ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
มีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้
- สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและประชากร (The physical environment and
population)ปรากฏการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาวะโลกร้อน แผ่นดินไหว
น้ำท่วม สึนามิ ฯลฯ
ล้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบที่เรียกตามศัพท์ทางสังคมศาสตร์ว่า
การเสียระเบียบของสังคม (Disorganization)
ซึ่งยังผลให้ความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่มีต่อกันถูกเปลี่ยนไป เช่น
สมาชิกในครอบครัวต้องแยกจากกัน เพราะการเสียชีวิต และการพลัดพรากจากกัน เป็นต้น
- เทคโนโลยี (Technology)
เมื่อมีสิ่งใหม่ที่ทันสมัยเกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นได้เองหรือการรับเอามาใช้
สังคมจึงย่อมได้รับผลกระทบและมีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งอาจเป็นระดับกลุ่มหรือระดับโครงสร้างสังคมขึ้นอยู่กับว่าคนในสังคมได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากหรือน้อย
เพราะเทคโนโลยีทำให้มนุษย์ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมในการกระทำต่อกิจกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้
บางสิ่งต้องสร้างระบบหรือปรับโครงสร้างในการทำงานใหม่
เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของเทคโนโลยี(เช่นการเปลี่ยนไปใช้ระบบโทรศัพท์แบบ 3
G หรือ 4 G )
แต่ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีบางอย่างก็อาจทำให้มนุษย์ต้องทำงานมากขึ้นและเร็วขึ้นจนต้องทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อครอบครัวและคนอื่น
ๆ ในชีวิตประจำวันมีการเปลี่ยนแปลงไป
นอกจากนั้นแล้วเมื่อนำเอาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นอาจทำให้เกิดความล้าทางวัฒนธรรม
(Cultural lag) ซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่
ที่ย่อมปรับตัวในอัตราที่ไม่เท่ากัน
จนเกิดเป็นความเหลื่อมล้ำระหว่างกันและเป็นปัญหาสังคมตามมาได้ภายหลัง
- กระบวนการทางวัฒนธรรม (Cultural processes) เมื่อเกิดการค้นพบ (Discovery)
และมีการประดิษฐ์ (Invention) จนเกิดเป็นนวัตกรรม (Innovation) ขึ้นในสังคม
การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social movement) ทำให้เกิดการแพร่กระจายของวัฒนธรรม
(Cultural diffusion) จากคนกลุ่มหนึ่งหรือสังคมหนึ่ง
ไปสู่คนกลุ่มอื่นหรือสังคมอื่น
สังคมที่รับเอานวัตกรรมไว้ใช้ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมเกิดขึ้น
- การพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Economic development)
ทำให้เกิดความทันสมัย(Modernization)
เพราะมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตตามแบบดั้งเดิมในยุคสังคมเกษตรกรรม(Preindustrial
society) ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมและแบบเมือง
ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization)
ที่เปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้แรงงานมนุษย์ไปสู่การใช้แรงงานจากเครื่องจักรกล
ใช้ระบบการทำงานแบบอุตสาหกรรม
และบริเวณใดที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม
ย่อมมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเขตเมือง (Urbanization)
เพราะมีการอพยพแรงงานจากชนบทเข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรม การทำงานในกิจกรรมต่าง
ๆ เปลี่ยนรูปแบบไปสู่ความเป็นระบบราชการ (Bureaucratization)
เกิดเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่เป็นทางการ
รวมทั้งการเกิดลักษณะการบริหารงานในรูปแบบบริษัทข้ามชาติ
- การขยายตัวของกระแสประชาธิปไตย(Democracy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาธิปไตย แบบมีส่วนร่วม ที่พยายามให้สิทธิและ เสรีภาพประชาชน พร้อมให้หลักประกันในชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งความสงบสุขเพื่อความก้าวหน้าของประเทศ
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ระดับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก
โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย