ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่

(Structural-Functional theory)

แนวความคิดในการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่าง ๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้ ในที่นี้ขออธิบายแยกย่อยตามกรอบแนวคิดของนักคิดหลายๆท่าน เช่น

โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton)

ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภทคือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้

อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim)

มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรวนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่า หน้าที่ทางสังคม เป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ระดับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก
โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย