ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
เล่มที่ ๒๕
ชื่อขุททกนิกาย
๔.อิติวุตตกะ
ติกนิบาต
ชุมนุมธรรมะที่มี ๓ ข้อ
๑. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธาตุ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ รูปธาตุ ( ธาตุคือรูป ), อรูปธาตุ ( ธาตุคือสิ่งที่ ไม่มีรูป ), " ( ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม ) นิโรธธาตุ ( ธาตุคือนิโรธความดับ ). "
๒. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กาเมสนา ( การแสวงหากาม ), ภเวสนา( การแสวงหาภพ คือความมีความเป็น ), พรหมจริยสนา ( การแสวงหพรหมจรรย์ ). "
๓. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ มังสจักษุ ( ตาเนื้อ ), ทิพพจักษุ ( ตาทิพย์), ปัญญาจักษุ ( ตาปัญญา ). "
๔. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นิสสรณิยธาตุ ( ธาตุคือความแล่นออก หรือความพ้นไป ) ๓ ประการ คือ เนกขัมมะ ( การออกจากกาม ) เป็นความพ้นไปแห่งกามทั้งหลาย, อารุปปะ ( ความเป็นของไม่มีรูป ) เป็นความพ้นไปแห่งรูปทั้งหลาย, นิโรธ ( ความดับ ) เป็นความพ้นไปแห่งสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย. "
๕. " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๓ ประเภท มีอยู่ในโลก คือ
๑. บุคคลที่เสมอด้วยฝนที่ไม่ตก
๒. บุคคลที่ เหมือนฝนตกเฉพาะแห่ง
๓. บุคคลที่เหมือนฝนตกทุกแห่ง
( ตรัสอธิบายต่อไปว่า ผู้ไม่ให้ทานเลย เปรียบเหมือนฝนไม่ตก, ผู้ให้ทานแก่บาง คน ไม่ให้แก่บางคน เปรียบเหมือนฝนตกเฉพาะแห่ง, ผู้ให้ทานแก่ทุกคน คือแก่สมณะ, พราหมณ์, คนกำพร้า, คนเดินทาง, วณิพพก,ยาจก เปรียบเหมือนฝนตกทุกแห่ง ). "
- เอกนิบาต
- ทุกนิบาต
- ติกนิบาต
- จตุกกนิบาต
ขุททกปาฐะ
ธัมมปทคาถา หรือธัมมบท
อุทาน
อิติวุตตกะ
สุตตนิบาต