สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

อีโบลา

วัคซีนและยารักษาโรค

ยังไม่ มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้เป็นการทั่วไปในเวลานี้ มีวัคซีนหลายชนิดที่อยู่ ในระหว่างการทดลองแต่ ยังไม่ มีชนิดใดที่นํามาใช้ทางคลินิกได้

ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจําเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดน้ำบ่อย ๆ จึงจําเป็นต้องได้สารละลายเกลือแร่ เพื่อแก้ ไขอาการขาดน้ำโดยอาจให้ทางปาก หรือทางเส้นเลือด ยังไม่ มียารักษาโรคนี้ โดยเฉพาะ มียาใหม่ บางชนิดที่ยังอยู่ ระหว่างการทดลอง

สัตว์ที่เป็นแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกา

เชื่อกันว่าค้างคาวผลไม้โดย เฉพาะในสกุลและชนิด ypsignathusmonstrosus, EpomopsfranquetiและMyonycteristorquataเป็นสัตว์ที่เป็นแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของเชื้อไวรัสอีโบลา ด้วยเหตุนี้ การกระจายของเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ ตามภูมิศาสตร์ จึงอาจเป็นไปตามระยะบินของค้างคาวผลไม้เหล่านั้น

เชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์

แม้จะพบว่ากลุ่มไพรเมทที่ไม่ ใช่ มนุษย์เคยทําหน้าที่เป็นแหล่งแพร่ เชื้อมาสู่คน ก็ ยังเชื่อกันว่าไพรเมทไม่ ใช่ แหล่งรังโรค แต่ เป็นตัวให้อาศัยโดยบังเอิญเช่นเดียวกับคน มีการตรวจพบการระบาดของเชื้ออีโบลาชนิดซาอีร์ อีโบลาไวรัส (EBOV) และไทฟอร์เรส อีโบลาไวรัส (TAFV) ในชิมแปนซีและกอริลลามาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2537 แล้ว

เชื้อเรซตัน อีโบลาไวรัส (RESTV) เคยก่อการระบาดอย่างรุนแรงของโรคอีโบลาในลิงมาแค็ก (Macacafascicularis) ที่เพาะเลี้ยงจากฟิลิปปินส์ และตรวจพบในลิงที่นําเข้าสู่ ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2532, 2533 และ 2539 รวมทั้งพบในลิงที่นําเข้าสู่ ประเทศอิตาลีจากฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2535

นับแต่ ปี พ.ศ. 2551 มีการตรวจพบเชื้อเรซตัน อีโบลาไวรัส (RESTV) ระหว่างการระบาดหลายครั้งของโรคชนิดหนึ่งที่เป็นเหตุให้สุกรตายที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและฟิลิปปินส์ การรายงานว่ามีการติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการในสุกร ประกอบกับการทดลองฉีดเชื้อชนิดนี้ เข้าในสุกร ได้พิสูจน์แล้วว่าเชื้อเรซตัน อีโบลาไวรัส (RESTV) ไม่ สามารถก่อโรคในสุกร

การแพร่โรค
อาการและอาการแสดง
การวินิจฉัยโรค
วัคซีนและยารักษาโรค
การป้องกันและควบคุมโรค
การควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาล
การตอบโต้สถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย