สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
อีโบลา
สํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรกฏาคม 2557
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (โรคอีโบลา หรือ EVD) เดิมเรียกว่าโรคไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของคนที่มีอาการรุนแรงและมักจะถึงแก่ชีวิต การระบาดของโรคอีโบลามีอัตราป่วยตายที่สูงได้ถึงร้อยละ 90 การระบาดของโรคอีโบลามักจะเกิดขึ้นในหมู่ บ้านที่ห่างไกลของแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกบริเวณชายป่าทึบเขตร้อนที่มีฝนตกมาก เชื้อไวรัสนี้แพร่จากสัตว์ป่ามาสู่คน จากนั้นจึงแพร่ระบาดต่อไปในหมู่ คนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน
เชื่อกันว่าค้างคาวผลไม้ในวงศ์ Pteropodidae คือแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของไวรัสอีโบลา ผู้ป่วยโรคนี้ ที่มีอาการรุแรงจําเป็นต้องดูแลแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ยังไม่มียาหรือวัคซีนจําเพาะชนิดใด ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันโรค ทั้งในคนและในสัตว์
โรคอีโบลาปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519
เป็นการระบาดที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสถานที่ 2 แห่งคือเมืองนซารา ประเทศซูดาน
และเมืองยัมบูกู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
การระบาดที่เมืองยัมบูกูเกิดขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่ น้ำอีโบลา โรคนี้
จึงได้ชื่อตามชื่อแม่น้ำตั้งแต่นั้นมาสกุลอีโบลาไวรัส
เป็นสมาชิกหนึ่งในสามสกุลของวงศ์Filoviridaeหรือไฟโลไวรัส
อีกสองสกุลได้แก่มาร์เบอร์กไวรัส และ คิววาไวรัส ในสกุลอีโบลาไวรัสมีไวรัส 5
ชนิดได้แก่
- บุนดีบูเกียว อีโบลาไวรัส (BDBV)
- ซาอีร์ อีโบลาไวรัส (EBOV)
- เรซตัน อีโบลาไวรัส (RESTV)
- ซูดาน อีโบลาไวรัส (SUDV)
- ไทฟอร์เรส อีโบลาไวรัส (TAFV)
บุนดีบูเกียว อีโบลาไวรัส(BDBV), ซาอีร์ อีโบลาไวรัส(EBOV), และซูดาน อีโบลาไวรัส(SUDV) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระบาดขนาดใหญ่ ของโรคอีโบลาในแอฟริกาในขณะที่เรซตัน อีโบลาไวรัส(RESTV)และไทฟอร์เรส อีโบลาไวรัส (TAFV)ยังไม่ เคยเกี่ยวข้อง สําหรับเชื้อชนิดเรซตัน อีโบลาไวรัส(RESTV)ซึ่งพบในฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นสามารถก่อการติดเชื้อในคนได้ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีรายงานผู้ที่ป่วยหรือตายจากเชื้อชนิดนี้
การแพร่โรค
อาการและอาการแสดง
การวินิจฉัยโรค
วัคซีนและยารักษาโรค
การป้องกันและควบคุมโรค
การควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาล
การตอบโต้สถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก