ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย

การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก

จากอดีตจนถึงปัจจุบันเราสามารถแบ่งสังคมเป็นระยะต่างๆได้ดังนี้

  1. ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมจะเป็นสังคมแบบดั้งเดิม เน้นการผลิตด้านการเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เป็นยุคอดีตจนถึงช่วงก่อนการปฎิวัติอุตสาหกรรม
     
  2. ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนา เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน
     
  3. ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) โลกจึงไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วยิ่งขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมบางส่วนอาจปรับตัวไม่ทันกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน

“โลกาภิวัตน์” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่จุดใดสามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น

ดังนั้นคำว่า โลกาภิวัตน์ จึงเป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่ เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของโลก แต่กลับไปส่งผลกระทบอย่างรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลกทั้งหมดด้วย เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วย/องค์กรทางธุรกิจ และรัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั่วทั้งโลก

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ระดับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก
โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย