สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

เครื่องเทศ

เร่ว

ชื่อท้องถิ่น : เร่ว มะอี้ หมากอี้ (เชียงใหม่) ผาลา (แม่ฮ่องสอน) หมากเน็ง หมากแหน่ง (อีสาน) เร่ว กระวาน กระวานป่า (ปัตตานี)
ชื่อสามัญ : Bastard Cardamon, Tavoy Cardamon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum xanthioides Wall.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

เร่วเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีการเจริญเติบโตแบบกอ มีลำต้นทอดเลื้อยอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า ซึ่งมีความสูงประมาณ 1 - 4 เมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 1 - 3 เมตร บริเวณกลางจนถึงปลายของลำต้นเทียม จะมีส่วนของใบเรียงสลับกันก้านใบสั้นมาก ช่อดอกเกิดจากตาที่อยู่บริเวณเหง้าโคนลำต้นเทียมโดยมีบางส่วนของช่อดอกฝังอยู่ใต้ดิน ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ช่อดอกส่วนใหญ่จะมีดอกซึ่งอัดเรียงแน่นประมาณ 15 ดอก ใบประดับหลักทุกใบมีขนาดเท่าๆ กัน และยังคงอยู่ทนจนกระทั่งเป็นผล ผลเป็นแบบแคปซูลรูปกลมหรือรี ผิวของผลอาจมีขนหนามแหลมหรือเกลี้ยง ภายในผลมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

เร่วจะพบอยู่ในธรรมชาติในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น จันทบุรี กาญจนบุรี เป็นพืชที่ชอบร่มรำไร อากาศเย็น มีฝนตกชุกภูมิประเทศเป็นแอ่งหรือหุบเขาในระดับความสูงจากน้ำทะเล 100 - 1,000 เมตร และชอบดินร่วมซุย


การปลูก

การปลูกเร่วนิยมใช้เหง้าหรือหน่อมากกว่าเราใช้เมล็ดเนื่องจากจะให้ดอกผลที่เร็วกว่า โดยเริ่มปลูกในเดือน มิถุนายน - สิงหาคม การปลูกควรจะปลูกใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ระยะปลูกประมาณ 1 - 2 เมตร ตัดแยกหน่อออกจากต้นเดิม ตัดหน่อนเหลือประมาณ 1 คืบ แล้วนำไปชำหรือปลูกในแปลงปลูก

การดูแลรักษา

ระยะแรกที่ปลูกควรรดน้ำวันละครั้งต่อมาจึงเว้นบ้างแต่ต้องให้ดินและอากาศหรือมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และดูแลกำจัดวัชพืชด้วย

การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเก็บได้ในปีที่ 4 โดยผลผลิตที่ได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลของเร่วจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือน สิงหาคม - กันยายน เร่วกอหนึ่งอาจให้ดอกประมาณ 20 ช่อ และเมื่อทำให้แห้งจะเหลือประมาณ 30 - 35 กิโลกรัม

กระวาน
กานพลู
ขมิ้นชัน
จันทน์เทศ
ดีปลี
พริกไทย
มะแข่น
เร่ว
วานิลา
อบเชย
ไทม์
ออริกาโน
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย