ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
คัมภีร์ที่ 1 พระธรรมสังคณี
คัมภีร์ที่ 2 พระวิภังค์
คัมภีร์ที่ 3 ธาตุกถา
คัมภีร์ที่ 4 ปุคคลบัญญัติ
คัมภีร์ที่ 5 กถาวัตถุ
คัมภีร์ที่ 6 ยมก
คัมภีร์ที่ 7 มหาปัฏฐาน
คัมภีร์ที่ 4 ปุคคลบัญญัติ
บาลี
ปญฺญตฺติโย. ขนฺธปญฺญตฺติ, อายตนปญฺญตฺติ, ธาตุปญฺญตฺติ สจฺจปยฺญตฺติ,
อินฺทฺริยปญฺญตฺติ, ปุคฺคลปญฺญตฺติ, กิตฺตาวตา, ปุคฺคลานํ ปุคคฺคลปญฺญตฺติ ?
สมยวิมุตฺโต อสมวิมุตฺโต กุปฺปธมฺโม, อกุปฺปธมฺโม, ปริหานธมฺโม, อปริหานธมฺโม,
เจตนาภพฺโพ, อนุรกฺขนาภพฺโพ, ปุถุชฺชโน, โคตฺรภู, ภยูปรโต, อภยูปรโต, ภพฺพาคมโน,
อภพฺพาคมโน, นิยโต, อนิยโต, ปฏิปนฺนโก, ผเลฏฐิโต, อรหา, อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน.
คำแปล
บัญญัติ 6 คือ ขันธบัญญัติ, อายตนบัญญัติ, ธาตุบัญญัติ, สัจจบัญญัติ,
อินทริยบัญญัติ, ปุคคลบัญญัติ มีอยู่ การบัญญัติบุคคลว่าเป็นปุคคลบัญญัติ จะมีได้
ด้วยประมาณเท่าไร ? แก้ว่า จะมีได้ ด้วยประมาณเท่านี้ คือ
บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้ไม่พ้นวิเศษแล้วจากสมัย,
บุคคลผู้มีฌานกำเริบ, บุคคลผู้มีฌานไม่กำเริบ, บุคคลผู้มีฌานธรรมเสื่อม,
บุคคลผู้มีฌานธรรมไม่เสื่อม, บุคคลผู้ไม่ควรเสื่อมเพราะเจตนา,
บุคคลผู้ควรแก่การตามรักษา, บุคคลผู้เป็นปุถุชน, บุคคลผู้ที่ได้โคราภูญาณ,
บุคคลผู้อันเว้นจากภัย, บุคคลผู้อันไว้เว้นจากภัย, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ควร,
บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ไม่ควร, บุคคลผู้แน่นอน, บุคคลผู้ที่ปฏิบัติแล้ว,
บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่ในผล, บุคคลเป็นอรหันต์, บุคคลผู้ที่ดำเนินไปแล้ว
เพื่อความเป็นอรหันต์ ฯ
ขยายความหมายบุคคล
- บุคคลผู้ที่พ้นวิเศษแล้วจากสมัยนั้น ตามอรรถกถานัย ท่านหมายเอาพระโสดาบัน พระสกทาคาม และพระอนาคามีผู้ที่ได้สมาบัติแปดฯ
- อสมยวิมุตตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่พ้นโดยวิเศษไม่ได้แล้วจากสมัย ท่านหมายเอาพระขีณาสพผู้ที่เป็นสุกขวิปัสสกคือไม่ได้สมาบัติแปดนั้นเองฯ
- กุปปธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมกำเริบ ท่านหมายเอาบุคคลผู้ที่ได้สมาบัติแล้ว แต่ต่อมาสมาบัติเกิดเสื่อม
- อกุปปธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมไม่กำเริบ ท่านหมายถึง บุคคลผู้ที่ได้สมาบัติ แต่ทว่าไม่เสื่อมฯ
- ปริหานธรรม และอปริหานธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมเสื่อม และไม่เสื่อมนั้น ตามอรรถกถานัยฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า 34 ข้อ 5 ท่านแสดงได้ว่า ปริหานธมฺมาปริหานธมฺมนิทฺเทสาปิ กุปฺปธมฺมากุปฺปธมฺมทฺเทสวเสเนว เวทิตพฺพา. เกวลญฺหิ อิธ ปุคฺคลสฺส ปมาทํ ปฏิจฺจ ธมฺมานํ ปริหานมฺปิ อปริหานมฺปิ คหิตนฺติ อิทํ ปริยายเทสนามตฺตเมว นามํ ความว่า แม้นิเทสแห่งปริหานธรรม และอปริหานธรรมก็ควรเข้าใจเหมือนกับกุปปธรรม และอกุปปธรรมนั้นแหละ ท่านจัดไว้เพราะอาศัยความประมาทของบุคคลอย่างเดียว จึงเป็นเพียงปริยายเทศนาเท่านั้น (ความ) ไม่แตกต่างกันเลย ฯ
- เจตนาภัพพบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่ไม่ควรเพื่อความเสื่อมแห่งความตั้งใจ คือความตั้งใจเจริญสมาบัติอยู่อย่างเต็มที่แล้ว ไฉนเล่าจึงจะเสื่อมได้ ฯ
- อนุรักขนาภัพพบุคคล ท่านหมายถึงบุคคลที่ไม่เสื่อมจากสมาบัติ ด้วยการตามรักษาเจริญแต่อุปการธรรมเพื่อความเจริญงอกงามแห่งสมาบัติเท่านั้น ฯ
- ปุถุชนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ยังละทิฐิสัญโญชน์ สีลัพพตปรมาสสัญโญชน์ และวิจิกิจฉาสัญโญชน์ ด้วยสมุจเฉทปหานยังไม่ได้นั่นเอง เมื่อจะว่ากันตามสภาวปรมัตถ์แล้ว ก็ได้แก่บุคคลที่เป็นปุถุชน 4 จำพวก คือ ทุคติบุคคล สุคติบุคคล ทวิเหตุบุคคล และติเหตุปุถุชนบุคคลนั่นเอง ฯ
- โคตรภูบุคคล คือ บุคคลที่กำลังเกิดวิปัสสนาญาณขั้นโคตรภู ที่ทำลายโคตรปุถุชนรับเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ตรงหน้าโสดาปัตติมรรค ที่ในโสดาปัตติมรรควิถีนั้น อันนี้ ท่านเอาเฉพาะพระโยคาวจรผู้กำลังเกิดโคตรภูญาณอยู่ขณะนั้นเท่านั้น เรียกว่า ขณะที่โคตรภูญาณเกิดอยู่ 3 ขณะ คือ อุปาทขณะ ปีติขณะ และภังคขณะ 3 นั้นที่เรียกกันว่า โคตรภูบุคคล ฯ
- ภยูปรโตบุคคล คือ บุคคล 8 คน คือ กัลยาณปุถุชนและพระเสขบุคคล 7 จำพวกที่กลัวต่อภัยในทุคติ 1 ภัยในวัฏฏะ 1 ภัยที่เกิดจากกิเลส 1 และภัยที่ถูกติเตียน 1 จึงงดเว้นจากการทำบาปทั้งต่อหน้าและลับหลัง ฯ
- อภยูปรโตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่หมดจากความกลัวแล้ว ท่านหมายเอาพระขีณาสพผู้ที่สิ้นจาก อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อภัยอะไรอีกต่อไปแล้ว ฯ
- ภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มาถึงความควรเพื่อบรรลุสัมมตนิยามอันหมายถึงพระอริยมรรค 4 ตามที่พระบาลีธรรมสังคณีแสดงไว้ในข้อ 1036 หน้า 211 แห่งธรรมสังคิณีบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา เพราะบุคคลพวกนี้ไม่มีกัมมันตราย คืออนันตริยกรรม 5 ไม่มีกิเลสสันตรายคือนิยตมิจฉาทิฐิ และไม่มีวิปากันตรายคือวิบากขันธ์ที่เป็นทุคติ สุคติ หรือทวิเหตุกะมาเป็นเหตุกางกั้นอีกต่อไปแล้ว นั่นเอง ฯ
- อภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มาถึงความควรเพื่อความยังหลุดพ้นไม่ได้ หมายถึงบุคคลผู้ที่ยังมีเครื่องกางกั้นพระอริยมรรค 4 ที่เรียกว่าอันตรายคือ มีกัมมันตราย 5 อย่าง มีฆ่ามารดาเป็นต้น 1 มีความเห็นผิดอย่างดิ่งที่เรียกว่า นิตยมิจฉาทิฐิ 1 มีวิบากขันธ์เป็นอันตรายต่อมรรคอันเป็นสัมมัตตนิยามธรรม คือเป็นสัตว์ที่หาเหตุไม่ได้คือเป็นทุคติบุคคล เป็นสุคติบุคคล เป็นบุคคลสองเหตุ 1 มีความไม่เชื่อในพระรัตนตรัย ขาดปัญญาที่มาพร้อมกับปฏิสนธิปาริหาริกปัญญา และวิปัสสนาปัญญา 1 เป็นผู้ที่ขาดจากอุปนิสัยแห่งมรรคผลเป็นอภัพพบุคคล 1. ฯ
- นิยตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนต่อผลของกรรมที่ตนจะพึงได้รับ โดยไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางได้เลย ซึ่งในอรรถกถาปัญจปกรณ์ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า 37 ข้อ 14 ท่านได้พรรณนาไว้ว่า นิยตานิยตนิทฺเทเส อานนฺตริกาติ อานนฺตริกกมฺมสมงฺคิโน. มิจฺฉาทิฏฐิกาติ นิยตมิจฺฉาทิฏฺฐิสมงฺคิโน. สพฺเพปิ เหเต นิรยสฺส อตฺถาย นิยตตฺตา นิยตา นาม. อฏฺฐ ปน อริยปุคฺคลา สมฺมากาวาย อุปรูปริมคฺคผลตฺถายเจว อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย จ นิยตตฺตาทนิยตา นาม. ความว่า ในนิทเทสแห่งนิยตะ และ อนิยตบุคคล ควรมีความเข้าใจดังต่อไปนี้ บทว่า อานนฺตริกา หมายถึงผู้ที่มีอนันตริยกรรม บท มิจฺฉาทิฏฐิกา หมายถึงผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างดิ่ง ก็บุคคลตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ทุก ๆ จำพวกชื่อว่า นิยตบุคคลคือบุคคลผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะแน่นอนต่อประโยชน์แก่นรก ส่วนพระอริยบุคคล 8 ที่ได้นามว่า นิยตบุคคล เพราะเป็นผู้ที่แน่นอน เพื่อประโยชน์แก่มรรคและผลที่สูง ๆ ขึ้นไป โดยการเจริญโดยชอบด้วย และแน่นอนเพื่ออนุปาทานิพพานด้วย ฯ
- อนิยตบุคคล คือ บุคคลที่นกเหนือจากบุคคลที่เป็นนิยตตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 14 นั่นเอง เพราะบุคคลดังกล่าวในข้อที่ 15 นี้ เป็นบุคคลที่ไม่แน่นอนในส่วนของคติที่พึงจะเกิดไปด้วย ในผลแห่งกรรมที่คนจะพึงได้จากการกระทำด้วย ฯ
- ปฏิปันนกบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ปฏิบัติแล้ว ในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า 17 ข้อ 15 ท่านได้ให้คำอธิบายไว้ว่า (15) ปฏิปนฺนกนิทฺเทเส มคฺคสมงฺคิโนติ มคฺคฏฺฐกปุคฺคลา เต หิ ผลตฺถาย ปฏิปนฺนตฺตา ปฏิปนฺนกา นาม. ควรทำความเข้าใจ ในนิทเทสแห่งปฏิปันนกบุคคลดังต่อไปนี้ บุคคลที่ตั้งอยู่ในมรรคชื่อว่า มคฺคสมงฺคีบุคคล คือ บุคคลผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมรรค ด้วยว่าคนเหล่านั้น เท่าที่ได้นามว่า ปฏิปนฺนกบุคคล ก็เพราะเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ผล ฯ
ผเลฏฐิตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่แล้วในผล ซึ่งมีในอรรถกถาปัญจปกรณ์
ในหน้าและข้อเดียวกัน ท่านก็ได้ให้อธิบายไว้ว่า ผลสงฺคิโนติ ผลปฏิลาภสมงฺคิตาย
ผลสมงฺคิโน. ผลปฏิลาภโต ปฏฺฐาย หิ เต ผลสมาปตฺตึ อสมาปนฺนาปิ ผเล ฐิตาเยว นาม.
ความว่า บทว่า ผลสมงฺคิโน ได้แก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยผล
เพราะเป็นผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยผลโดยเฉพาะ ด้วยว่า พระอริยผลบุคคลเหล่านั้น
นับตั้งแต่ได้ผลโดยเฉพาะเป็นต้นมา
แม้ถึงไม่เข้าผลสมาบัติก็ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในผลได้แน่นอนทีเดียว ฯ
ส่วนพระอรหันต์และท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์นั้นในอรรถกถาที่มา
ท่านมิได้อธิบายไว้โดยเฉพาะ แต่ท่านกลับอธิบายถึงพระอริยบุคคลที่เป็นสมสีสีไว้ 3
จำพวกคือ
- อิริยาปถสมสีสี คือ พระอริยบุคคลผู้ที่กำลังเดินจงกรมเจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ได้บรรลุพระอรหัตนิพพาน เหมือนกับพระปทุมเถระเป็นตัวอย่าง บางองค์ก็นั่งเจริญวิปัสสนาอยู่ก็ได้บรรลุพระอรหัตแล้วก็นิพพานในอิริยาบถนั่นเอง, บางองค์ก็นอนเจริญวิปัสสนาอยู่แล้วได้บรรลุพระอรหัตในขณะนอนแล้วก็นิพพาน ในขณะที่นอนอยู่นั่นเอง อย่างนี้เรียกว่า อิริยาปถสมสีสี
- โรคสมสีสีอริยบุคคล หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังเป็นโรคภัยไข้เจ็บอยู่ ท่านก็ไม่ประมาทรีบเจริญวิปัสสนาแล้วก็บรรลุพระอรหัตนิพพานอย่างพระติสสเถระที่มีตัวเน่าเป็นต้น ฯ
- ชีวิตสมสีสีอริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่สิ้นชีพไปพร้อมกับสีสะทั้งสองคืออวิชชากับชีวิตนั่นเอง
ในอรรถกถาแห่งนั้น ได้ขยายสีสะออกไปถึง 13 อย่างคือ
1. ตัณหา เป็นปลิโพธสีสะเครื่องรบกวน
2. มานะ เป็นวินิพันธสีสะเครื่องรบกวน
3. ทิฐิ
เป็นปรามาสสีสะเครื่องยึดมั่น
4. อุทธัจจะ เป็นวิกเขปสีสะเครื่องทำให้ฟุ้งซ่าน
5. อวิชชา เป็นสังกิเลสสีสะเครื่องทำให้เศร้าหมอง
6. สัทธา เป็นอธิโมกขสีสะเครื่องทำให้น้อมใจเชื่อที่เป็นอุปสรรคของวิปัสสนา
7. วิริยะ
เป็นปัคคหสีสะเป็นเครื่องพยายามเกินขัดต่อวิปัสสนาปัญญาที่จะดำเนินต่อไป
8. สติ เป็นอุปัฎฐานสีสะ สติเป็นสภาพที่ปรากฎชัดเกินไปจนวิปัสสนาปัญญาอัปรัศมี
9. สมาธิ เป็นอวิกเขปสีสะเป็นเครื่องทำให้นิ่งเกินไป
10. ปัญญา
เป็นทัสนสีสะ คือเห็นชัดเกินไปจนศรัทธาเกิดยากไม่เสมอกัน
11. ชีวิตทรีย์ เป็นสีสะอยู่ต่อไปหยุดไม่ได้
12.วิโมกข์เป็นโคจรสีสะ
คือเป็นอารมณ์
13.นิโรธมีสังขารเป็นสีสะเครื่องปรุงแต่งดับไม่ได้ ฯ
ในบรรดาสีสะทั้ง 13 นั้น พระอรหัตมรรคทำลายอวิชชาซึ่งเป็นสีสะของกิเลส
จุติจิต ทำลายชีวิติน ทรีย์ที่เป็นสีสะที่ทำให้เป็นไป หยุดไม่ได้
จิตทำลายชีวิตตินทรีย์ได้ แต่ไม่อาจจะทำลายอวิชชาได้
จิตที่ทำลายอวิชชากับจิตที่ทำลายชีวิตเป็นคนละอย่างกัน แต่สีสะทั้งสองคืออวิชชา
และชีวิตของท่านผู้ใดถึงความสิ้นไปได้ ท่านผู้นั้นจึงจะเรียกว่า ชีวิตสมสีสี ฯ
จบคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ