ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
คัมภีร์ที่ 1 พระธรรมสังคณี
คัมภีร์ที่ 2 พระวิภังค์
คัมภีร์ที่ 3 ธาตุกถา
คัมภีร์ที่ 4 ปุคคลบัญญัติ
คัมภีร์ที่ 5 กถาวัตถุ
คัมภีร์ที่ 6 ยมก
คัมภีร์ที่ 7 มหาปัฏฐาน
คัมภีร์ที่ 6 ยมก
บาลี
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลมูลา ?
เย วา ปน กุสลมูลา, สพฺเพ เต
ธมฺมา กุสลา.
เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลามูเลน เอกมูลา ?
เย วา ปน กุสลมูเล
เอกมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา.
คำแปล
อนุโลมปุจฉาว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่,
ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นมูลของกุศลใช่ไหม ?
ปฏิโลมปุจฉาว่า ก็หรือว่าธรรมะเหล่าใด ที่ชื่อว่าเป็นมูลของกุศลมีอยู่,
ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ?
อนุโลมปุจฉาว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่,
ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นมูลเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม ?
ปฏิโลมปุจฉาว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใด ที่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล
ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ?
หมายเหตุ ตามคำแปล และบาลีเท่าที่ยกมาสวดตามประเพณีทั้งหมดนี้
จะเห็นว่ามีแต่เฉพาะคำถามเท่านั้นทั้งส่วนอนุโลมและปฏิโลมปุจฉาไม่ได้มีคำวิสัชนาอยู่เลย
ถ้าจะทำความเข้าใจเฉพาะบาลีที่ได้นำเอามาสวดกับคำแปลเท่านั้น
ก็ย่อมจะทำความเข้าใจให้ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย
ยิ่งเป็นพระหรือชาวบ้านที่ไม่มีพื้นการศึกษาสภาวะอยู่บ้างแล้ว
ก็ยิ่งจะมืดแปดด้านเหมือนกับเดินเข้าถ้ำที่ปราศจากแสงสว่างทีเดียว
เพื่อให้เกิดแสงสว่างตามที่พอจะทำได้ก็จะขอแยกความเข้าใจไว้ในที่นี้สักเล็กน้อยพอเป็น
นิทัสสนนัย ก่อนอื่นควรจะทราบถึงคำว่า กุศล กับคำว่า มูล คือรากเหง้าของกุศล
เสียก่อน จึงจะแยกออกว่าอะไร เป็นอะไร ไม่อย่างนั้น
มันจะปนกันไปหมดอย่างชนิดที่ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้เลย ก็คำว่า กุศล
เท่าที่ทรงแสดงองค์ธรรมไว้ในกุสลติกะนั้นก็ได้แก่ กุศลจิต 21
กับเจตสิกที่เกิดร่วมกันอีก 38 เท่านั้น ส่วนมูลที่เป็นรากเหง้าของกุศลนั้น มี 3
คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ เท่านั้น ที่ว่านี้ เป็นองค์ธรรมของข้อความในพระบาลีทั้ง
4 ตอนนี้
เมื่อได้รับทราบถึงตัวธรรมะของคำว่า กุศล และคำว่า
มูลคือรากเหง้าของกุศล แล้ว ก็หันมาพิจารณาดูพระบาลี
และคำแปลที่ได้ยกเอามาสวดกันดูว่า ตามคำถามที่ได้ถามนั้น หมายความถึงอะไร ?
คำถามในอนุโลมปุจฉาที่เป็นสันนิษฐานบทที่ว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ? ธรรมะทั้งหลาย
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, สพฺเพ เต กุสลมูลา ?
ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมดเป็นมูลของกุศลใช่ไหม ? ซึ่งคำถามตอนหลังนี้เป็นอนุโลมปุจฉา
สังสยบท ก็จะมีคำวิสัชนาออกมาว่า ตีเณว กุสลมูลานิ, อวเสลา ธมฺมา น กุสล-มูลา.
ความว่า เฉพาะความไม่โลภ ความไม่โกรธ และความไม่หลง 3 ตัวนี้เท่านั้น
ที่จัดเป็นมูลคือรากเหง้าของกุศล, กุศลธรรมที่เหลือคือกุศลจิต 21 เจตสิกอีก 35
(โดยยกเอากุศลเหตุ 3 ตัว ที่ออกไปเสียแล้ว) เป็นเพียงกุศล
แต่ไม่ใช่เป็นมูลคือรากเหง้าของกุศล ฯ
ส่วนบาลีในปฏิโลมปุจฉาทั้งสันนิฏฐานบท และสังสยบทที่ว่า เย วา ปน กุสลมูลา,
สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ? ความว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใดที่ว่าเป็นมูลของกุศลมีอยู่,
ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ? คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. รับรองว่า
ใช่ ที่ว่านี้หมายความว่ากุศลมูลคือตัวของความไม่โลภ
ความไม่โกรธและความไม่หลงซึ่งเป็นรากเหง้าของกุศลนั้น
นอกจากตัวเขาจะเป็นรากเหง้าของกุศลนั้น นอกจากตัวเขาจะเป็นรากเหง้าให้เกิดกุศลแล้ว
ตัวเองก็เป็นกุศลด้วย (ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้
เป็นเรื่องของบาลีที่เป็นคำถามในตอนแรก พูดถึงเรื่องของมูล
มูลของกุศลกับกุศลเท่านั้น)
ส่วนพระบาลีในท่อนที่ 2 ต่อมาที่ว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต
กุสลมูเลน เอกมูลา ? ความว่า ธรรมะทั้งหลาย
เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่งเป็นกุศลมีอยู่ทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม ?
เมื่อมีคำถามขึ้นมาอย่างนี้ คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. ซึ่งแปลว่า ใช่
ที่ว่านี้หมายความว่า กุศลธรรมทั้งหมดที่เกิดร่วมกันเมื่อจะแยกออกให้เห็นชัด ๆ แล้ว
ก็พอจะจำกัดความได้ว่า ในกุศลจิตตุปบาทอย่างหนึ่ง เช่นเกิดจิตกุศลขึ้น 1
จะมีเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกันถึง 38 คราวนี้ในเจตสิก 38 นั้น ก็ยกเอา
เจตสิกที่เป็นมูลของกุศลคือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ออกเสีย 3 ตัว ส่วนที่เหลืออีก 35
และจิตอีก 1 เป็น 36 เมื่อถามว่า กุศลจิต 1 กับเจตสิกที่นอกจากมูลอีก 35นั้น
ทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศมูลใช่ไหม ตอบว่า ใช่ ที่ว่านี้หมายความว่า มี
2 อย่างด้วยกันคือ อย่างที่ 1 กุศลจิต 1 กับเจตสิกที่เหลือจากมูล 35
ก็เป็นธรรมที่มีมูลเป็นอันเดียวกับกุศลมูลคือตัว อโลภะ อโทสะ และอโมหะ อย่างที่ 2
หมายเอาตัวมูลเองก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลเหมือนกันคือ อโลภะ
ก็มีอโทสะและอโมหะเป็นมูล อโทสะ ก็มีอโลภะและ อโมหะเป็นมูล และอโมหะ
ก็มีอโลภะและอโทสะเป็นมูล เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า มีมูล
เป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลตามบาลีนั้น
คราวนี้ คำถามที่เกี่ยวกับยมกที่เป็นมูลเดียวกันในปฏิโลมปุจฉาทั้งสันนิฏฐานบท
และสงสัยบทที่ว่า เย วา ปน กุสลมูเล เอกมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ? ความว่า
ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่,
ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ? คำวิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. ซึ่งแปลว่า
ใช่ หมายความว่า ธรรมะที่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลนั้น ก็พอจะรวมได้เป็น 2
พวกคือ กุศลที่ไม่ใช่มูล แต่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลย่างหนึ่ง
และกุศลที่เป็นตัวมูล และก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลอีกอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้นในพระบาลีที่ว่า เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา, ก็หมายเอาทั้งกุศล
และกุศลมูล โดยเน้นถามลงไปว่า ทั้งกูศลและทั้งกุศลมูลนั้นเป็นกุศลใช่ไหม ?
ก็ต้องตอบว่า ใช่ เรื่องของเรื่องก็มีอยู่เท่านั้น เป็นเพียงเอกเทศเท่านั้น
เพราะธรรมะที่เกิดมาจากกุศลที่อยู่ในปัญจโวการภพ มิใช่มีแต่เฉพาะนามขันธ์เท่านั้น
แม้รูที่เกิดมาจากกุศลเป็นสมุฏฐานก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ในคำตบของปฏิโลมปุจฉานี้
ท่านจึงได้ออกวิสัชนาเป็นตัวธรรมะที่มีได้ทั้งรูปทั้งนามว่า
รูปที่เกิดจากกุศลเป็นสมุฏฐาน ก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล แต่ทว่าไม่ใช่กุศล,
ส่วนกุศลที่เหลือก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลด้วย และเป็นได้ทั้งกุศลด้วย
คำตอบที่ว่านี้ เป็นคำตอบที่เต็มตามสภาวธรรมทีเดียว ตัวธรรมะทั้งหมดตรงนี้ก็ได้แก่
กุศลจิต 21 เจตสิก 38 และกุศลจิตตัชรูปอีก 17 นั่นเอง ฯ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคัมภีร์ยมก เท่าที่ได้ยกเอามาสวดนี้
มีเพียงคำถามเท่านั้น และก็ย่อเอามาเฉพาะมูลยมก
กล่าวถึงเรื่องกุศลมูลของกุศลและธรรมที่เป็นมูลเดียวกันกับกุศลเท่านั้น
ในส่วนที่ยังเหลืออีกมากมายถึง 10 คัมภีร์ และในคัมภีร์หนึ่ง ๆ ก็มีมากมาย
เช่นในมูลยมกนิทเทสวารของกุศลติกะ ก็มีถึง 10 วาระ และใน 10 วาระนั้น ก็มีถึง 4
นัยคือ
กุศลบท 4 นัย คือ มูลนัย 1 มูลมูลนัย 1 มูลกนัย มูลมูลกนัย 1
แม้ในอกุศลบทและอัพยากตบทก็มี อย่าง 4 นัยเหมือนกัน นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีนามบทอีก
4 นัย ถือ มูลนัย 1 มูลมูลนัย 1 มูลกนัย 1 มูลมูลนัย 1 เมื่อทรงแสดงมูลยมกจบแล้ว
ก็ทรงแสดง ขันธยมก อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก สังขารยมก อนุสยยมก จิตตยมก
และอินทริยยมก ในยมกเหล่านี้ก็ทรงแสดงไว้อีกมากมาย เช่นทรงแสดงถึงมหาวาระไว้
ในอนุสยยกว่า อุปปัตติวาระ มหาวาระ
- อนุสยวาระ แยกออกเป็น 3 ตอน คือ อนุโลมบุคคล อนุโลมโอกาส และอนุโลมปุคคโลกาส และแยกออกอีก 3 ตอน คือ ปฏิโลมบุคคล ปฏิโลมโอกาส และปฏิโลมปุคคโลกาส
- สานุสยวาระ แยกออกเป็น 2 ตอน คือ เป็นฝ่ายอนุโลม 3 คือ อนุโลมบุคคล อนุโลมโอกาส อนุโลมปุคคโลกาส แม้ฝ่ายปฏิโลมก็มี 3 เช่นกัน
- ปชหนวาระ ฝ่ายอนุโลม 3 ฝ่ายปฏิโลม 3 รวมเป็น 6
- ปริญญาวาระ ฝ่ายอนุโลม 3 ฝ่ายปฏิโลม 3 รวมเป็น 6
- ปหีนวาระ ฝ่ายอนุโลม 3 ฝ่ายปฏิโลม 3 รวมเป็น 6
แม้ในยมกที่ยังเหลืออีก 9 ยมก หรือ 9 คัมภีร์ที่ยังมิได้ยกมาแสดง
ก็ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์นั้นอย่างวิจิตรพิสดารเช่นกัน
ผู้ต้องการโปรดตรวจดูได้ในที่นั้นเถิด
เพราะในอรรถกถาปัญจปกรณ์แก้คัมภีร์ที่หกได้อธิบายไว้อย่างวิจิตรพิสดารแล้ว
สำหรับในสถานที่นี้จะขอยกเอามาแสดงไว้พอเป็นนิทัสสนนัยเท่านั้น ฯ
จบคัมภีร์ยมก