สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ระบอบรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(Constitutionalism and Thai Constitutions)
ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การบัญญัติ การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ กับการปกครองของประเทศอื่นๆ
รัฐธรรมนูญกับการปกครองของไทย
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
บรรณานุกรม
เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
เป็นรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหารเป็นผู้ยกร่างขึ้นเอง และขอพระบรมราชโองการประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้น 98 มาตรา รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีฉายาว่ารัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มแดง ทั้งนี้เนื่องจากพลโท กาจ เก่งระดมยิง ผู้นำคนหนึ่งของคณะรัฐประหารเป็นผู้ร่างไว้ตั้งแต่ระหว่างที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ยังใช้บังคับอยู่ และได้นำเอาไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มแดงในบ้าน โดยเกรงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลค้นพบและถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจได้เด็ดขาดแล้วในตอนค่ำของวันที่ 8 พฤศจิกายน นายเขมชาติ บุณยรัตพันธ์ ได้ใช้เวลาแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำอีก 7 ชั่วโมง ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลขอให้ผู้สำเร็จราชการในขณะนั้นมีพระบรมราชโองการประกาศใช้
คณะรัฐประหารได้ให้เหตุผลในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แทนรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ว่า ที่จำต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพราะรัฐธรรมนูญฉบับก่อนเหมาะสมกับประเทศไทยในสมัยที่แล้วมาเท่านั้น นอกจากนั้นแนวการปกครองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นเหตุให้ประเทศชาติทรุดโทรมลงเป็นลำดับได้ คณะรัฐประหารเชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็น วิถีทางจรรโลงประเทศชาติให้วัฒนาถาวร และเป็น ทางบำบัดยุคเข็ญของประชาชนทั้งปวงให้เข้าสู่ภาวะปกติได้สืบไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงหลักการและกลไกในการปกครองประเทศที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดไว้ก็เห็นจะต้องกล่าวว่า เหตุผลของคณะรัฐประหารไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้มากนัก ทั้งนี้ก็เพราะหลักการและกลไกในการปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้คล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ค่อนข้างมาก กล่าวคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ใช้หลักการของ การปกครองในระบบรัฐสภา เหมือนกัน มีสองสภาเหมือนกัน ผิดกันแต่เพียงว่าสมาชิกของสภาสูงซึ่งเรียกชื่อใหม่ว่า วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการถอยหลังเข้าคลองนั่นเอง เพราะเท่ากับให้โอกาสแก่ฝ่ายคณะรัฐมนตรีมีอิทธิพลเหนือรัฐสภาได้ นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามข้าราชการประจำมิให้เป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกัน เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3
ส่วนข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สร้างกลไกในการปกครองเพิ่มขึ้น คือ บัญญัติให้มีคณะอภิรัฐมนตรี 5 คน ทำหน้าที่ ถวายคำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติทุกสาขา และกำหนดให้อภิรัฐมนตรีเท่านั้นมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้บัญญัติเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 10 อีกว่า ถ้าพระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ก็ให้คณะอภิรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินในหน้าที่ของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทันที แต่ก็ไม่ปรากฎว่าคณะอภิรัฐมนตรีได้ช่วยทำประโยชน์ให้แก่การปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้เท่าใดนัก ทั้งนี้ก็เพราะในขณะนั้นพระมหากษัตริย์ซึงคณะอภิรัฐมนตรีมีหน้าที่ถวายคำปรึกษาก็มิได้ประทับอยู่ในราชอาณาจักร และเพราะคณะอภิรัฐมนตรีก็มิได้มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้คณะอภิรัฐมนตรีจึงทำหน้าที่แทนคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้นซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้นต้องวางตนเป็นกลางในทางการเมือง และใช้อำนาจหน้าที่ในนามของพระมหากษัตริย์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น คือใช้อำนาจบริหารตามที่คณะรัฐมนตรีขอให้ใช้โดยมีรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกรัฐสภาแก้ไขสามครั้ง ครั้งแรกแก้ไขเรื่องวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งสองแก้ไขเรื่องกำหนดเวลาในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและวิธีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งกำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 180 วัน เพื่อเสนอให้รัฐสภาพิจารณา และครั้งที่สามแก้ไขเรื่องการให้ความคุ้มครองแก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ข้อที่น่าจะกล่าวไว้ ณ ที่นี้คือ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ใช้บังคับอยู่นานเกือบเท่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ทั้ง ๆ ที่หัวหน้ารัฐบาลคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่ค่อยจะพอใจกลไกบางอย่างของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งไม่เป็นไปตามที่คณะรัฐประหารมุ่งหวังเอาไว้
กล่าวคือ หลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว คณะรัฐประหารได้เชิญให้ นายควง อภัยวงศ์ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลทำการปกครองประเทศ ตามแนวที่คณะรัฐประหารได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปรากฎว่า นายควง อภัยวงศ์ ได้ทำการปกครองประเทศโดยอิสระไม่ยอมเป็นหุ่นของคณะรัฐประหาร ดังจะเห็นได้ว่านายควงไม่ยอมตั้งพวกพ้องของคณะรัฐประหารให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่คณะรัฐประหารต้องการ ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญก็มิได้ห้ามข้าราชการประจำมิให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกัน นอกจากนี้นายควงยังได้ปล่อยให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มิได้รับรองเสรีภาพในเรื่องนี้ไว้
ด้วยเหตุนี้ หลักจากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ในเดือนมกราคม 2491 ซึ่งทำให้นายควงได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลต่อ โดยไม่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากคณะรัฐประหารอีกต่อไป เขาจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อกำหนดเวลาในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเป็นการแน่นอน ต่อมาคณะรัฐประหารได้บังคับนายให้ลาออกจากตำแหน่งเมือวันที่ 6 เมษายน 2491 และสนับสนุนให้หัวหน้าของตน คือจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ปรากฏว่าจอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถรวบรวมเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนได้มากพอ และจัดตั้งเป็นสหพรรคคอยให้ความสนับสนุน จอมพล ป. อยู่ในสภาผู้แทน แต่จอมพล ป. ไม่สามารถจะคุมเสียงของวุฒิสภาซึ่งเกลียดชังวิธีการขึ้นสู่อำนาจของจอมพล ป. ได้ จึงยังผลให้ร่างกฎหมายหลายฉบับของรัฐบาลถูกวุฒิสภาแก้ไขและยับยั้งซึ่งจอมพล ป. ก็ยอมทน นอกจากนั้น จอมพล ป. ยังยอมให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกด้วย ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้มีบทบัญญัติหลายข้อที่ตนไม่ชอบ เหตุที่จำต้องยอม น่าจะเป็นเพราะว่าในระยะนั้นคณะรัฐประหารยังไม่สามารถควบคุมกองทัพได้โดยเด็ดขาด
รัฐธรรมนูญฉบับที่
1 มีชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 มีชื่อว่า ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16
ธันวาคม 2516
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อวันที่
9 พฤศจิกายน 2520
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 มีชื่อว่า
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 มีชื่อว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ