ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
ชื่อมหาวรรค (เป็นวินัยปิฎก)
วัสสูปนายิกาขันธกะ
(หมวดวันเข้าพรรษา)
พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ยังมิได้ทรงบัญญัติเรื่องการจำพรรษา (คือพักอยู่ในวัดตลอด ๓ เดือนฤดูฝน) ภิกษุทั้งหลายเที่ยวจาริกไปทุกฤดูกาล.
มีผู้ติเตียน ว่าเที่ยวเหยียบต้นหญ้า และเหยียบสัตว์ตาย.
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัยให้ภิกษุจำพรรษา.
ครั้งแรกภิกษุทั้งหลายประชุมกัน แต่นั่งนิ่ง ๆ ชาวบ้านจะฟังธรรมก็ไม่ได้ฟัง จึงติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม.
แล้วทรงแสดงว่า วันจำพรรษามี ๒ อย่าง คือ วันจำพรรษาต้น และวันจำพรรษาหลัง (เมื่อดวงจันทร์เสวยฤกษ์อาสาฬหล่วงแล้ว ๑ เดือน คือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เป็นวันเข้าพรรษาหลัง ซึ่งสันนิษฐานว่า ทรงบัญญัติตามปีปกติและปีมีอธิกมาส จึงมี ๒ อย่าง).
แล้วทรงห้ามจาริกไปไหนระหว่าง ๓ เดือนของวันเข้าพรรษาแรกหรือเข้าพรรษาหลัง แล้วแต่กรณี ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.
แล้วทรงบัญญัติพระวินัย ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้เมื่อถึงวันเข้าพรรษาแล้วไม่จำพรรษา หรือพบวัดที่จะจำพรรษาแล้วแกล้งเดินทางเลยไปเสีย.
- ทรงอนุมัติการเลื่อนวันจำพรรษา
- ทรงอนุญาตให้ไปกลับภายใน ๗ วัน
- ขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติ
- ทรงอนุญาตการจำพรรษาในที่บางแห่ง
- ทรงห้ามจำพรรษาในที่ไม่สมควร
มหาขันธกะ (หมวดใหญ่)
ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร
สาริบุตร โมคคัลลานะออกบวช
ข้อห้ามเกี่ยวกับสามเณร
ลักษณะที่ไม่ควรให้อุปสมบท (บวชเป็นพระ) อีก ๒๐ ประเภท
อุโบสถขันธกะ (หมวดว่าด้วยอุโบสถ)
วัสสูปนายิกาขันธกะ (หมวดวันเข้าพรรษา)
ปวารณาขันธกะ (หมวดปวารณา)
พระวินัยเล่มที่ ๑
พระวินัยเล่มที่ ๒
พระวินัยเล่มที่ ๓
พระวินัยเล่มที่ ๔
พระวินัยเล่มที่ ๕
พระวินัยเล่มที่ ๖
พระวินัยเล่มที่ ๗
พระวินัยเล่มที่ ๘