนเอง ให้พ้นจากความพินาศ เพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ
อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่ได้ประกาศสงคราม จนกระทั้ง เมื่อกลางคืนของวันที่ 24 มกราคม 2485 พระนครถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ลูกระเบิดถูกมุขด้านเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคมพังลงมา เป็นการทิ้งระเบิดครั้งแรก พอวันรุ่งขึ้น 25 มกราคม 2485 ไทยก็ได้ประกาศสงคราม
การเตรียมการของไทย
การดำเนินการเจรจาทางการทูต
การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งการ
ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
เหตุการณ์ขั้นต่อมา และข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น
การร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น
การประกาศสงคราม
การประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการของฝ่ายสัมพันธมิตร
การดำเนินสงคราม
การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
การจัดตั้งกองทัพพายัพ
การปกครองสหรัฐไทยเดิม
การปฏิบัติการทางอากาศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยก่อนสงครามยุติ
ไทยประกาศสันติภาพ
ท่าทีของสัมพันธมิตรต่อไทยหลังสงครามยุติ
สภาวการณ์หลังสงคราม
การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ
จดหมายเหตุ