สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ / อ.วิชาญ
องค์กรบริหาร
องค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของพระมหากษัตริย์ คือ รัฐสภา
คณะรัฐมนตรีและศาล
บทบาทและหน้าที่ของรัฐสภา
- ร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายก็โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
หน้าที่ของรัฐสภา คือการให้คำแนะนำและยินยอมในการตราพระราชบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมาย
กล่าวอีกนัยคือ
รัฐสภามีหน้าที่ในการพิจารณาและอนุมัติร่างกฎหมายหรือใช้อำนาจนิติบัญญัติ
บทบาทและหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
- พระมหากษัตริย์ทรงตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 44 คน
ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน หรือ
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือคณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร
บทบาทและหน้าที่ของศาล
- การพิจารณาอรรถคดี เป็นอำนาจของศาลซึ่ง จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย
และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ฉะนั้นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการคือ ศาล
ตามทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญอาจจะแบ่งประเภทผู้ใช้อำนาจบริหารได้เป็น
1. ประมุขของรัฐ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งพระมหากษัตริย์และประธานาธิบดี
พระมหากษัตริย์
ในปัจจุบันประมุขของรัฐที่เป็นพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่จะไม่มีบทบาทในการบริหารประเทศ
คงเป็นเพียงแต่ประธานในการประกอบรัฐพิธีต่างๆ
ส่วนหน้าที่ในการบริหารประเทศจะเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
คือจะมีองค์กรหนึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารประเทศ
ซึ่งโดยทั่วไปได้แก่คณะรัฐมนตรีอันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าทำหน้าที่บริหารประเทศ
ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นการกระทำในนามของพระมหากษัตริย์
ประธานาธิบดี ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ
ส่วนใหญ่จะมีประมุขของรัฐในรูปแบบของประธานาธิบดี โดยปกติ
จะมาจากการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตามวาระที่กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
โดยทั่วไปฐานะ
และอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีของแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกันออกไปแล้วแต่กฎหมายของแต่ละประเทศ
แต่โดยหลักใหญ่ ๆ แล้ว สามารถที่จะจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ (1)
ประธานาธิบดีซึ่งมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ แต่เพียงอย่างเดียว (2)
ประธานาธิบดีซึ่งมีฐานะเป็นประมุขของรัฐและเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วย
2. หัวหน้าฝ่ายบริหาร
บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารของประเทศต่าง ๆ
อาจจะมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป
แต่เมื่อศึกษาถึงที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหาร
อำนาจความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรบริหาร และองค์กรนิติบัญญัติแล้ว
อาจแบ่งระบบการปกครองออกเป็น 2 ประเภท
- การปกครองในระบบประธานาธิบดี จะมีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง อาจจะเป็นการเลือกตั้งโดยตรงหรือเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม
ในการศึกษาการปกครองระบบประธานาธิบดี
จะต้องศึกษาระบอบการปกครองของประเทศสหรัฐและฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นแม่แบบของการปกครองในระบอบนี้
- การปกครองแบบรัฐสภา จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในองค์กรนิติบัญญัติ ประเทศที่มีการปกครองระบบนี้จำลองรูปแบบมาจากการปกครองของประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นแม่แบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
3. คณะรัฐมนตรี
4. รัฐมนตรี
ในการปกครองระบบรัฐสภา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จำเป็นต้องมีบุคคลคณะหนึ่งเป็นผู้ร่วมในการตัดสินใจในการบริหารประเทศ ซึ่งโดยทั่ว ๆ
ไปในประเทศต่างๆ จะเรียกว่าคณะรัฐมนตรี
บุคคลในคณะรัฐมนตรีจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงและทบวงต่างๆ
คณะรัฐมนตรีหรือ รัฐมนตรีอาจถูกตั้งกระทู้ถามและถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจากรัฐสภาได้
ซึ่งแตกต่างจากระบบประธานาธิบดี ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีจะไม่มีความสัมพันธ์หรือไม่มีความรับผิดชอบต่อรัฐสภา
ดังนั้นรัฐสภาจึงไม่มีอำนาจในการที่จะตั้งกระทู้ถามหรือลงมติไม่ไว้วางใจเหมือนอย่างระบบรัฐสภา
ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม ฟาสซิสม์
องค์กรนิติบัญญัติ
วิวัฒนาการทางการปกครองของประเทศอังกฤษ
ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตยของไทย
ลักษณะของรัฐสภา
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
การเลือกตั้ง
องค์กรบริหาร
อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหาร