สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ / อ.วิชาญ
อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหาร
1. อำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศขององค์กรบริหาร
2. อำนาจหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติขององค์กรบริหาร
3. อำนาจหน้าที่ในด้านตุลาการขององค์กรบริหาร
4. อำนาจหน้าที่ในยามฉุกเฉินขององค์กรบริหาร
อำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศขององค์กรบริหาร
สิ่งที่จะเป็นเครื่องกำหนดการบริหารประเทศขององค์กรบริหารได้แก่ นโยบาย
อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- นโยบายหลักหรือแนวนโยบายแห่งรัฐ จะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ เช่น
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 หมวด 5
ได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ตั้งแต่มาตรา 53 ถึงมาตรา 73
แนวนโยบายหลักหรือแนวนโยบายแห่งรัฐนี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล
- นโยบายของรัฐบาล เป็นนโยบายซึ่งผู้ที่เข้ารับตำแหน่งในองค์กรบริหารจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการบริหารประเทศ เป็นอำนาจสิทธิ์ขาดขององค์กรบริหารที่จะเป็นผู้กำหนดขึ้น นโยบายของรัฐบาลนี้เป็นนโยบายในส่วนย่อยซึ่งจำเป็นจะต้องสอดคล้องกับนโยบายหลักหรือนโยบายแห่งรัฐ นโยบายของรัฐตามปกติได้แก่นโยบายซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาก่อนที่จะเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศ องค์กรบริหาร นอกจากอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้กับองค์กรนิติบัญญัติแล้ว องค์กรบริหารยังมีอำนาจในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดเอาไว้ให้เป็นอำนาจขององค์กรบริหารโดยตรง เพื่อที่จะสามารถดำเนินการบริหารได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ อำนาจต่างๆ เหล่านี้ได้แก่
- อำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก
- อำนาจในการประกาศสงคราม
- อำนาจในการทำสนธิสัญญา
- อำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการ
อำนาจหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติขององค์กรบริหาร
การใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยองค์กรบริหารนี้เป็นการใช้อำนาจที่ควรจะเป็นอำนาจขององค์กรนิติบัญญัติโดยตรง
แต่เนื่องจากสภาพของสังคมปัจจุบันทำให้สิ่งจำเป็นที่องค์กรบริหารจะต้องมีอำนาจที่จะออกกฎหมายมาใช้บังคับได้
องค์กรบริหารจะตราพระราชกำหนด (พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับเดียวกับพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายที่องค์กรนิติบัญญัติเป็นผู้ออก) ให้ใช้บังคับในกรณีฉุกเฉินและจำเป็นรีบด่วน เพราะในบางครั้งหากจะให้รอองค์กรนิติบัญญัติเป็นผู้ออกกฎหมายอาจจะไม่ทันต่อเหตุการณ์ เช่น องค์กรนิติบัญญัติอาจจะไม่อยู่ในสมัยประชุม ดังนั้น กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงให้อำนาจองค์กรบริหารที่จะออกพระราชกำหนดได้แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติว่าเมื่อองค์กรบริหารได้ตราพระราชกำหนดออกมาใช้บังคับแล้วจะต้องเสนอพระราชกำหนดต่อองค์กรนิติบัญญัติพิจารณาโดยไม่ชักช้า
นอกจากนี้องค์กรนิติบัญญัติยังได้มอบอำนาจให้องค์กรบริหารมีอำนาจออกกฎหมายมาใช้บังคับได้
(พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรบริหารในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้)
แต่เนื่องจากกฎหมายที่ออกโดยองค์กรบริหารนี้เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายหลักที่องค์กรนิติบัญญัติให้อำนาจไว้
กฎหมายที่ออกมาจึงเป็นกฎหมายระดับต่ำกว่ากฎหมายขององค์กรนิติบัญญัติและไม่สามารถที่จะมีข้อความขัดต่อกฎหมายขององค์กรนิติบัญญัติได้
อำนาจหน้าที่ในด้านตุลาการขององค์กรบริหาร
เนื่องจากงานในหน้าที่ขององค์กรบริหารมีขอบเขตกว้างขวางเป็นงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก
ดังนั้นในบางกรณีการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรบริหารก็อาจมีการขัดแย้งกับประชาชนได้
ดังนั้นในการแก้ไขข้อขัดแย้งและให้องค์กรบริหารสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว
ประเทศต่างๆ จึงให้อำนาจองค์กรบริหารมีอำนาจ
ในด้านตุลาการเพื่อวินิจฉัยข้อพิพาทเล็ก ๆ น้อย ๆ
ระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน
องค์กรบริหารมีอำนาจในด้านตุลาการในระยะเบื้องต้นก่อนที่กรณีพิพาทจะมาสู่ศาลยุติธรรม
ทั้งนี้เพื่อเป็นการกลั่นกรองและแบ่งเบาภาระของศาลยุติธรรม
อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจในด้านตุลาการโดยองค์กรบริหารนี้ไม่ตัดสิทธิ์ของคู่กรณีที่จะนำข้อพิพาทไปสู่ศาล
อำนาจหน้าที่ในยามฉุกเฉินขององค์กรบริหาร
อำนาจและหน้าที่ในยามฉุกเฉินขององค์กรบริหารเป็นอำนาจซึ่งกฎหมายของทุก
ๆประเทศจะให้ไว้กับองค์กรบริหาร เพราะองค์กรบริหารเป็นองค์กรเดียวในองค์กรต่าง ๆ
ที่ใช้อำนาจอธิปไตย
ซึ่งมีการใช้อำนาจที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดและทราบข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในประเทศมากที่สุด
และเป็นองค์กรที่มีหน้าที่โดยตรงในการรักษาความสงบสุขของประชาชนและปกป้องอำนาจอธิปไตยของประเทศชาติ
อำนาจหน้าที่ในยามฉุกเฉินขององค์กรบริหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- ภาวะไม่ปกติอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ภายนอกประเทศ
อาจเกิดจากกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่ไม่สามารถจะแก้ไขได้โดยสันติวิธีก็อาจจะต้องแก้ไขโดยใช้กำลังทหารและอาจถึงขั้นประกาศสงคราม
องค์กรบริหารมีอำนาจประกาศสงครามกับประเทศใดประเทศหนึ่งหรือประกาศกฎอัยการศึกทั่วทั้งประเทศหรือท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกิดภาวะไม่ปกตินั้น
- ภาวะไม่ปกติอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ภายในประเทศ ถ้าหากภาวะไม่ปกติเป็นไปในลักษณะไม่รุนแรง องค์การบริหารมีอำนาจออกพระราชกำหนดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาความสงบเรียบร้อย ถ้าภาวะไม่ปกติเป็นไปในลักษณะรุนแรง องค์การบริหารใช้อำนาจในการประกาศกฎอัยการศึกซึ่งอาจประกาศใช้ทั่วทั้งประเทศหรือท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกิดภาวะไม่ปกตินั้น.
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม ฟาสซิสม์
องค์กรนิติบัญญัติ
วิวัฒนาการทางการปกครองของประเทศอังกฤษ
ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตยของไทย
ลักษณะของรัฐสภา
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
การเลือกตั้ง
องค์กรบริหาร
อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหาร