ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
คัมภีร์ที่ 1 พระธรรมสังคณี
คัมภีร์ที่ 2 พระวิภังค์
คัมภีร์ที่ 3 ธาตุกถา
คัมภีร์ที่ 4 ปุคคลบัญญัติ
คัมภีร์ที่ 5 กถาวัตถุ
คัมภีร์ที่ 6 ยมก
คัมภีร์ที่ 7 มหาปัฏฐาน
คัมภีร์ที่ 1 พระธรรมสังคณี
พระบาลี
กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา
อพฺยากตา ธมฺมา
กตเม ธมฺมา กุสลา
ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ
จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ
โสมนสฺสสหคตํ
ญาณสมฺปยุตฺตํ,
รูปารมฺมณํ วา สฺททารมฺมณํ วา
คนฺธารมฺมณํ วา รสารมฺมณํ วา
โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา ธมฺมารมฺมณํ
วา ยํ ยํ วา ปนารพฺภ,
ตสฺมึ สมเย ผสฺโส
โหติ,
อวิกฺเขโป โหติ, เย วา ปน
ตสฺมึ สมเย, อญฺเญปิ อตฺถิ
ปฏิจฺจ
สมุปฺปนฺนา, อรูปิโน
ธมฺมา, อิเม ธมฺมา กุสลา.
คำแปล
ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล, ธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากฤต
ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศาล เป็นไฉนเล่า?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตแล้วด้วยโสมนัส
สัมปยุตแล้วด้วยญาณปรารภเอารูปารมณ์หรือ
หรือว่าสัททารมณ์ คันธารมณ์หรือ หรือว่า
รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์หรือ
หรือว่าธัมมา-
รมณ์ ก็หรือว่าอารมณ์ใด ๆ เป็นจิตที่เกิดขึ้น
แล้ว ในสมัยใด,
ในสมัยนั้น ผัสสะ ย่อมเกิด, อวิกเขปคือ
สมาธิย่อมเกิด, ก็หรือว่า
นามธรรมเหล่าใด
แม้เหล่าอื่นที่อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วในสมัยนั้น
มีอยู่, ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นกุศลฯ
ย่อสภาวะในคัมภีร์นี้
- กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศล หมายเอา กุศลจิต 21 เจตสิก 38
- กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอกุศล หมายเอา อกุศลจิต 12 เจตสิก 27
- อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอัพยากฤต หมายเอา วิบากจิต 36 กิริยาจิต 20 รูป 28 นิพพาน 1
- อารมณ์ 6 หมายเอา รูป 1 เสียง 1 กลิ่น 1 รส 1 โผฏฐัพพะ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อีก 3 รวมเป็น 7 เรียกว่า วิสัยรูป 7
- ธัมมารมณ์ 6 หมายเอา ปสาทรูป 5 สุขุมรูป 16 จิต 89 เจตสิก 52 รูป 28 พระนิพพาน 1 และบัญญัติ
- ปโรปัณณาสธรรม 56 คือ
ก. ผัสสปัญจกะ 5 คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิตฯ
ข. วิตักกปัญจกะ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาฯ
ค. อินทรีย์อัฏฐกะ 8 คือ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมสัสสินทรีย์ และชีวิตนทรีย์ฯ
ฆ. สัมมาทิฐิปัญจกะ 5 คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ
ง. สัทธาพลสัตตกะ 7 คือ สัทธาพละ วีริยะพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละฯ
จ. อโลภติกะ 3 คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะฯ
ฉ. อนภิชฌาติกะ 3 คือ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฐิ ฯ
ช. หิริทุกะ 2 คือ หิริ โอตตัปปะ ฯ
ฌ. ปัสสิทธิทุกะ 2 คือ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสิทธิ ฯ
ซ. กายลหุตาทุกะ 2 คื กายลหุตา จิตตลหุตา ฯ
ญ. กายมุทุตาทุกะ 2 คือ กายมุทุตา จิตตมุทุตา ฯ
ฎ. กายกัมมัญญตาทุกะ 2 คือ กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา ฯ
ฎ.กายปาคุญญตาทุกะ คื 1 คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ
ฐ. กายุชุกตาทุกะ 2 คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ
ฑ. สติทุกะ 2 คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ
ฒ. สมถทุกะ 2 คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ
ณ. ปัคคาหทุกะ 21 คือ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ฯ - เย วา ปน ธรรมที่เกิดร่วมในจิตตุปบาทนั้นอีก 9 คือ มนสิการ อธิโมกข์ ฉันทะ วิรตี 3 และ อัปปมัญญา 2 (รวม 9)
หมายเหตุ ปโรปัณณธรรม 56 มีปรากฎอยู่ในพระธรรมสังคิณีบาลี หน้าต้น และเยวาปนธรรม
9 มีปรากฎอยู่ในอรรถสาลินี ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า 176 แม้ปโรปัณณาสกธรรม 56
ท่านก็ได้แสดงไว้เหมือนกัน
รวมคัมภีร์นี้แล้วมี 4 กัณฑ์ คือ
- จิตตุปปาทกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของจิตทั้งหมด
- รูปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของรูปทั้งหมด
- นิกเขปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของติกะ ทุกะ และสุตตันติกะทั้งหมด
- รรถกถากัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของเนื้อความในติกะ ทุกะ และนิคมกถา ฯ
จบคัมภีร์พระธรรมสังคณี