วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ชีวิตและพันธุกรรมกำหนดของความเป็นมนุษย์

ปิแอร์ ลุยกิ ลุยสิ, มหาวิทยาลัยโรมา อิตาลี

บทความนี้เรียบเรียงตามกรอบความคิดสามประเด็นที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน กรอบความคิดแรกจะเป็นเรื่องของคำถามแรกเริ่มคือ “ชีวิตคืออะไร?” จากมุมมองของวิทยาศาสตร์แผนใหม่ กรอบความคิดที่สองว่าด้วยวิวัฒนาการ ตามทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติของดาร์วิน และกรอบความคิดที่สามว่าด้วย “ความเป็นมนุษย์” ในความสัมพันธ์กับพันธุกรรม
ชีวิตคือชุดเครือข่ายของการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

เป็นไปไม่ได้ที่เราจะหาคำจำกัดความทางวิทยาศาสตร์ของ “ชีวิต” ที่เป็นที่ยอมรับเป็นสากล ทั้งนี้ก็เพราะมุมมองของแต่ละสาขาในเรื่องนี้นั้นทำให้เกิดความแตกต่าง และสิ่งที่สนใจหลักที่ไม่เหมือนกัน อย่างมาก อาทิ นักชีววิทยา นักเคมี นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักปรัชญา นักชีวดาราศาสตร์ วิศวกร นักสารชีวศาสตร์ (bioinformatics) นักเทววิทยา นักวิทยาศาสตร์สังคม นักนิเวศน์ เพียงเท่านี้ก็แสดง ถึงความเป็นไปได้ของความหลากหลายไร้ที่สุด ไม่ใช่เฉพาะเนื่องจากชุดภาษา แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ภาษาเดียวกัน เช่น นักชีววิทยา นักเคมี นักชีววิทยาโมเลกุล ก็ยังไม่สามารถตกลงหาคำจำกัดความ ที่ลงตัวยอมรับได้จากทุกฝ่าย

จากการที่ศาสตร์ ความรู้ ของแต่ละสาขานั้นมีผลต่อมุมที่สนใจ และส่งผลต่อกรอบความคิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เพียงแค่ในวงการวิทยาศาสตร์เท่านั้น อย่างในโลกของกลุ่มคริสตัง ความหมายของชีวิตก็ผูกพันเชื่อมต่ออย่างแนบแน่นระหว่างชีวิต และวิญญาณแต่เป็นเชิงนัยยะ ไม่ชัดเจน ไปถึงความหมายชีวิตในเชิงสุนทรีย์ ที่ทั้งซับซ้อน ละเอียดอ่อน หลากหลายรุ่มรวย ด้วยภาษาพรรณนาโวหารของเหล่ากวีและศิลปิน

ในบทความนี้ ผู้เรียบเรียงจึงขอใช้วิธีการนำเสนอโดยอันดับแรก ด้วยวิธีปรากฏการณ์วิทยา ต่อคำถาม “ชีวิตคืออะไร?” มุ่งเน้นที่มุมมองต่อชีวิตเชิงระบบ อันเป็นวิธีที่วางอยู่บนหลักปรัชญา “อัตตกำเนิด” (Autopoiesis การถือกำเนิดได้ด้วยตนเอง) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยฮัมเบอร์โต มาตูรานา และฟรานซิสโก วาเรลา (1974, 1980) ในการที่จะศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์สำหรับคำถาม “ชีวิตคืออะไร?” เราจะเริ่มจากชีวิตในระดับพื้นฐานที่สุดก่อน ได้แก่ ระดับของบัคเตรี สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ส่วนที่ว่าด้วยปรากฏการณ์วิทยานั้นก็คือ การศึกษาโดยการสังเกตปรากฏการณ์จริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช้ทฤษฎีสมมติฐานใดๆที่มาจากจินตนาการหรือนามธรรม

สัตว์เซลล์เดียวขั้นพื้นฐานธรรมดา
การผุดกำเนิด
ระบบจัดการตนเอง
ระบบอัตตกำเนิด
การไร้ซึ่งจุดจำเพาะเจาะจงหรือศูนย์กลางแห่งชีวิต
การรับรู้
วิถีภายในตัวเองของการรู้ตัว
ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วินสู่ยุคพันธกรรมมนุษย์
ภาพรวมและอนาคตที่กำลังผุดกำเนิด
พันธุกรรมของมนุษย์จะส่งผลอะไรกับเรา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย