ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
คัมภีร์ที่ 1 พระธรรมสังคณี
คัมภีร์ที่ 2 พระวิภังค์
คัมภีร์ที่ 3 ธาตุกถา
คัมภีร์ที่ 4 ปุคคลบัญญัติ
คัมภีร์ที่ 5 กถาวัตถุ
คัมภีร์ที่ 6 ยมก
คัมภีร์ที่ 7 มหาปัฏฐาน
คัมภีร์ที่ 7 มหาปัฏฐาน
บาลี
เหตุปจฺจโย, อารมฺมณปจฺจโย, อธิปติปจฺจโย, อนนฺตรปจฺจโย,
สมนนฺตรปจฺจโย, สหชาตปจฺจโย, อญฺญมญฺญปจฺจโย, นิสฺสยปจฺจโย, อุปนิสฺสยปจฺจโย,
ปุเรชาตปจฺจโย, ปจฺฉาชาตปจฺจโย, อาเสวนปจฺจโย, กมฺมปจฺจโย, วิปากปจฺจโย,
อาหารปจฺจโย, อินฺทริยปจฺจโย, ฌานปจฺจโย, มคฺคปจฺจโย, สมฺปยุตฺตปจฺจโย,
วิปฺปยุตฺตปจฺจโย, อตฺถิปจฺจโย, นตฺถิปจฺจโย, วิคตปจฺจโย, อวิคตปจฺจโย.
คำแปล
ธรรมที่มีเหตุหกเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีอารมณ์หกเป็นปัจจัย,
ธรรมที่มีอธิบดีสองประเภทเป็น ปัจจัย,
ธรรมที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างขั้นมิได้เป็นปัจจัย.
ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างคั่นมิได้โดยลำดับเป็นปัจจัย,
ธรรมะที่มีธรรมเป็นที่อาศัยสองประเภทเป็นปัจจัย,
ธรรมะที่มีธรรมอาศัยกันอย่างมีกำลังแรงสามประเภทเป็นปัจจัย,
ธรรมที่มีรูปธรรมที่เกิดก่อนสองประเภทเป็นปัจจัย,
ธรรมะที่มีนามขันธ์ซึ่งเกิดในภายหลังเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอาเสวนชวนะเป็นปัจจัย,
ธรรมที่มีเจตนากรรมสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีมรรถเป็นปัจจัย,
ธรรมะที่มีวิบากเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมเป็นปัจจัย,
ธรรมะที่มีนามขันธ์สมปยุตกันเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามรูปเป็นวิปปยุตกันเป็นปัจจัย,
ธรรมะที่มีรูปนามที่กำลังมีอยู่เป็นปัจจัย,
ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ไม่มีแล้วเป็นปัจจัย,
ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปแล้วเป็นปัจจัย,
และธรรมะที่มีนามรูปที่ยังไม่ดับไปเป็นปัจจัย ฯ
อธิบายโดยย่อ ในคัมภีร์ปัฏฐานมหาปกรณ์นี้
เป็นคัมภีร์ที่ทรงแสดงไว้อย่างกว้างขวางวิจิตรพิสดารอย่างเหลือเกิน
ซึ่งก็พอจะสรุปให้เห็นเป็นรูปร่างย่อ ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
ธรรมะทั้งหมดที่มีปรากฎอย่างในปัจจัย 24 นี้ ถ้าจะจัดเข้าเป็นตอน ๆ แล้วจัดเป็น 3
ตอน คือ
- ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจัย คือ ผู้อุปการะ
- ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจยุบัน คือ ผู้ได้รับอุปการะหรือที่เกิดมาจากปัจจัย
- ธรรมที่นกเหนือออกไปจากธรรมที่เกิดจากปัจจัย เช่น อย่างอารัมมณปัจจัยเป็นตัวอย่าง
รูปารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็น รูปารมณ์เป็นตัวปัจจัย
ส่วนการเห็นและเจตสิกที่เกิดร่วมอีก 7 ผัสสะ เป็นต้น ก็เป็นปัจจยุบัน คือ
เป็นธรรมที่เกิดจากรูปารมณ์เป็นปัจจัยให้ ส่วนปรมัตถธรรม คือจิต เจตสิก
และรูปที่เหลือซึ่งไม่ได้มีปรากฎอยู่ในปัจจุบันธรรมนั้น
ก็เป็นปัจจนิกไปเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่า ธรรมะที่เป็นปัจจัยก็คือเป็นผู้ให้อุปการะ
ธรรมะที่เป็นปัจจยุบันที่เกิดจากปัจจัยก็คือผู้รับ ส่วนธรรมะที่ไม่ได้รับ
อุปการะก็ตกเป็นปัจจนิกธรรมไป จากนั้นก็ทรงแสดงไว้ถึง 7 วาระ และแสดงไปตามติกาะ 22
ทุกะ 100 แสดงอนุโลม 1 เป็นปฏิโลม 1 อนุโลมปฏิโลม 1 เป็นต้น ฯ
จบคัมภีร์มหาปัฏฐาน