ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

จริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
แนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางคุณธรรมจริยธรรม
ธรรมชาติของมนุษย์ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม
ทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม
เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม
จริยธรรมของคนไทย
ค่านิยมและจรรยาบรรณ

แนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางคุณธรรมจริยธรรม

แนวคิด หลักการ ทฤษฏี รวมทั้งหลักคำสอนทางศาสนาต่างๆ มีอยู่มากมาย ผู้บริหารควรศึกษาน้อมนำมาพิจารณาเป็นแนวทางปฏิบัติตนและการดำเนินงาน หลักคำสอนที่จะนำมาพอเป็นตัวอย่างต่อไปนี้มีทั้งจากคำสอนทางศาสนา หลักปรัชญา แนวคิดของนักปราชญ์ทั้งในอดีตกาล และแนวใหม่ ทั้งของทางตะวันตก และตะวันออก รวมทั้งของไทยดังนี้

โสคราตีส (Socrates) กล่าวถึงคุณธรรมว่า คุณธรรมคือความรู้ (virtue is knowledge) การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับศีลธรรม จริยธรรม คือการแสวงหาคุณธรรม เพราะคุณธรรมคือความรู้ที่แท้จริง ถ้าบุคคลรู้และเข้าใจถึงธรรมชาติของความดีจริงๆ แล้ว เขาจะไม่พลาดจากการประกอบความดีละเว้นความชั่ว คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์มี 5 ประการ คือ

1. ปัญญา หรือความรู้ (wisdom) หมายถึง รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี
2. การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (duty) คือ การทำความดี การเคารพยกย่องสิ่งที่ควรเคารพ เช่นพระผู้เป็นเจ้า พระธรรม การปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา
3. ความกล้าหาญ (courage) คือกล้าในสิ่งควรกล้าและกลัวในสิ่งควรกลัว
4.การควบคุมตนเอง (self control หรือ temperance) คือ การใช้ปัญญาควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก
5.ยุติธรรม (justice) คือการปฏิบัติต่อผู้อื่น และต่อตนเองอย่างเหมาะสม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

เพลโต ( Plato) กล่าวว่า คุณธรรม คือ การปฏิบัติที่ดีตามหน้าทีของวิญญาณ และคุณธรรมไม่สารถเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ เพราะมนุษย์จะต้องรู้ว่าเขากำลังทำอะไร เพื่ออะไร และทำอย่างไร คุณธรรมจึงเกิดขึ้นจากความรู้ ไม่ใช่ความรู้ทฤษฏี แต่เป็นความรู้ที่มาจากการปฏิบัติจริง คุณธรรมตามแนวคิดของเพลโต มี 4 ประการ คือ

1. ปัญญาหรือความรู้ (wisdom) คือการหยั่งรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรประพฤติหรือไม่ควรประพฤติ
2. ประมาณ (temperance) คือ การรู้จักควบคุมตัวเองให้อยู่ในขอบเขตของจุดมุ่งหมายชีวิต มีความรับผิดชอบ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง
3. กล้าหาญ (courage) คือ กล้าเสี่ยงต่อความยากลำบาก อันตราย เพื่ออุดมการณ์ของตนเอง หรือด้วยความมั่นใจว่าได้กระทำดีที่สุดแล้ว
4. ยุติธรรม (justice) คือการให้แก่ทุกคนอย่างเหมาะสม เช่น การให้แก่ตนเอง ครอบครัว มิตรสหาย ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างมีเหตุผลอันควร

อริสโตเติล (Aristotle) ได้นำคุณธรรมของเพลโต ( Plato) มาอธิบายว่าคุณธรรม ได้แก่ การเดินสายกลางระหว่างความไม่พอดีกับความพอดี หรือคุณธรรมคือความพอดีพองาม ไม่เอียงสุดไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความกล้าหาญจะอยู่ระหว่างความบ้าบิ่นกับความขลาด ความสุภาพอยู่ระหว่างความขี้อายกับความไร้ยางอาย และความเอื้อเฟื้ออยู่ระหว่างความฟุ่มเฟือยกับความตระหนี่ คุณธรรมจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. คุณธรรมทางสติปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณที่มีเหตุผล และหน้าที่ของวิญญาณคือการรู้และค้นหาความจริงนั่นเอง

2. คุณธรรมทางศีลธรรม เป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณ อยู่ในรูปคำสอน ละมุ่งเพื่อความดีงาม คนมีคุณธรรมก็คือคนที่มีความพอดี ทำด้วยเจตนาดี มีเหตุผล เห็นแก่ส่วนรวม อริสโตเติลเสนอคุณธรรมพิเศษไว้ 4 ประการ คือ มิตรภาพ ประมาณ กล้าหาญ และยุติธรรม

หลักจริยธรรมของขงจื้อ
หลักจริยธรรมของศาสนาชินโต
หลักจริยธรรมของศาสนาเชน
หลักจริยธรรมของศาสนาเต๋า
หลักจริยธรรมของศาสนาคริสต์
หลักจริยธรรมของศาสนาอิสลาม
หลักพุทธจริยศาสตร์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย