ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย

ระดับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมี 2 ระดับ คือ

1. ระดับกลุ่มคนย่อย ๆ โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มคนบางกลุ่ม ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับ เจตคติ ค่านิยม บรรทัดฐาน และในที่สุดอาจมีผลไปถึงขั้นสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างของสังคมได้

2. ระดับสถาบันหรือระดับองค์การ การเปลี่ยนแปลงระดับนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กรหรือสถาบัน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันทางเศรษฐกิจ หรือสถาบันการเมืองและการปกครอง เป็นต้น และการเปลี่ยนแปลงในระดับนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสังคมได้เช่นเดียวกัน(มหาวิทยาลัยบูรพา, 2545 )

การเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วนของสังคมอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็ได้ ถ้าส่วนที่เปลี่ยนแปลงนั้นเป็นแกนหรือเป็นพื้นฐานหลักของสังคม จึงควรแยกพิจารณาว่าอะไรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นด้านหลักหรือการเปลี่ยนแปลงส่วนพื้นฐานสำคัญ (Fundamental change) และอะไรเป็นการเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงด้านรอง (Minor change) การเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในอีกส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมมีที่มาจากปัจจัยทั้งภายนอกสังคมและปัจจัยภายในสังคมนั้นเองก็ได้( เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล , 2540 )

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ระดับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก
โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย