วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ชีวิตและพันธุกรรมกำหนดของความเป็นมนุษย์

ปิแอร์ ลุยกิ ลุยสิ, มหาวิทยาลัยโรมา อิตาลี

พันธุกรรมของมนุษย์จะส่งผลอะไรกับเรา

ตัวกำหนดทางพันธุกรรมในความเป็นมนุษย์ก็จะยังคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ความเป็นเอปนักฆ่า ที่อยู่กับเรามานับพันปี ทำให้เกิดการนองเลือด การทำลาย จนกระทั่งความฝันที่จะให้มนุษย์ หยุดสงครามนั้น ดูจะเป็นโลกในอุดมคติเท่านั้น เราไม่มีทางจะหยุดยีนเหล่านี้ได้ กระนั้น พฤติกรรมด้านมืดเหล่านี้ สามารถถูกควบคุมได้ โดยสติ เพียงแค่การนำเอาเรื่องของจิตวิญญาณ เรื่องของสามัญสำนึก เข้ามาบูรณาการฝึกกับการมีสติ แม้ว่าเราจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรกับพันธุกรรม แต่เราอาจจะค่อยๆเพิ่มจำนวนผู้ที่ลดสงครามลง ลดความรุนแรงลง และในด้านนี้นี่เอง ที่ในระยะ 10-20 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่พุทธศาสนา เข้าไปในโลกตะวันตกอย่างกว้างขวาง และด้วยความที่มุ่งเน้นด้าน ความรัก ความเมตตากรุณา ความอดทนอดกลั้น และการอยู่ร่วมอย่างสันติ เราอาจจะกำลังมองเห็นการ เปลี่ยนแปลง ของทิศทางของสติในระดับสังคมมวลมนุษย์

เรายังหวังว่าสติจะไปควบคุมเรื่องความอยากรู้อยากเห็น และทิศทางของวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องสุดจะพยากรณ์ได้ว่าโลกแห่งหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติต่างๆจะนำไปสู่ทิศทางของอะไร สิ่งที่เรามีในเทคโนโลยีปัจจุบัน เป็นอะไรที่เหนือจินตนาการของปู่ทวดของเรา ร้อยกว่าปีมานี้เอง เรายังไม่มีเครื่องบิน ไม่มีรถไฟด่วน ไม่มีรถยนต์ ไม่มีโทรศัพท์ อินเตอร์เนท หรือโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นอะไรจะเกิดขึ้นมาอีกในอนาคตอันใกล้สักแค่ร้อยปี ก็สุดจินตนาการเช่นกัน ไม่ได้ต้องไปไกลขนาดเป็นพันปี หรือเป็นล้านปี เท่านี้เป็นเพียงแค่เสี้ยวของวิวัฒนาการทั้งหมด คำถามถึงจุดนี้ก็คงเป็นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้น จะนำเอาการเปลี่ยนแปลงแบบใด มาสู้มวลมนุษยชาติทั้งหมด

ตัวกำหนดทางพันธุกรรมในความเป็นมนุษย์ทั้งห้าประการ จะยังคงมีปฏิสัมพันธ์ เชื่อมโยง เกี่ยวเนื่องกันต่อๆไป และรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือของสิ่งแวดล้อม บางคนอาจจะคิดไปถึงโลกอันอุดมไปด้วยหุ่นยนต์ หรือมนุษย์ที่มีอวัยวะเทียม อุปกรณ์เทียม หรือแม้กระทั่งมนุษย์ที่ออกไปอาศัยบนดาวดวงอื่น ในทำนองกลับกัน ที่อาจจะใกล้เคียงความเป็นจริง มากกว่าก็คือ เราอาจจะกำลังเห็นความหายนะระดับโลก และอาจจะได้เห็นการกระตุ้น ให้เกิดสติใหญ่เพื่อการได้อยู่รอดอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้น แล้วเราจำเป็นต้องรอถึงตอนนั้นเท่านั้นหรือ ถึงจะได้เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเป็นมนุษย์.

สัตว์เซลล์เดียวขั้นพื้นฐานธรรมดา
การผุดกำเนิด
ระบบจัดการตนเอง
ระบบอัตตกำเนิด
การไร้ซึ่งจุดจำเพาะเจาะจงหรือศูนย์กลางแห่งชีวิต
การรับรู้
วิถีภายในตัวเองของการรู้ตัว
ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วินสู่ยุคพันธกรรมมนุษย์
ภาพรวมและอนาคตที่กำลังผุดกำเนิด
พันธุกรรมของมนุษย์จะส่งผลอะไรกับเรา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

อ้างอิง

  • Bitbol, M, Is Consciousness primary? Neuro-quantology, 6(2008) 53-72
  • Boyer, P., " Religion: bound to believe”, Nature 455 (2008) PG 1038-1039
  • Chalmers, D. The conscious mind, Oxford Univ. Press, 1996
  • Clark, G., Malthus, “Darwin and the birth of modern economy” Princeton Univ. Press, 2007
  • Damiano, L., and Luisi, P.L. Autopoietic view of death: drawing the concept of autopoietic negemergence, in Aguilar A. LC (editor), What is Death? Ateneo Pontificio Regina Apostolorum, Rome, 2009
  • Darwin, C., On the origin of species by means of natural selection, or the preservation of favoured races in the struggle for life, 1st ed., London, 1859, John Murray
  • Dawkins, R., The selfish gene, Oxford Univ. Press, 1976
  • Dennet, D.C. Consciousness explained, Little, Brown and Co., 1991
  • Huxley J., Evolution: the modern synthesis, Allen and Urwin, London) 1942
  • Girotto,V., Pievani T., and Vallortigara, G., Nati per credere, Codice edizioni, Torino, 2008).
  • Lewontin, R. C. (1993). The Doctrine of DNA – Biology as an Ideology. Penguin Books.
  • Luisi, P.L., The emergence of life-from the chemical origins to synthetic bology, Cambridge Univ. Press, 2006
  • Malthus, T.R., An essay on the principle of population, 1798; see also in Oxford World’ classic Reprints
  • Maturana, H. and Varela, F. (1980). Autopoiesis and Cognition: The Realization of the Living. Reidel.
  • Maturana, H., and Poerkson, B., From Being to Doing, Carl-Auer, 2004
  • Noble, D., The Music of Life, Oxford Univ. Press, 2006
  • Pigliucci, M, Müller G.B., Evolution, the extended synthesis, MIT press, Cambridge Mass., 2010
  • Spencer, H: "Progess: Its Law and Causes", The Westminster Review, Vol 67 (April 1857
  • Varela, F. J., Maturana, H. R., and Uribe, R. B. (1974). Autopoiesis: the organization of living system, its characterization and a model. Biosystems, 5, 187–96; (1998). The Tree of Knowledge, revised edn. Shambala.
  • Varela, F. J., Thompson, E., and Rosch, E. (1991). The Embodied Mind. MIT
  • Velmans, M., Understanding Consciousness (Routledge/Psychology Press, London, 2000),
  • Wrangham R., and Peterson D., Demonic males, Bloomsbury, 1997