สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
พริกไทย
ชื่อท้องถิ่น : พริกน้อย (ภาคเหนือ) พริก (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Pepper , Black pepper , White pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper
nigrum Linn.
ชื่อวงศ์ : PIPERACEAE
พริกไทยเป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย
ลำต้นมีข้อและปล้องชัดเจน และมีรากเกาะพันกับไม้ค้างหรือพืชอื่นๆ คล้ายรูปไข่หรือรี
ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามข้อในทิศตรงกันข้ามกับใบช่อดอกตัวเมียมีกลีบประดับ
รูปเกือบกลมขนาด 3 - 5 แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ 2 อัน
ผลอยู่รวมกันเป็นช่อยาว 5 - 15 เซนติเมตร ผลรูปทรงกลมขนาด 3 - 6
มิลลิเมตรแก่แล้วมีสีดำ ภายในมี 1 เมล็ด
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
พริกไทยขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่ชอบดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงมีการระบายน้ำดี
ชอบอากาศอบอุ่นและชื้น สภาพดินค่อนข้างเป็นกรด ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ
6 - 6.5
การปลูก
โดยทั่วไปนิยมปลูกโดยวิธีปักชำ
ใช้ลำต้นส่วนยอดหรือส่วนอื่นที่ไม่แก่จัดอายุ 1 ปี มีขนาดยาว 40 - 50
เซนติเมตรและมีข้ออยู่ 5 - 7 ข้อ ปักชำไว้จนออกรากแข็งแรง
การเตรียมดินปลูกโดยขุดหลุมขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตรและลึก 40
เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกผสมดินรองก้นหลุม นำยอดพันธุ์ลงปลูกในก้นหลุม ระยะปลูก 2.5 x
2.5 เมตร สำหรับเสาค้างใช้ค้างซีเมนต์
และกระสอบป่านหุ้มค้างเพื่อเก็บความชื้นและให้รากพริกไทยยึดเกาะ
นอกจากนั้นยังมีอีกวิธีหนึ่งอาจปลูกโดยไม่ใช้ค้างก็ได้
เนื่องจากการปลูกโดยใช้ค้างมีต้นทุนสูงโดยปลูกเป็นพริกไทยพุ่ม
แต่จะได้รับผลผลิตน้อยกว่าการปลูกโดยวิธีแรก
การปลูกวิธีนี้มีการเตรียมพันธุ์แตกต่างจากวิธีแรกเล็กน้อยโดยตัดกิ่งพันธุ์ออกเป็นข้อๆ
ทุกข้อ การตัดจะตัดระหว่างกลางของแต่ละปล้อง
นำไปใช้ในแปลงปักชำซึ่งอยู่ในที่ร่มรำไร หลังจากนั้น 1 - 2 เดือนจึงขุดใส่ถุง
ต่อมาอีก 1 เดือนจึงนำไปปลูกเช่นเดียวกับวิธีแรก
การดูแลรักษา
พริกไทยเป็นพืชที่ต้องการความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อเริ่มปลูกต้องบังร่มให้ รดน้ำวันเว้นวัน เมื่ออายุ 1 เดือนจึงเอาร่มบังออก เมื่อต้นเริ่มแตกยอดอ่อน และยาวพอสมควรต้องคอยผุกยอดให้แนบค้าง การตัดแต่งกิ่งสำคัญมาก เพื่อให้ได้ต้นสมบูรณืและผลผลิตสูง ควรตัดไหลที่เกิดจากส่วนโคนทิ้งให้หมด ตัดแต่งกิ่งแขนง ตัดแขนงที่ไม่สมบูรณ์เพื่อให้ต้นโปร่งและป้องกันศัตรูพืช การให้ปุ๋ยควรให้ปุ๋ยอินทรีย์ และควรพูนโคนไปพร้อมกันด้วย สำหรับปุ๋ยเคมีใช้สูตร 15 - 15 - 15 หลังตัดแต่งกิ่ง และปุ๋ยเคมีสูตร 12 - 24 - 12 หลังตัดผลแล้ว การให้น้ำต้องให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอตลอดปี ในพื้นที่อากาศร้อนมีแสงแดดมาก ควรคลุมโคนค้างด้วยวัสดุรักษาความชื้นเช่น ฟาง หรือเปลือกถั่ว ศัตรูพืชได้แก่เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ระบาดช่วงฤดูฝน ใช้สารเคมีพวกเซฟวินโรครากเน่าจากเชื้อราทำให้เถาและใบเหี่ยวตายไปในที่สุด เมื่อพบให้ขุดเถาทำลาย
การเก็บเกี่ยวและผลผลิต
เมื่อปลูกพริกไทยได้ประมาณ 3 ปีจะออกดอกติดผลได้และจะแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 6 - 7 เดือน ต่อมาการเก็บเกี่ยวพริกไทยเพื่อทำพริกไทยดำ ต้องเก็บรวงที่แก่จัด ผลมีสีเขียวเมล็ดแข็งแต่ไม่สุก การเก็บเกี่ยวพริกไทยเพื่อ ทำพริกไทยขาวให้สังเกตจากสีของเมล็ดคือ เมล็ดเริ่มมีสีเหลืองและสีแดงรวงละ 3 - 4 เมล็ด วิธีการเก็บให้เก็บทั้งรวง แต่พริกไทยจะแก่ไม่พร้อมกัน ทำให้การเก็บทยอยเก็บเป็นงวดๆ เฉพาะรวงที่แก่ซึ่งจะได้ผลผลิตพริกไทยแห้ง 600 กิโลกรัมต่อไร่ หลังเก็บเกี่ยวพริกไทยจะนำไปเข้าเครื่องนวดเครื่องเพื่อแยกรวงออก หรือนวดเอาเปลือกออกที่เพื่อทำพริกไทยขาว และตากให้แห้งสนิทต่อไป
กระวาน
กานพลู
ขมิ้นชัน
จันทน์เทศ
ดีปลี
พริกไทย
มะแข่น
เร่ว
วานิลา
อบเชย
ไทม์
ออริกาโน