สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(Constitutionalism and Thai Constitutions)
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 เป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการยกร่างถึง 9 ปีเศษ นานกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ทั้งหมด แม้แต่เวลาที่ใช้ในการจารึกต้นฉบับลงในสมุดข่อยก็กินเวลากว่า 3 เดือน รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 แต่เนื่องจากสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ว่านี้ตั้งโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ และประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นข้าราชการเกือบทั้งหมดดังกล่าวแล้ว จึงไม่สู้จะมีอิสระในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มากนัก ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะได้นำเอารูปแบบของรัฐสภา และหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 (2492) มาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้หลายเรื่องก็ตาม
แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้นำเอาหลักการที่คณะปฏิวัติได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 นั้นเอง อันเป็นหลักการที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าไม่เป็นประชาธิปไตยมาบัญญัติไว้ด้วยหลายเรื่อง หลักการที่ว่านี้ก็คือ
1. หลักแยกผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและบริหารออกจากกัน
กล่าวคือ รัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกรัฐสภาในขณะเดียวกันไม่ได้ ถ้าสมาชิกรัฐสภาผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี จะต้องลาออกจากสมาชิกภาพแห่งรัฐสภา คณะปฏิวัติได้ให้เหตุผลในการนำหลักการนี้มาใช้ว่า หลักการนี้จะช่วยทำให้เกิดการคานและดุลย์กันระหว่างผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และผู้ใช้อำนาจบริหาร รวมทั้งจะช่วยป้องกันมิให้เกิดความอลเวงไม่เรียบร้อย ซึ่งมักจะเป็นผลมาจากการทีสมาชิกรัฐสภาแย่งกันเป็นรัฐมนตรี คณะปฏิวัติอ้างว่า หลักการแยกอำนาจดังกล่าวนี้ใช้ได้ผลดีมาแล้วในบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ซึ่งเคยประสบความอลเวงไม่เรียบร้อย เนื่องจากมูลเหตุเดียวกับของไทย และกลับมีเสถียรภาพทางการเมืองดีขึ้น ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีบทบัญญัติห้ามสมาชิกรัฐสภาเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกัน
2. หลักใช้ข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือค้ำประกันเสถียรภาพของรัฐบาล
ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมืองในขณะเดียวกัน ซึ่งก็เท่ากับเปิดโอกาสให้ จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเป็นทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดและนายกรัฐมนตรีสามารถตั้งข้าราชการประจำจากฝ่ายทหาร และพลเรือนให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาได้โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้น โดยเหตุที่วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้อำนาจควบคุมการบริหารงานของคณะรัฐมนตรีได้เท่ากับสภาผู้แทน เช่น ร่วมประชุมกับสภาผู้แทนในการอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี จึงย่อมทำให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการประจำทั้งหมดสามารถใช้สมาชิกวุฒิสภาที่เป็นข้าราชการประจำเป็นเครื่องมือค้ำจุนอำนาจการเมืองของตนได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเปรียบเทียบแล้วก็เห็นจะต้องกล่าวว่า สมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็มีฐานะเช่นเดียวกับสมาผู้แทนประเภทที่ 2 ซึ่งเคยมีการแต่งตั้งกันมาตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 และที่ 6 นั่นเอง จะต่างกันก็ตรงที่จำนวนเท่านั้น กล่าวคือสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจำนวนเพียง 3 ใน 4 ของสมาชิกสภาผู้แทนเท่านั้น กล่าวคือ สมาชิกประเภทที่ 2 นั้น มีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่ 1 ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นในด้านออกกฎหมายหรือการควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรี
เนื่องจากหลักการทั้งสองข้อนี้ให้ประโยชน์แก่ข้าราชการประจำที่ชอบเป็นนักการเมืองด้วย และกีดกันนักการเมืองอาชีพโดยตรง จึงยังผลให้หลักการดังกล่าวนี้โดยเฉพาะหลักข้อที่ 1 เป็นที่เกลียดชังของนักการเมืองอาชีพทุกคน ไม่ว่าจะสังกัดพรรคฝ่ายค้านหรือพรรครัฐบาล
และแล้วในที่สุดนักการเมืองข้าราชการ ซึ่งไม่ค่อยจะชินกับการบริหารราชการแบบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ก็หันกลับไปใช้วิธีการที่ตนถนัด นั่นคือทำการปฏิวัติยึดอำนาจและยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ตนร่างขึ้นเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ทั้ง ๆ ที่หัวหน้ารัฐบาลได้กล่าวยืนยันไว้กับสมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายค้านซึ่งต้องการแก้ไขบทบัญญัติบางมาตราของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก่อนหน้าไม่กี่วันว่า ยังไม่ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับประเทศไทยที่สุด
เมื่อประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ตนเองได้มีส่วนร่วมสร้างขึ้นหลังจากที่ใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศมาเพียง 2 ปี 4 เดือน 27 วัน หัวหน้ารัฐบาลซึ่งแปรสภาพตนเอง มาเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติก็ทำการปกครองประเทศ โดยใช้อำนาจปฏิวัติเป็นเครื่องมืออยู่นานเกือบ 13 เดือน จึงได้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 ซึ่งตนเคยใช้มาก่อนมาแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อยก่อนนำออกประกาศใช้
รัฐธรรมนูญฉบับที่
1 มีชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 มีชื่อว่า ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16
ธันวาคม 2516
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อวันที่
9 พฤศจิกายน 2520
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 มีชื่อว่า
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ