สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(Constitutionalism and Thai Constitutions)
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
องค์กรที่ทำหน้าที่ตีความตามรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่มีคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญว่าการกระทำใดหรือบทบัญญัติกฎหมายอื่นใด(ที่ทำให้ใช้กับคู่กรณี) ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญก็ต้องมีองค์กรหนึ่งที่เข้ามาทำหน้าที่ตีความว่าข้อบัญญัติที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญเจตนาให้เป็นไปนั้นหรือไม่ ซึ่งองค์กรนี้อาจเป็น
1. ศาลยุติธรรม
2. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
3. ศาลรัฐธรรมนูญ
หลักเกณฑ์การตีความรัฐธรรมนูญ (สมยศ, 2535 : 86)
1) หลักความเป็นเอกภาพของรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแต่ละหมวดมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ในการตีความรัฐธรรมนูญนั้น จะพิจารณาบทบัญญัติมาตราใดบทบัญญัติหนึ่งอย่างโดดเดี่ยว ไม่เกี่ยวโยงไปถึงส่วนอื่น ๆ ของรัฐธรรมนูญด้วยไม่ได้ ในขณะเดียวกันต้องตีความแต่ละบทบัญญัติไม่ให้ขัดแย้งกันเองด้วย
2) หลักผสมผสานความขัดแย้ง กรณีที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิสองประเภท จะนำความสำคัญของสิทธิทั้งสองมาชั่งและตัดสินเลือกไม่ได้ แต่จะต้องกำหนดขอบเขตของสิทธิทั้ง 2 ให้มีโอกาสใช้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
3) หลักความถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ขององค์กร รัฐธรรมนูญมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้แก่องค์กรต่าง ๆ ของรัฐให้ทำหน้าที่ร่วมกัน ดังนั้นจะตีความให้องค์กรทำหน้าที่เฉพาะในขอบเขตที่องค์กรนั้นได้รับมอบอำนาจเท่านั้น จะตีความให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่นี้ไม่ได้ หลักนี้ใช้กับความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับศาลรัฐธรรมนูญเป็นพิเศษ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ หลักความถูกต้องตามหน้าที่จึงห้ามมิให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในทางที่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการริเริ่มของฝ่ายนิติบัญญัติ นอกเหนือไปจากขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือตีความให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามารับบทบาทบัญญัติกฎหมายเสียเองไม่ได้
4) หลักการประสานความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร ถ้าหากบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพในทางการเมือง หากเกิดปัญหาในเรื่องนี้ขึ้น แนวทางการแห้ปัญหาก็จะต้องคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษ กล่าวคือการแก้ปัญหาจะต้องมีผลเป็นการช่วยเสริมสร้างเอกภาพหรือรักษาความเป็นเอกภาพไว้ แต่ถ้าหากการรักษาความเป็นเอกภาพจะทำได้โดยวิธีการซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ หลักอันนี้ก็จะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาไม่ได้เพราะมิฉะนั้นก็เท่ากับว่าการตีความรัฐธรรมนูญได้ก้าวล่วงขอบเขตอันชอบธรรมของตัวเองไป
5) หลักอำนาจบังคับของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญนั้นร่างขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่จะต้องบังคับตลอดไป เวลาย่อมทำให้เงื่อนไขต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงไปด้วย ในการแก้ปัญหาตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญจึงต้องคำนึงด้วยว่าเมื่อมีการตีความแล้วบทบัญญัติต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญจะยังสามารถมีอำนาจบังคับได้เต็มที่ด้วย
กฎหมายจารีตประเพณีไม่ต้องตีความ
ผลของการตีความรัฐธรรมนูญที่มีต่อสถาบันการเมืองการปกครองและองค์กรทางการเมืองอื่น
การวินิจฉัยว่ากฎหมาย (ของฝ่ายนิติบัญญัติ) ใดหรือ การกระทำ (ของฝ่ายบริหาร) ใด ขัดหรือแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญขององค์กรที่มีหน้าที่ตีความตามกฎหมายย่อมมีผลบังคับหรือผูกพันให้องค์กรที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามนั้น
การบัญญัติรัฐธรรมนูญ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐธรรมนูญ
การยกเลิกการใช้กฎหมายของรัฐธรรมนูญ
การป้องกันรัฐธรรมนูญ
การตีความรัฐธรรมนูญ
องค์กรที่ทำหน้าที่ตีความตามรัฐธรรมนูญ