สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ทฤษฎีทางการพยาบาล
อ.มณีรัตน์ พันธุ์สวัสดิ์
ทีมสุขภาพจิต
ทีมสุขภาพจิตมีความสำคัญในการช่วยเหลือผู้รับบริการทางจิต เพื่อตอบสนองการช่วยเหลือให้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ทีมสุขภาพจิตเป็นสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัดของผู้รับบริการทางจิตส่วนหนึ่ง (Shives, 1990) โดยพยาบาลจิตเวชจะเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในทีม เนื่องจากมีภาระหน้าที่ต้องดูแลอยู่ใกล้ชิด ผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ในปัจจุบันบทบาทในการบำบัดรักษามีความสำคัญต่อพยาบาลมากขึ้น พยาบาลจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทของสมาชิกในทีมสุขภาพจิตเป็นอย่างดี ซึ่งจะมีบุคลากรสายสหวิชาชีพ โดยแต่ละกลุ่มวิชาชีพสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และพัฒนาแผนการบำบัดร่วมกัน ได้แก่
1. จิตแพทย์ โดยทั่วไปจิตแพทย์จะเป็นหัวหน้าทีมการรักษา เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้รับบริการมากที่สุด
2. นักจิตวิทยาคลินิก เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์และสามารถปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี และมีบทบาทหน้าที่ในการรักษาทางจิตบำบัด
3. นักสังคมสงเคราะห์ทางจิตเวช มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคมของผู้รับบริการอย่างแท้จริง สามารถติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนสามารถค้นหาแหล่งข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี
4. พยาบาลจิตเวช มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มีความสามารถประยุกต์ใช้ในทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ในการปฏิบัติการพยาบาลและใช้ตนเองในการปฏิบัติการได้เป็นอย่างดี รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถติดต่อสื่อสาร ประสานงานกับทีมการรักษา เพื่อช่วยเหลือผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. นักอาชีวะบำบัด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ เทคนิควิธีการและจุดมุ่งหมายของกิจกรรมต่าง ๆ และการสร้าง สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6. นักกิจกรรมบำบัด เป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัด สามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละประเภทได้เป็นอย่างดี
7. นักดนตรีบำบัด เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
โดยเฉพาะด้านดนตรี ที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม เน้นการใช้ดนตรีบำบัด
เช่น การร้องเพลง การเล่นดนตรี เต้นรำ
ทีมสุขภาพจิต มีความสำคัญต่อผู้ที่มีปัญหาทางจิตเป็นอย่างมาก ดังนั้น
ทีมสุขภาพจิตจึงต้องร่วมมือกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ
ปฏิบัติงานร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน
ตลอดจนการปรึกษาหรือเพื่อพัฒนาทีมงานอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตอบสนองความต้องการการช่วยเหลือผู้รับบริการอย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีทางการพยาบาลของรอย
การประยุกต์แนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอยในกระบวนการพยาบาลจิตเวช
ทฤษฎีทางการพยาบาลของคิง
(Kings Theory)
กระบวนการพยาบาลจิตเวชตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม
บทบาทหน้าที่
ความรับผิดชอบ และคุณลักษณะของพยาบาลจิตเวช
ประวัติความเป็นมาของการพยาบาลขั้นสูง สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ทีมสุขภาพจิต
สิทธิของผู้ป่วยจิตเวช
แนวคิดเกี่ยวกับการพยาบาลสุขภาพจิตชุมชน