ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย

สังคมใดๆโลกนี้คงไม่มีสังคมใดที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง โดยอาจจะมีอัตราที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกของแต่ละสังคมซึ่งแตกต่างกันออกไป การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีทั้งการเปลี่ยนแปลงที่นำไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือเสื่อมลงก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามสมาชิกสังคมนั้นจำเป็นต้องตามการเปลี่ยนนั้นให้ทัน เพื่อให้ระบบสังคมทั้งหมดสามารถดำรงอยู่และดำเนินต่อไปได้ ยังผลให้เกิดการปรับตัวของสมาชิกในสังคมนั้นๆเพื่อทำให้สังคมพัฒนาต่อๆไป

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ราชบัณฑิตยสถาน ได้นิยาม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น

สนิท สมัครการ อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นหมายถึง การเปลี่ยนแปลง
ใด ๆ ที่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ว่าจะเล็กน้อย หรือใหญ่โตเพียงไรก็ตามย่อมถือได้ว่าเป็นเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ทั้งสิ้น

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ระดับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก
โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง

  • คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาฯ. สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2543.
  • คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาฯ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2540.
  • คลังปํญญาไทย . โลกาภิวัตน์.
  • มหาวิทยาลัยบูรพา .2545. ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
  • สนิท สมัครการ. วิธีการศึกษาสังคมมนุษย์กับตัวแบบสำหรับศึกษาสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534 .
  • อธิปัตย์ คลี่สุนทร.ยุทธศาสตร์การบริหารในยุคโลกาภิวัตน์.
  • อาคม.การวิเคราะห์กระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย