สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สงครามมหาเอเซียบูรพา

การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ

เมื่อเปิดฉากการสงครามในระยะแรก กองทัพญี่ปุ่นได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว อังกฤษจำเป็นต้องถอนกำลังออกไปจากพม่า และได้มอบภารกิจในการต้านทานกองทัพญี่ปุ่นในสหรัฐไทยเดิม ให้กับกองทัพจีนซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตร และเป็นประเทศคู่สงครามกับญี่ปุ่นมาก่อน กองทัพดังกล่าวเป็นกองทัพจีนฝ่าย ก๊กมินตั๋งภายใต้การบังคับบัญชาของ จอมพล เจียงไคเช็ค โดยมอบให้ กองพลที่ 93 เป็นหน่วยรับผิดชอบ ดังนั้น การรบในพื้นที่สหรัฐไทยเดิมในสงครามาหาเอเซียบูรพา จึงเป็นการรบระหว่างกองทัพพายัพของไทย กับกองพลที่ 93 ของจีนฝ่ายก๊กมินตั๋งโดยตรง

กองทัพฝ่ายจีนก๊กมินตั๋ง ที่รับผิดชอบในสหรัฐไทยเดิม คือกำลังของกองทัพที่ 6 ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ เมืองตองยี (Taunggyi) เมืองหลวงของสหรัฐไทยเดิม ประกอบด้วยกำลังรบ 3 กองพลใหญ่ คือ

  • กองพลที่ 49 ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองพาน
  • กองพลที่ 55 ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองลอยก่อ
  • กองพลที่ 93 ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองเชียงตุง
  • กองพลที่ 49 และกองพลที่ 55 ได้ถอนตัวไปรักษาพื้นที่มณฑลยูนนานของจีน จึงเหลือเพียงกองพลที่ 93 อยู่รักษาพื้นที่ในสหรัฐไทยเดิม
  • กองพลที่ 93 ได้เคลื่อนที่จากเมืองเชียงรุ้ง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2484 ตามเส้นทางเมืองเชียงรุ้ง - เมืองลอง - เมืองยู้ - เมืองยอง ถึงเมืองยองเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2484 และได้ไปตั้งกองบัญชาการที่เมืองเชียงตุง

การเตรียมการของไทย
การดำเนินการเจรจาทางการทูต
การปฎิบัติของสหรัฐและอังกฤษ
การเตรียมการต่อสู้ภายในประเทศ
การดำเนินการของรัฐบาลไทย เมื่อญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านไทย
สถานการณ์ทางทหารและการเมือง
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสั่งการ
ข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
เหตุการณ์ขั้นต่อมา และข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น
การร่วมวงศ์ไพบูลย์กับญี่ปุ่น
การประกาศสงคราม
การประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่ และสหรัฐอเมริกา
การดำเนินการของฝ่ายสัมพันธมิตร
การดำเนินสงคราม
การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ
การจัดตั้งกองทัพพายัพ
การปกครองสหรัฐไทยเดิม
การปฏิบัติการทางอากาศ
การดำเนินการของฝ่ายไทยก่อนสงครามยุติ
ไทยประกาศสันติภาพ
ท่าทีของสัมพันธมิตรต่อไทยหลังสงครามยุติ
สภาวการณ์หลังสงคราม
การทำความตกลงสมบูรณ์แบบ
จดหมายเหตุ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย