ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม
» พระสูตร
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
เล่มที่ ๒๓
ชื่ออังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อัฏฐกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๘ ข้อ
๑.มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระนางมหาปชาบดี โคตมี
กราบทูลขอบวชเป็นภิกษุณี ในชั้นแรกตรัสปฏิเสธ แต่เมื่อพระอานนท์ช่วยกราบทูล ก็ตรัสอนุญาตให้พระนางบวชด้วยครุธรรม ( ธรรมที่ควร เคารพ ) ๘ ประการ ( ดูรายละเอียดที่แปลไว้จากวินัยปิฎกซึ่งพ้องกัน ) หมายเลข ๘๓ และ ( หน้าพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ ) ๖. ภิกขุนีขันธกะ(หมวดว่าด้วยนางภิกษุณี )(และพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ เล่มเดิม ) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ
ตรัสแสดงธรรมแก่บุตรแห่งโกลิยกษัตริย์ชื่อฑีฆชาณุ เรื่องธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ปัจจุบัน ๔ ประการ คือถึงพร้อมด้วยความหมั่น, การรักษา ( ทรัพย์ที่หามาได้ ), คบคนดีเป็นมิตร, เลี้ยงชีวิตโดยสม่ำเสมอ ( ไม่ฟุ่มเฟือยหรือฝืดเคืองเกินไป ) ; เรื่องปากทางแห่งความเสื่อมทรัพย์ ๔ ประการ คือเป็นนักเลงหญิง, เป็นนักเลงสุรา, เป็นนักเลง การพนัน, คบคนชั่วเป็นมิตร, ฝ่ายดีคือปากทางแห่งความเจริญตรงกันข้าม.
เรื่องธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อนาคต ๔ ประการ คือถึงพร้อมด้วยศรัทธา, ศีล, จาคะ ( การบริจาก ), ปัญญา.
และตรัสแก่อุชชยพราหมณ์ในทำนองเดียวกัน. ตรัสว่า ภัย ทุกข์ เป็นต้น เป็นชื่อของกาม. ตรัสแสดงคุณธรรม ๘ อย่างของภิกษุหลายนัย ที่ทำให้ภิกษุเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ตลอดจนเป็นเนื้อนาบุญ อันยอด เยี่ยมของโลก อย่างสูงทรงแสดงพระอริยบุคคลทั้งแปด.
- มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระนางมหาปชาบดี โคตมี
- ตรัสแสดงบุคคล ๘ ประเภท
- ตรัสว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ
- ตรัสว่า ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็ทำให้ไม่มีธรรมะอื่น ๆ
อีก ๗ ข้อ
- ตรัสสอนให้เจริญธรรม ๘ อย่าง
ตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตา ๘ อย่าง
ตรัสตอบเวรัญชพราหมณ์
อุคคคฤหบดีชาวกรุงเวสาลี
ตรัสแสดงทาน ๘ อย่าง
ตรัสว่า อุโบสถมี องค์ ๘ ที่อยู่จำแล้ว
วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐
สัตตกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๗ ข้อ
อัฏฐกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๘ ข้อ
นวกนิบาต ชุมนุมธรรมะที่มี ๙ ข้อ