สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สงครามมหาเอเซียบูรพา
เมื่อเยอรมันยกกองทัพเข้าบุกโปแลนด์ และได้มีการประกาศสงครามขึ้นในยุโรป ระหว่างฝ่ายอักษะกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทางซีกโลกด้านตะวันออก ญี่ปุ่นได้ประจักษ์แน่ชัดว่า สงครามโลกครั้งที่สอง จะต้องเกิดขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เป็นโอกาสที่ญี่ปุ่น จะบุกเข้าทางดินแดนในอาณานิคมของชาติผิวขาว ในทวีปเอเซีย จึงได้ให้กองทัพญี่ปุ่นยับยั้งการรบในประเทศจีน ที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2475 โดยได้มีการดำเนินการดังนี้
- การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ได้จัดส่งผู้สืบราชการลับ
และหน่วยทำลายจำนวนแสนคน ออกปฏิบัติการใต้ดิน ทั่วดินแดนในย่านมหาสมุทรแปซิฟิค
ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา
ถึงออสเตรเลีย และบรรดาหมู่เกาะทั้งหลายในย่านนี้ ตลอดทั้งฮ่องกง ฟิลิปปินส์ อินโดจีน พม่า มลายู อินเดีย และประเทศไทย
- จัดแบ่งกำลังกองทัพสนาม ซึ่งมีอยู่ 51 กองพลใหญ่
โดยจัดเป็นกำลังตรึงในดินแดนประเทศจีน แมนจูเรีย และเกาหลี 25 กองพล
ส่วนที่เหลือจัดเป็นกำลังสู้รบตามแผนการลงใต้ บุกเอเซียอาคเนย์
- วางแผนการจู่โจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกา ที่เกาะฮาวาย
เพื่อตัดกำลังการสู้รบทางเรือ เพื่อมิให้ต้องผจญยุทธนาวีของจักรภพอังกฤษ
และสหรัฐอเมริการ่วมกัน ซึ่งจะเป็นการเหลือกำลังของ
กองทัพญี่ปุ่นที่จะรับมือได้
- ทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต รัสเซีย เป็นเวลา 5 ปี เมื่อเดือนกันยายน
2484
- เตรียมการยึดอินโดจีน เป็นฐานทัพเรือ และฐานทัพอากาศ โดยทำสัญญากับรัฐบาล
วิธีของฝรั่งเศส เพื่อใช้เมืองฮานอย ไฮฟอง คัมราน และไซ่ง่อน เป็นฐานทัพ
ส่งกำลังทหารบกขึ้นอินโดจีน เพื่อยึดหัวหาดจะได้เคลื่อนกำลังเข้าประเทศไทย พม่า
และมลายูได้สะดวก กับทั้งเป็นการย่นระยะทางการทิ้งระเบิด
จากเกาะญี่ปุ่นถึงสิงคโปร์ เหลือเพียง 600 กิโลเมตร
- ทำสัญญาไม่รุกรานกับประเทศไทยเพื่อลวงให้ตายใจ
ซึ่งได้เซ็นสัญญากันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2483
ในขณะที่รัฐบาลไทยได้ทำสัญญาไม่รุกรานกับฝรั่งเศส และอังกฤษ ที่กรุงเทพ ฯ
ในวันเดียวกัน แต่ญี่ปุ่นขอแยกเซ็นสัญญาที่กรุงโตเกียว
- กำหนดการเข้าโจมตียึดครองประเทศอาณานิคมในเอเซียอาคเนย์ ในเดือนธันวาคม เพื่อให้พ้นฤดูมรสุม เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการสู้รบ ครั้งแรกได้กำหนดไว้ ณ วันที่ 5 ธันวาคม แต่ได้เปลี่ยนมาเป็น วันที่ 8 ธันวาคม เพื่อให้ตรงกับวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่ชาวตะวันตกถือเป็นวันพักผ่อนสำคัญ
การเตรียมการของไทย
การดำเนินการเจรจาทางการทูต
การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งการ
ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
เหตุการณ์ขั้นต่อมา และข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น
การร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น
การประกาศสงคราม
การประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการของฝ่ายสัมพันธมิตร
การดำเนินสงคราม
การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
การจัดตั้งกองทัพพายัพ
การปกครองสหรัฐไทยเดิม
การปฏิบัติการทางอากาศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยก่อนสงครามยุติ
ไทยประกาศสันติภาพ
ท่าทีของสัมพันธมิตรต่อไทยหลังสงครามยุติ
สภาวการณ์หลังสงคราม
การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ
จดหมายเหตุ