สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ / อ.วิชาญ

ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีความหมาย 2 นัย คือ

1.ระบอบการปกครองชั่วคราวที่มีวัตถุประสงค์จะปกปักษ์รักษาระบบเดิมเอาไว้

2. ระบบที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐ์กิจแบบทุนนิยม

การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อสังคมเกิดวิกฤติการณ์ ทำให้ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบเผด็จการ ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมของอำนาจปกครอง เมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับอำนาจปกครองขณะนั้น ก็จะพยายามไม่ทำตามการปกครองนั้น จนในที่สุดผู้มีอำนาจปกครองเป็นต้องใช้อำนาจปกครองแบบเผด็จการขึ้น

 

สถาบันการเมืองของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ที่สนับสนุนคือ ทหาร และพรรคการเมืองพรรคเดียววิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจปกครองแบบเผด็จการ คือ การปราบปรามผู้โต้แย้ง ,การโฆษณาชวนเชื่อการปราบปรามผู้โต้แย้ง เช่นการจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน การประหารชีวิต กลไกที่ใช้คือ ก.ม. ศาล ตำรวจรูปแบบของการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม มีแบบระบบการปกครองแบบเผด็จการเกิดขึ้นเมื่อสังคมของประเทศเกิดวิกฤติการณ์ ร้ายแรง เช่น วิกฤติการณ์ทางสังคม (โครงสร้างสังคมเปลี่ยนเกิดความสับสน จึงเกิดการปกครองแบบเผด็จการขึ้น เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง) วิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครอง(เกิดเมื่อประชาชนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมแห่งอำนาจประชาชนเริ่มไม่ให้ความร่วมมือ ในที่สุดก็ต้องใช้การปกครองแบบเผด็จการ)

การสร้างความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครองเผด็จการแบบปฏิวัติ ผู้เผด็จการจะพยายามสร้างความชอบธรรมโดยการบังคับเผด็จการแบบปฏิรูป โดยอ้างถึงอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่ สถาบันการเมืองของระบบการปกครองแบบเผด็จการ จะมี 2 ส่วนใหญ่ คือ ทหาร และ พรรคการเมือง(พรรคเดียว)วิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจการปกครองแบบเผด็จการคือ

  1. การปราบปราม โดยใช้วิธีการกำจัดฝ่ายที่คัดค้านโต้แย้งอำนาจเผด็จการ วิธีการต่างๆที่ใช้ปราบปราม คือ การจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน และการประหารชีวิต กลไกที่ใช้ปราบปรามได้แก่ กฎหมาย ศาล ตำรวจ และกลไกที่ได้ผลเด็ดขาด คือการสร้าง ตำรวจลับ ขึ้น โดยจะจัดการกับผู้ต่อต้านโดยไม่มีการพิจารณาคดีตามปกติ
  2. การโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อจูงใจประชาชนให้ยอมรับอำนาจเผด็จการ
ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม “ฟาสซิสม์”
องค์กรนิติบัญญัติ
วิวัฒนาการทางการปกครองของประเทศอังกฤษ
ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตยของไทย
ลักษณะของรัฐสภา
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
การเลือกตั้ง
องค์กรบริหาร
อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหาร

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย