ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
ชื่อมหาวรรค (เป็นวินัยปิฎก)
วัสสูปนายิกาขันธกะ
(หมวดวันเข้าพรรษา)
ทรงอนุญาตให้ไปกลับภายใน ๗ วัน
แล้วทรงอนุญาตให้เดินทางได้ในระหว่างพรรษาโดยให้กลับภายใน ๗ วัน ในเมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้น ที่เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" ดังต่อไปนี้
๑. ทายกปรารถนาจะบำเพ็ญกุศล ส่งคนมานิมนต์ ในกรณีเช่นนี้ ทรงอนุญาตให้ไปได้เฉพาะที่เขาส่งคำนิมนต์มา ถ้าไม่ส่งคำนิมนต์มา ไม่ให้ไป
๒. เพื่อนสหธัมมิก คือผู้บวชร่วมกัน (ภิกษุ, ภิกษุณี, นางสิกขมานา, สามเณร, สามเณรี) เป็นไข้จะส่งคนมานิมนต์หรือไม่ก็ตาม ทรงอนุญาตให้ไปได้. นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติรายละเอียดเกี่ยวกับเพื่อนสหธัมมิกอีก คือเมื่อเพื่อนสหธัมมิกเป็นไข้ ภิกษุปรารถนาจะช่วยแสวงหาอาหาร, ผู้พยาบาล, ยารักษาโรคก็ไปได้, เมื่อเพื่อนสหธัมมิกเกิดความไม่ยินดี เกิดความรังเกียจ หรือเกิดความเห็นผิดขึ้น ไปเพื่อระงับเหตุนั้น , เมื่อเพื่อนสหธัมมิก (เฉพาะภิกษุ, ภิกษุณี) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปรารถนาจะอออกจากอาบัติในขั้นใด ๆ ก็ตาม หรือสงฆ์ปรารถนาจะทำสังฆกรรมลงโทษภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปที่จะถูกลงโทษต้องการให้ไป ก็ไปได้เพื่อไกล่เกลี่ยไม่ให้ต้ำทำกรรม หรือให้ลงโทษเบาลงไป, เพื่อให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยพระวินัยเพื่อปลอบใจ เป็นต้น.
หรือเมื่อนางสิกขมานาหรือสามเณรปรารถนาจะบวช ไปเพื่อช่วยเหลือในการนั้น
๓. มารดา บิดา พี่น้อง หรือ ญาติ เป็นไข้ ส่งคนมานิมนต์หรือไม่ รู้เข้า ไปได้
๔. วิหารชำรุด ไปเพื่อหาสิ่งของมาปฏิสังขรณ์.
- ทรงอนุมัติการเลื่อนวันจำพรรษา
- ทรงอนุญาตให้ไปกลับภายใน ๗ วัน
- ขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติ
- ทรงอนุญาตการจำพรรษาในที่บางแห่ง
- ทรงห้ามจำพรรษาในที่ไม่สมควร
มหาขันธกะ (หมวดใหญ่)
ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร
สาริบุตร โมคคัลลานะออกบวช
ข้อห้ามเกี่ยวกับสามเณร
ลักษณะที่ไม่ควรให้อุปสมบท (บวชเป็นพระ) อีก ๒๐ ประเภท
อุโบสถขันธกะ (หมวดว่าด้วยอุโบสถ)
วัสสูปนายิกาขันธกะ (หมวดวันเข้าพรรษา)
ปวารณาขันธกะ (หมวดปวารณา)
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่ ๒
พระวินัยเล่มที่ ๓
พระวินัยเล่มที่ ๔
พระวินัยเล่มที่ ๕
พระวินัยเล่มที่ ๖
พระวินัยเล่มที่ ๗
พระวินัยเล่มที่ ๘