ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

เล่มที่ ๒๑

เล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

ทุติยปัณณาสก์หมวด ๕๐ ที่ ๒

๓.ทรงแสดงข้อปฏิบัติไม่ผิดของผู้ริเริ่มเพื่อทำอาสวะให้สิ้น๔ ประการ

คือ

๑. มีศีล.
๒. สดับตรับฟังมาก
๓. ปรารภความเพียร
๔. มีปัญญา.

และอีก ๔ ประการ คือประกอบด้วยความตรึกในการออกจากกาม, ในการไม่พยาบาท, ในการไม่เบียดเบียน, ความเห็นชอบ.

ตรัสว่า อสัตบุรุษ ( คนชั่ว ) ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ

๑. ไม่ต้องถามก็เปิดเผยความชั่วของคนอื่น ยิ่งถูกถามก็ยิ่งกล่าวความชั่วของคนอื่นอย่างบริบูรณ์ พิศดาร.

๒. แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยคุณความดีของคนอื่น หรือเปิดเผยก็ไม่บริบูรณ์ไม่พิสดาร

๓. แม้ถูกถามก็ไม่ เปิดเผยความชั่วของตน หรือเปิดเผยก็ไม่บริบูรณ์ไม่พิสดาร ๔. ไม่ต้องถามก็เปิดเผยคุณความดีของตน ยิ่งถูกถาม ก็ยิ่งกล่าวความดีของตนอย่างบริบูรณ์พิสดาร.

ส่วนสัตบุรุษ ( คนดี ) ทรงแสดงโดยนัยตรงกันข้าม. ตรัสสอน ให้ภิกษุทั้งหลาย ทำตนเหมือนหญิงสาวที่นำมา ( สู่สกุลสามี ) ใหม่ ๆซึ่งมีความละอาย ความเกรง กลัวมากในแม่ผัว, พ่อผัว, ในสามี โดยที่สุดแม้ในทาสและกรรมกร แต่เมื่ออยู่ร่วมกันนานเข้าก็พูดรุกรานเอา ภิกษุ บวชใหม่ก็ฉันนั้น ย่อมมีความละอาย ความเกรงกลัวมากในภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยที่สุดแม้ในคนทำ งานวัดและสามเณร แต่เมื่ออยู่ร่วมกันนานเข้าก็รุกรานเอา.

ทรงแสดงสิ่งที่เลิศ ๔ อย่าง คือ ศีล, สมาธิ, ปัญญา, วิมุติ (ความ หลุดพ้น ). และอีก ๔ อย่าง คือรูป, เวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์ ). สัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) และภพ ( ความมีความเป็น ).

เมื่อใกล้จะปรินิพพาน ตรัสเปิดโอกาสให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความสงสัยในพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค ในข้อปฏิบัติ กราบทูลถามได้ อย่าเดือดร้อนภายหลังว่าอยู่ ต่อหน้าพระศาสดา แต่มิได้ถาม. แม้ตรัสถึง ๓ ครั้งก็ไม่มีผู้ถาม จึงตรัสว่า ถ้าไม่ถามเพราะความเคารพในพระ ศาสดา ก็ให้บอกแก่สหาย ( ถามแทนได้ ) แต่ก็ไม่มีใครถาม. พระอานนท์แสดงความอัศจรรย์ใจ พระผู้มีพระภาค เจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุที่ประชุมอยู่นี้อย่างต่ำเป็นพระโสดาบัน เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้ในภายหน้า.

ตรัสเรื่องที่ไม่ควรคิด ( อจินไตย ) ๔ อย่าง คือวิสัย ของพระพุทธเจ้า, วิสัยของฌาน ( การทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ ). ผลของกรรม, ความคิดเรื่องโลก ( เช่น ใคร สร้างโลก เป็นต้น ).

ตรัสเรื่องความบริสุทธิ์ของทักขิณา ( ของถวาย ) ๔ อย่าง คือ

๑. บริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้ ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับ
๒. บริสุทธิ์ฝ่ายผู้รับ ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายผู้ให้
๓. ไม่บริสุทธิ์ทั้ง ฝ่ายผู้ให้ ผู้รับ
๔. บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายผู้ให้ ผู้รับ

( ทรงอธิบายความบริสุทธิ์ด้วยการมีศีลและกัลยาณธรรม ).

ตรัสตอบพระสาริบุตร แสดงการกระทำในชาติก่อน ของบุคคล ๔ ประเภทที่ปวารณาสมณพราหมณ์ ( อนุญาตให้ขอ ) แล้ว ไม่ให้ตามที่ขอ, ไม่ให้ตามที่ต้องการ, ให้ ตามต้องการ, ให้ยิ่งกว่าความต้องการ ( ขอน้อยให้มาก ) เป็นเหตุให้เป็นพ่อค้าที่ขาดทุน, ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ ได้ผลตามต้องการ, ได้ผลดียิ่งกว่าที่ต้องการโดยลำดับ.

ตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ เรื่องความชั่ว คือ ความโกรธ, ความริษยา, ความตะหนี่, ความมีปัญญาทรามว่าเป็นเหตุให้มาตุคามไม่ได้นั่งในสภา, ไม่ได้ทำการ งาน, ไม่ได้ถึงกัมโมชะ คือโอชะแห่งการงาน ( อรรถกถา อธิบายว่า ไม่ได้เดินทางไกลไปแคว้นกัมโพชะหรือไป นอกแว่นแคว้น ).

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- ทรงแสดงความไหลมาแห่งบุญ, แห่งกุศล
- ตรัสแก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี
- ทรงแสดงข้อปฏิบัติไม่ผิดของผู้ริเริ่มเพื่อทำอาสวะให้สิ้น ๔ ประการ
- ทรงแสดงความชั่วความดีฝ่ายละ ๔
- ตรัสแสดงอสูร ๔ ประเภท

ปฐมปัณณาสกะ หมวด ๕๐ ที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์หมวด ๕๐ ที่ ๒
ตติยปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๓
จตตุถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔
หมวดนอกจาก ๕๐
หมวดพระสูตรนอก ๕๐


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย