ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
แนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางคุณธรรมจริยธรรม
ธรรมชาติของมนุษย์ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม
ทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม
เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม
จริยธรรมของคนไทย
ค่านิยมและจรรยาบรรณ
ทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม
ทฤษฏีของเพียเจต์
(Piaget is Theory of lntellectual Development)
เพียเจต์ ( Piaget, 1932 : 9-55 )
เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่
พัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ
และพัฒนาการของมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับพัฒนาทางสติปัญญาของบุคคลนั้น เพียเจต์ (
Piaget ) ได้แบ่งขั้นตอนของพัฒนาสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นคือ
1. ขั้นรับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor operation)
2. ขั้นเริ่มคิดด้วยปัญญา (pre-operational thinking)
3.
ขั้นคิดด้วยรูปธรรม (concrete operational thinking)
4. ขั้นคิดตามแบบแผนของตรรกวิทยา (formal prepositional thinking or formal
operational thinking)
จากพัฒนาการทางสติปัญญาทั้ง 4 ขั้นนี้ เพียเจต์ ( Piaget)
ได้นำมาเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งขั้นพัฒนาจริยธรรมออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้
ระดับพัฒนาทางสติปัญญา
1. ขั้นรับรู้จากประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (sensorimotor operation) อายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 ขวบ
2. ขั้นเริ่มคิดด้วยปัญญา (pre-operational thinking) และขั้นเริ่มคิดด้วยรูปธรรม (early concrete operational thinking) อายุประมาณ 2-7 ปี
3. ขั้นคิดค้นด้วยรูปธรรมในช่วงปลาย (late concrete operational thinking) อายุ 7-11 ปี ถึงขั้นคิดตามแบบแผนของตรรกวิทยา (formal operational thinking) อายุตั้งแต่ 11 ปี ขึ้นไปถึง 15 ปี
ระดับพัฒนาทางจริยธรรม
1. ขั้นก่อนจริยธรรม เป็นชั้นที่ยังไม่มีความสามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมได้อย่างละเอียด มีแต่ความต้องการทางร่างกาย
2. ขั้นยึดคำสั่ง ในขั้นนี้เด็กจะรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมและบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น รู้จักเกรงกลัวผู้ใหญ่ เห็นว่าคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม
3. ขั้นยึดหลักแห่งตน เด็กสามารถใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลประกอบการตัดสินใจและตั้งเกณฑ์ที่เป็นตัวของตัวเอง
ผลจาการวิจัยในระยะต่อมา เพียเจต์ ( Piaget) ได้ตั้งเกณฑ์การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมไว้ 6 เกณฑ์ คือ
1. การตัดสินจากเจตนาการกระทำ (intentional in judgment) เด็กเล็กจะตัดสินการกระทำจากปริมาณสิ่งของ ส่วนเด็กโตจะตัดสินจากเจตนาของการกระทำ
2. การตัดสินเกี่ยวโยงกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Relativism in Judgment) เด็กเล็กจะตัดสินการกระทำโดยยึดเอาความเชื่อความเห็นของผู้ใหญ่ว่าดี ส่วนเด็กโตจะยึดเอาเหตุผลและสถานการณ์ประกอบการตัดสิน
3. ความเห็นอิสระจากการลงโทษ (independent of sanction) เด็กเล็กจะตัดสินว่าการกระทำใดไม่ดีจากการกระทำใดไม่ดีจากการถูกทำโทษ แต่เด็กโตจะตัดสินการกระทำใดไม่ดี เพราะสิ่งนั้นไปขัดกับเกณฑ์และเกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น
4. ใช้วิธีการแก้แค้น (use of reciprocity) วิธีนี้เด็กเล็กใช้น้อยกว่าเด็กโต
5. การลงโทษเพื่อตัดสินนิสัย (use of punishment as restitution and reform) เด็กเล็กจะสนับสนุนการลงโทษอย่างหนักเพื่อแก้นิสัย แต่เด็กโตไม่ค่อยเห็นด้วย
6. หลักธรรมชาติของความโหดร้าย (nationalist of misfortune) เด็กเล็กจะถือว่าการกระทำผิดจะต้องได้รับการลงโทษจากพระเจ้า
จากที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่าตามแนวคิดของเพียเจต์ ( Piaget) เด็กเล็กจะมองกฎเกณฑ์ว่าเป็นสิ่งจริงจัง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ( absolute) และมาจากอำนาจภายนอก ( external) หมายความว่า พัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กเล็กจะอยู่ในลักษณะผิดว่ากันไปตามสิ่งที่สังเกตเห็นได้ โดยมิได้คำนึกถึงเจตนาของผู้กระทำ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากการใช้ภาษา และความคิดของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric) ทำให้ไม่สามารถมองเห็นหลาย ๆ สิ่งได้ ในเวลาเดียวกัน เมื่อเด็กโตขึ้นอายุประมาณ 11-12 ปี พัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กวัยนี้จะมีการเชื่อมโยงหาเหตุผล เด็กจะคำนึงถึงเจตนาของผู้ทำมากกว่าสิ่งที่สังเกตได้เฉพาะหน้า เนื่องจากเด็กวัยนี้สามารถมองหลาย ๆ สิ่งได้ในเวลาเดียวกัน เด็กโตจึงสามารถเข้าใจถึงเจตนาของผู้อื่นและสามารถยืดหยุ่นเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ได้ โดยตระหนักว่ากฎเกณฑ์เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างบุคคลในการควบคุมพฤติกรรมในแต่ละสถานการณ์เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกฎเกณฑ์ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆได้
ทฤษฏีของเพียเจต์ (Piaget is Theory of lntellectual Development)
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kolberg)
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
ทฤษฏีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow is Theory of Need Gratification)