ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
เล่มที่ ๒๓
ชื่ออังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
นวกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๙ ข้อ
วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐
๑. พระอานนท์ตอบพระอุทายี
ถึงคำว่า เขมะ ( ความเกษม คือความปลอดโปร่งจากกิเลส ).
ผู้บรรลุความเกษม, อมตะ ( ความไม่ตาย ), ผู้บรรลุ อมตะ, ภัย (
ความไม่กลัว ), ผู้บรรลุอภัย, ปัสสัทธิ ( ความระงับ ),
อนุบุพพปัสสัทธิ ( ความระงับโดยลำดับ ), นิโรธ ( ความดับ ),
อนุบุพพนิโรธ ( ความดับโดยลำดับ ) โดยปริยายถึงการที่ภิกษุเข้ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน
๔ ว่าเป็นโดยอ้อม และเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธว่าเป็นโดยตรง.
ตรัสว่าบุคคลละธรรม ๙ อย่างไม่ได้ ไม่ทำให้แจ้ง ( บรรลุ ) อรหัตตผล คือราคะ,
โทสะ, โมหะ, โกธะ ( โกรธ ), อุปนาหะ ( ผูกโกรธ ), มักขะ ( ลบหลู่บุญคุณท่าน ),
ปลาสะ ( ตีเสมอ ), อิสสา ( ริษยา ), มัจฉริยะ ( ตระหนี่ ). ฝ่ายดีคือที่ตรงกันข้าม.
๒. ตรัสแสดงการล่วงละเมิดศีล ๕ ข้อ
( ฆ่าสัตว์ถึงดื่มน้ำเมา ) ว่า เป็นความทุรพลแห่งสิกขาควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ ( ดูหน้าในพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) ใน ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อละความทุรพลแห่งสิกขา. ตรัสแสดงนิวรณ์ นีวรณ์ ๕ ( ดูหน้าข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ) หมายเลข ๖๘. อกุศลราศี ( กองแห่งอกุศล ) กามคุณ ๕ ( มีรูป เป็นต้น ), อุปาทานขันธ์ ๕ ( ขันธ์ที่ยึดถือ มีรูป, เวทนา เป็นต้น ), สัญโญชน์ เบื้องต่ำ ๕ ( สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุ ยึดถือกายของตน, ความลังเลสงสัย, การลูบคลำศีลและพรต, ความพอใจในกาม, ความพยาบาท ), คติ ๕ ( ทางไปหรือที่ไป ๕ คือ นรก, กำเนิดดิรัจฉาน, เปรตวิสัย, มนุษย์, เทพ ), มัจฉริยะ ๕ ( ความตระหนี่ ๕ คือตระหนี่ที่อยู่, ตระกูล, ลาภ, คำสรรเสริญ, ธรรมะ ), สัญโญชน์เบื้องสูง ๕ ( ความติดในรูป, ความติดในอรูป, ความถือตัว, ความฟุ้งสร้าน, ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ ), เจโตขีละ ๕ ( ตอของจิต ๕ ), เครื่องผูกมัดจิต ๕ ( เจตโสวินิพันธะ ) แล้วตรัสแสดงว่า ควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละธรรมเหล่านั้น.
๓. ตรัสแสดงว่า ควรเจริญความเพียรชอบ ๔
( ดูเสด็จป่ามหาวัน หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) เสด็จป่ามหาวันประชุมภิกษุสงฆ์เพื่อละธรรมเหล่านั้น.
๔. ตรัสว่า ควรเจริญอิทธิบาท ๔
( ดูเสด็จป่ามหาวัน หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) เสด็จป่ามหาวันเพื่อละธรรมเหล่านั้น.
๕. ตรัสว่า ควรเจริญสัญญา ( ความกำหนดหมาย ) ๙ ประการ
เพื่อละอุปกิเลส ๑๖ ( หน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ ) ๗. วัตถูปมสูตร มีราคะ เป็นต้น.
จบพระไตรปิฎก ๗-๘-๙ ข้อ
- ตรัสสอนให้ตอบนักบวชศาสนาอื่น
ถึงธรรมอันเป็นที่อาศัยของธรรมที่เป็นฝ่ายให้ตรัสรู้
- พระสาริบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งกล่าวหา
- ตรัสถึงมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป, เทพชั้นดาวดึงส์,
มนุษย์ชาวชมพูทวีป
- ตรัสแสดงอนุบุพพวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ) ๙
อย่าง
- พระอานนท์แสดงธรรมแก่พระอุทายี
- วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐
สัตตกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๗ ข้อ
อัฏฐกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๘ ข้อ
นวกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๙ ข้อ