สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ / อ.วิชาญ

การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งถือได้ว่าเป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ทั่วไปของประชาชนว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการอะไร ต้องการให้ประเทศดำเนินไปในแนวทางใดและวิธีการเช่นไร สิทธิและหน้าที่ในการเลือกตั้งของประชาชน เมื่อเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ย่อมมีสิทธิเลือกตั้งและเป็นสิทธิส่วนตัวจะไปใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ในประเทศที่ประชาชนยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง จะปรากฏว่ามีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยมาก วิธีแก้ก็โดยการโฆษณาเชิญชวนให้ไปเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อาจจะถือเกณฑ์อายุ ห้ามบุคคลบางจำพวก(ผู้ต้องโทษคุมขัง,บุคคลวิกลจริต,พระภิกษุ) ผู้รับสมัครการเลือกตั้งได้ บางครั้งจะกำหนดคุณสมบัติไว้เช่น อายุ พื้นฐานการศึกษา การกำหนดเขตเลือกตั้ง ที่ต้องกำหนดเพราะ

1.จำนวนผู้สมัครมาก
2.ความใกล้ชิดระหว่างผู้เลือกและผู้สมัครไม่ดี
3.ผู้เลือกไม่ทราบคุณสมบัติความรู้ความสามารถของผู้สมัคร

หลักเกณฑ์ที่ดีในการกำหนดเขตเลือกตั้งคำนึงถึงจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง โดยแบ่งให้เท่าๆกัน คำนึงถึงเขตพื้นที่ที่กำหนดโดยธรรมชาติ ทบทวนเขตเลือกตั้งอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร การแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยถือเอา เกณฑ์ประชากรต่อสมาชิกสภา 1 คน การรวมเขตเลือกตั้ง เอาพื้นที่ทางการปกครองเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง ราษฎรเลือกผู้แทนได้หลายคน

วิธีและระบบการเลือกตั้ง

  • วิธีการเลือกตั้ง มี 2 วิธีคือ การเลือกตั้งโดยตรง และการเลือกตั้งโดยอ้อม
  • ระบบการเลือกตั้ง แบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบคะแนนเสียงข้างมาก และระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัดส่วนคะแนน
  • ระบบคะแนนเสียงข้างมาก 2 รอบคือผู้สมัครเลือกตั้งจะต้องได้คะแนนจากการเลือกตั้งมากเด็ดขาด
  • ระบบคะแนนเสียงข้างมากส่วนใหญ่ใช้ในประเทศที่มีระบบพรรคการเมือง 2 พรรค
  • ระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัดส่วนคะแนนส่วนใหญ่ใช้ในประเทศที่มีระบบพรรคการเมืองหลายพรรค

พรรคการเมือง

พรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นและผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน พรรคการเมือง เป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญในการเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประชาชน ดูแลรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ช่วยเป็นสื่อกลางและสะท้อนความคิดเห็นและมติมหาชนที่เกิดขึ้นในสังคม

บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง

1.ปลูกฝังความรู้และสึกนึกทางการเมืองแก่ประชาชน
2.คัดเลือกตัวบุคคลที่เหมาะสมเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
3. ประสานประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มอิทธิพลต่างๆ
4. นำนโยบายที่แถลงต่อประชาชนไปใช้ในการบริหารประเทศ

ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม “ฟาสซิสม์”
องค์กรนิติบัญญัติ
วิวัฒนาการทางการปกครองของประเทศอังกฤษ
ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตยของไทย
ลักษณะของรัฐสภา
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
การเลือกตั้ง
องค์กรบริหาร
อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหาร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย