ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

เล่มที่ ๒๑

เล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

จตตุถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔

๕.ทรงแสดงอานิสงส์ (ผลดี) ๔ ประการ

แห่งธรรมที่ได้สดับ ที่ขึ้นปาก ที่เพ่งดวงใจ ที่ขบด้วยทิฏฐิ คือ

๑. ภิกษุเรียนธรรมแล้วหลงลืมสติ ทำกาละ ( ตาย ) เข้าถึงเทพนิกายพวกใดพวก หนึ่ง.

บทแห่งธรรมของเธอผู้มีความสุขย่อมแจ่มชัด สติเกิดขึ้นช้า เธอย่อมก้าวหน้าไปสู่คุณวิเศษโดยรวดเร็ว( วิเสสคามี )

๒. ภิกษุเรียนธรรมแล้วหลงลืมสติ ทำกาละ เข้าถึงเทพนิกายพวกใด พวกหนึ่ง.

บทแห่งธรรมของเธอผู้มีความสุขไม่แจ่มชัด แต่ว่าเธอมีฤทธิ์ บรรลุความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางจิต( เจโตวสิปตุโต ) ย่อมแสดงธรรมแก่เทวบริษัท สติเกิดขึ้นช้า เธอย่อมก้าวหน้าไปสู่ คุณวิเศษโดยรวดเร็ว.

๓. เหมือนข้อ ๒ แต่บทแห่งธรรมไม่ปรากฏ เธอไม่มีฤทธิ์ ไม่บรรลุความเชี่ยวชาญทางจิตแสดงธรรม แต่ได้แสดงธรรมแก่เทวบริษัท สติเกิดขึ้นช้า เธอย่อมก้าวหน้าไปสู่คุณวิเศษโดยรวดเร็ว

๔. เหมือนข้อ ๓ เธอไม่มีคุณสมบัติ ทั้งสามอย่าง แต่เตือนผู้เกิดภายหลังให้ระลึกได้ว่าเคยประพฤติพรหมจรรย์ สติเกิดขึ้นช้า เธอย่อมก้าวหน้าไปสู่คุณวิเศษโดย รวดเร็ว.

ทรงแสดงฐานะ ๔ ที่พึงทราบได้โดยฐานะ ๔ คือ

๑. ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
๒. ความสะอาดพึงทราบได้ด้วยการสนทนา
๓. กำลัง ( ใจ ) พึงทราบได้ในเวลามีอันตรายเกิด ขึ้น
๔. ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการถาม การตอบ.

ทั้งสี่ข้อนี้ ต้องอาศัยเวลานาน และผู้ทราบก็ต้องใส่ใจและมีปัญญา.

ตรัสแสดงธรรมแก่เจ้าลิจฉวีชื่อภัททิยะ ผู้มาทูลถามว่า มีคนเขา พูดกันว่า พระองค์มีมายา รู้มายาเป็นเครื่องกลับใจคน ซึ่งใช้เป็นเครื่องกลับใจสาวกเดียรถีย์อื่น ๆ จะเป็นการหาความหรือไม่.

ตรัสตอบว่า ไม่ควรเชื่อโดยฟังตามกันมา เป็นต้น ( ๑๐ ประการดั่งกล่าวไว้แล้ว ดูที่ ทุติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๒ กล่าวไว้ว่า ทรงตรัสสอนมิให้เชื่อ

๑. โดยฟังตามกันมา
๒. โดยนำสืบกันมา
๓.โดยตื่นข่าวลือ
๔. โดยอ้างตำรา
๕. โดยนึกเดาเอา
๖.โดยคาดคะเน
๗. โดยตรึกตามอาการ
๘. โดยพอใจว่าชอบแก่ความเห็นของตน
๙. โดยเห็นว่าพอเชื่อถือได้
๑๐. โดยเห็นว่าสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา แต่ให้สอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเอง )

ต่อเมื่อรู้ได้ด้วย ตนเองว่า ชั่วดีอย่างไร จึงค่อยละหรือทำให้เกิดมีขึ้น แล้วตรัสถามให้เห็นโทษของโลภะ โทสะ โมหะ และคุณของอโลภะ อโทสะ อโมหะ ด้วยตนเอง.

ครั้นแล้วตรัสว่า ผู้ใดเป็นคนดี ผู้นั้นย่อมชักชวนสาวกให้ละโลภะ โทสะ โมหะ สารัมภะ ( ความ แข่งดี ).

เจ้าลิจฉวีชื่อภัททิยะ ก็เลื่อมใสในพระธรรมเทศนา ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เราได้กล่าวหรือเปล่าว่า จงมาเป็นสาวกของเรา เราจักเป็นศาสดาของท่าน ภัททิยะลิจฉวีกราบ ทูลว่า มิได้ตรัสดังนั้น แล้วกราบทูลสรรเสริญว่า มายากลับใจนี้ ( ถ้าเป็นมายาจริง ) ก็ดีและเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ทุกคน.

พระอานนท์แสดงธรรมแก่ราชบุตรแห่งโกลิยกษัตริย์ ชาวสาปุคนิคมหลายองค์ ถึงองค์แห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ ๔ อย่าง คือองค์แห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์แห่งศีล.

แห่งจิต, แห่งทิฏฐิ ( ความเห็น ) และแห่งวิมุติ ( ความหลุดพ้น ) โดยชี้ไปที่การสำรวมในพระปาฏิโมกข์, การเข้าฌาน ๔, การรู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง, การทำจิตให้คลายกำหนัดในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด การเปลื้องจิตในธรรมที่ควร เปลื้องโดยลำดับครบ ๔ ข้อ.

พระมหาโมคคัลลานะ ถามวัปปศากยะผู้เป็นสาวกของนิครนถ์ ถึงเรื่องฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาท่วมทับบุคคลในโลกหน้า ( สัมปรายภพ ) พระผู้มีพระภาคเสด็จ มาตรัสถามและตรัสโต้ตอบกับวัปปศากยะ โดยทรงตั้งปัญหาให้ตอบ และเห็นจริงได้ด้วยตนเองว่า อาสวะที่เกิดขึ้นเพราะ ความริเริ่มทางกาย วาจา ใจ และเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ถ้าบุคคลเว้นได้ไม่ทำกรรมใหม่ ทั้งทำกรรมเก่าให้สิ้นไป ก็จะไม่เห็น ฐานะที่อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาท่วมทับบุคคลในโลกหน้า.

ในที่สุดวัปปศากยะกราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.

รวมเป็นบุคคลสำคัญ ๓ คนที่เปลี่ยนศาสนาจากนิครนถ์มาเป็นพุทธศาสนิก คือวัปปศากยะ ผู้เป็นอาพระพุทธเจ้า, สีหเสนาบดีแห่งกรุงเวสาลี แคว้นวัชชี และอุบาลีคฤหบดีแห่งเมืองนาฬันทา ( สีหเสนาบดีเปลี่ยนศาสนา....สีหเสนาบดีเป็นสาวกนิครนถ์ ( ศาสนาเชน ) ได้ฟังคณะกษัตริย์ลิจฉวี สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยก็ใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อไปปรึกษากับอาจารย์คือนิครนถนาฏบุตร ก็ถูกห้ามปราบถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดได้ตัดสินใจไปเฝ้าโดยไม่บอกอาจารย์.

เมื่อได้ไปเฝ้ากราบทูลถามถึงข้อที่มีคนกล่าวหาพระผู้มีพระภาค ซึ่งได้ทรงชี้แจงโดย ละเอียดแล้วทรงแสดงธรรมโปรด.

สีหเสนาบดีได้ดวงตาเป็นธรรม ( เป็นโสดาบันบุคคล ) และได้นิมนต์ฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น.

พวกนิครนถ์เที่ยวพูดว่า สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์มาทำเป็นอาหารเลี้ยงพระ พระสมณโคดมรู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อสัตว์นั้น.

สีหเสนาบดีได้ทราบ ก็ปฏิเสธว่าไม่จริง แล้วก็ถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ต่อไปจนเสร็จ.

พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเหตุนั้น จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่านำถวายเจาะจงภิกษุ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ฉัน และทรงอนุญาตปลาและ เนื้อที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข ๓ ประการ คือ ไม่ได้เห็น, ไม่ได้ฟัง, ไม่ได้นึกรังเกียจ ( ว่าเขาฆ่าเพื่อให้ตนรับบริโภค ).

และให้ย้อนไปดูเล่มที่ ๕ ชื่อมัชฌิมนิกาย ( มัชฌิมปัณณาสก์ เป็นสุตตันตปิฎก..ในข้อที่ ๖. อุปาลิวาทสูตร...ว่าด้วยอุบาลี คฤหบดี ) ดูประกอบด้วย .

ตรัสแสดงธรรมแก่เจ้าลิจฉวีชื่อสาฬหะ และอภยะ เรื่อง สมณพราหมณ์ผู้มีความประพฤติทางกาย วาจา ใจ และการเลี้ยงชีพไม่บริสุทธิ์ ว่าเป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ต่อบริสุทธิ์จึงควร ตรัสรู้ .

ตรัสตอบพระนางมัลลิกา ผู้กราบทูลถามปัญหา ๔ ข้อ โดย ทรงชี้แจงว่า

๑. มาตุคามผู้มักโกรธ ไม่ให้ทาน มีใจริษยา จะเป็นผู้มีรูปทรามและยากจน มีศักดิ์น้อย.
๒. มาตุคาม ผู้มักโกรธ แต่ให้ทาน ไม่มีใจริษยา จะเป็นผู้มีรูปทราม แต่มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีศักดิ์ใหญ่
๓. มาตุคาม ผู้ไม่มักโกรธ แต่ไม่ให้ทาน มีใจ ริษยา จะเป็นผู้มีรูปงาม แต่ยากจน มีศักดิ์น้อย
๔. มาตุคาม ผู้ไม่มักโกรธ ทั้งให้ทานและมีใจไม่ริษยา จะเป็นผู้ทั้งมีรูปงาม ทั้งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีศักดิ์ใหญ่.

พระนางมัลลิกากราบทูลว่าชะรอยพระนางจะเป็นคนขี้โกรธในชาติอื่น จึงทรงมีรูปทราม.

ชะรอยจะเคยถวายทานจึงมั่งคั่ง และชะรอยจะไม่มีใจริษยา จึงมีศักดิ์ใหญ่เหนือหญิงทั้งปวงในราชสกุล แล้วทรงแสดงพระ ประสงค์ว่า จะไม่มักโกรธ ทั้งจะถวายทาน และไม่มีใจริษยาตั้งแต่วันนี้ไป.

ตรัสแสดงเรื่องบุคคล ๔ ประเภท คือผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นต้น ( พ้องกับข้อความใน ๑. กันทรกสูตร ให้ย้อนกลับไปดูที่ เล่มที่ ๑๓ ชื่อมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เป็นสุตตันต ปิฎก )

ตรัสแสดงเรื่องตัณหา อันเป็นเสมือนข่ายดักสัตว์ โดยทรงแสดง ตัณหาวิจริต ( ความท่องเที่ยวไปแห่งตัณหา คือความทะยานอยาก ) ที่ปรารภขันธ์ ๕ ที่เป็นไปในภายใน ๑๘ อย่าง ที่ปรารภ ขันธ์ ๕ ที่เป็นไปในภายนอก ๑๘ อย่าง เป็นไปในกาล ๓ จึงเป็น ๑๐๘ ( ๑๘ + ๑๘ = ๓๖ = ๑๐๘ ).

แล้วตรัสต่อไปว่า ภิกษุผู้เข้า ฌานทั้งสี่ย่อมไม่เกิดความรัก ความคิดประทุษร้ายทั้งสี่ประเภทนั้น, ยิ่งสิ้นอาสวะด้วยความรัก ความคิดประทุษร้ายก็เป็นอันละ ได้อย่างถอนราก และภิกษุนั้นก็จะไม่ฟุ้งสร้าน ( ไม่ถือตน หรือถือกายของตนตามแนวสักกายทิฏฐิ ๒๐ อย่าง

๒. สักกายทิฏฐิ ( ความเห็นที่ยึดในกายของตน ) เป็นอย่างไร.

ตอบว่า บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ( คนดี ) ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป ( เห็นเวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ เช่นเดียวกัน จึงรวมเป็น ๔x๕ = ๒๐ ข้อ). ถามว่า สักกายทิฏฐิจะไม่มีได้อย่างไร

ตอบว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ที่ตรงกันข้ามกับบุถุชน และไม่เห็นอย่างนั้น ) , ไม่ฟุ้งตอบ ( ไม่ด่าตอบคนที่ด่า เป็นต้น ), ไม่เป็นควัน ( เพราะมีความท่อง เที่ยวแห่งตัณหา ปรารภขันธ์ ๕ ภายใน ), ไม่ลุกเป็นเปลว ( เพราะมีความท่องเที่ยวแห่งตัณหา ปรารภขันธ์ ๕ ภายนอก ), ไม่ถูก เผา ( ละอัสมิมานะ ความถือตัวว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ได้ )

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- ทรงแสดงอินทรีย์ (ธรรมอันเป็นใหญ่) ๔
- ทรงแสดงปฏิปทา ๔ อย่าง
- ทรงแสดงว่า เมื่อมีกาย วาจา ใจ
- ทรงแสดงนักรบประกอบด้วยองค์ ๔
- ทรงแสดงอานิสงส์ (ผลดี) ๔ ประการ

ปฐมปัณณาสกะ หมวด ๕๐ ที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์หมวด ๕๐ ที่ ๒
  ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓
จตตุถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔
หมวดนอกจาก ๕๐
หมวดพระสูตรนอก ๕๐


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย