สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(Constitutionalism and Thai Constitutions)
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ลักษณะของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหมายถึงกฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศซึ่งแยกออกมาบัญญัติรายละเอียดต่างหากออกไปจากรัฐธรรมนูญแต่มีปัญหาว่ากฎหมายใดบ้างถือว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัญหานี้มี 2 แนวความคิด
แนวความคิดอย่างกว้าง แนวความคิดนี้เห็นว่ากฎหมายทุกอย่างที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ซึ่งหากยึดถือแนวความคิดนี้จะเห็นได้ว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไม่ต่างไปจากกฎหมายธรรมดา นอกจากเนื้อหาเท่านั้น ส่วนกฎหมายที่รัฐธรรมนูญระบุให้ออกแต่มิได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก็มิใช่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ คงมีฐานะเป็นแต่กฎหมายธรรมดาเท่านั้น
แนวความคิดอย่างแคบ แนวความคิดนี้เห็นว่าเฉพาะกฎหมายที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ให้ออกเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีสถานะต่างจากกฎหมายธรรมดา ดังในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 (ฉบับปัจจุบัน) บัญญัติเรื่องที่ให้ออกเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไว้หลายเรื่อง เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดี การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนและทหารระดับสูง ตุลาการรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกฎหมายธรรมดาดังนี้ (วิษณุ, 2542 : 26 32)
(1) การเรียกชื่อกฎหมาย ต้องเรียก
"พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย............. พ.ศ.....
(2) การออกหรือตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
(3) กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรก จำเป็นต่อการเลือกตั้ง
จึงกำหนดกรอบเวลาให้จัดทำแล้วเสร็จภายใน 240 วัน
และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอได้โดยไม่ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
(4) ร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญใดที่มีการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
หากไม่ได้รับความเห็นชอบ
คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งก็ได้
(5) การคัดค้านว่าร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญมีความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
อาจทำได้โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
หรือสมาชิกของสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
เข้าเสนอชื่อต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี
ลักษณะของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ความจำเป็นในการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ประโยชน์ของการมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
กระบวนการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ฐานะของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญกับองค์กรทางการเมืองการปกครอง