ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

โสกราตีส

รากเหง้าเหตุผลและศีลธรรมตะวันตก

สมเกียรติ ตั้งนโม


ความคิดเห็นโดยทั่วไป
ชีวิตของโสกราตีส
แนวความคิดต่างๆ
จริยศาสตร์
สกุลความคิดรองของโสกราตีส

สกุลความคิดรองของโสกราตีส

คำสอนของโสกราตีสมีประเด็นหลักๆอยู่ 2 ประเด็นด้วยกันคือ อันแรกเป็นเรื่องของแนวความคิด ส่วนอันที่สองคือเรื่องของศีลธรรมหรือจริยธรรม แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าลูกศิษย์ของโสกราตีสทั้งหมดจะบรรลุถึงความเข้าใจในความล้ำลึกเกี่ยวกับคำสอนของปรมาจารย์ของพวกเขา

สานุศิษย์เป็นจำนวนมาก แรกเริ่มเดิมทีได้ร่ำเรียนกันมาจากบรรดาพวกโซฟิสท์ หรือไม่ก็มาจากสำนัก Eleatics, และพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จในการเอาชนะ หรือดำรงตำแหน่งสถานะทางสังคมในช่วงเริ่มต้นของพวกเขา และในการเข้าใจและรู้ซึ้งความหมายเกี่ยวกับแนวความคิดของโสกราตีสในความบริสุทธิ์ของมัน พวกเขาเชื่อว่า แนวความคิดของโสกราตีสไม่ได้แตกต่างไปจาก Protagoras มากนัก ซึ่งกล่าวว่า "มนุษย์คือมาตรวัดของสรรพสิ่ง"( man -- measure-of-all-things) และในเรื่องคำสอนเกี่ยวกับ"ความดี"ก็เป็นอย่างเดียวกันกับคำสอนเรื่องนี้ของ Parmenides

ทายาทหรือผู้สืบทอดมรดกทางจิตวิญญาณของ"โสกราตีส"คือ"เพลโต" ผู้ซึ่งอยู่ในอคาเดมีและได้นำพาคำสอนของปรมาจารย์ไปสู่การพัฒนาจนถึงขีดสูงสุดของมัน

คนอื่นๆ ภายหลังจากที่โสกราตีสถึงแก่กรรม ได้หวนกลับไปยังบ้านเกิดของตนเอง และได้เปิดสำนักความรู้ต่างๆขึ้นมา โดยการสอนสิ่งซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงการหวนกลับไปสู่คำสอนของพวกโซฟิสท์หรือเอเลียติค(Eleatic). สำนักความรู้เหล่านี้ถูกเรียกว่าสำนักความคิดรองของโสกราตีส(Minor Socratic Schools) ที่เรียกว่า Socratic ก็เพราะว่า หลังจากตัวอย่างต่างๆของโสกราตีส พวกเขาได้ให้ความสนใจในความรู้เกี่ยวกับศีลธรรม; และที่เรียกว่า Minor ก็เพราะ ความคิดของโสกราตีสไม่ได้รับการอธิบายเพื่อคุณความดีของตัวมันเอง แต่โดยการที่เอียงไปสู่ตำแหน่งเดิมต่างๆนั่นเอง

สำนักความคิดชั้นรองมีอยู่ด้วยกัน 4 สำนักคิดคือ
1. The Megarian, ก่อตั้งขึ้นมาโดย Euclid แห่ง Megara
2. The Elian, ก่อตั้งขึ้นมาโดย Phaedo
3. The Cynic; และ
4. The Cyrenaic

ในที่นี้เราจะมาอธิบายถึงหลักการต่างๆของสำนักคิดสองสำนักคิดสุดท้าย ซึ่งทั้งสองสำนักนี้ได้ยึดครองความสำคัญที่แท้จริงมา นับตั้งแต่ที่มันได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นบรรพบุรุษทางประวัติศาสตร์และคำสอนที่เป็นอนุสาวรีย์ทางความคิดอื่นอีกสองสำนักความคิด แห่ง Grecian ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก - นั่นคือ stoicism และ Epicureanism.

สำนักความคิดไซนิค
สำนักความคิดนี้ได้รับการเปิดสอนขึ้นมาโดย Antisthenes, ผู้ซึ่งเป็นสานุศิษย์คนแรกของ Gorgias และภายหลังได้มาเป็นสานุศิษย์ของโสกราตีส เขาได้สอนอยู่ที่ Cynosarges แห่งเอเธนส์ ด้วยเหตุดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่า Cynic

Antisthenes สอนว่า ความรู้(knowledge - [cognition การรับรู้]ไม่อาจไปพ้นจากข้อมูลของผัสสะต่างๆ และในเมื่อ"ประสาทสัมผัส"ต่างๆเป็นเรื่องของ"ปัจเจก" เขาจึงสรุปว่า "มีเพียงปัจเจกเท่านั้นที่เป็นจริง" ยิ่งไปกว่านั้น ดังเช่นที่ปัจเจกชนทุกคนมีแก่นแท้ของตัวเองและไม่มีอื่นอีก Antisthenes จึงลงความเห็นว่า ความผิดพลาดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และในท้ายที่สุด ทุกนิยามความหมายจึงเป็นไปไม่ได้(Antisthenes inferred that error is impossible and finally every definition is impossible.)



ด้วยเหตุนี้ อะไรคือแนวคิดต่างๆที่โสกราตีสได้สนทนาถึง ? คำตอบง่ายๆก็คือ คำนามต่างๆ(nouns). Antisthenes คือผู้อาศัยประสบการณ์และการสังเกต และสำหรับเรื่องราวที่เกี่ยวกับเขานั้นได้รับการเล่าขานว่า เขาได้มีการปะทะคารมกับเพลโตครั้งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องแนวความคิดต่างๆ เขากล่าวว่า:

"โอ้! เพลโต ฉันเห็นม้าตัวหนึ่ง แต่ความเป็นม้า(horseness) ฉันมองไม่เห็นมัน"

เพลโตตอบว่า: "ท่านมิได้เห็นความเป็นม้า เพราะท่านไม่มีอะไรเลย เว้นแต่ลูกตาเฉยๆที่ติดมากับร่างกาย"

ในทางจริยศาสตร์ คุณงามความดี(virtue)มิใช่หนทางที่ทำให้บรรลุถึงสิ่งที่ดี(good) แต่มันคือสิ่งที่ดีในตัวของมันเอง. ในเมื่อคุณงามความดีคือสิ่งที่ดี ดังนั้นความชั่วร้าย(vice)จึงเป็นสิ่งที่ชั่ว(evil)ในตัวมันเองด้วย. ทว่าคุณงามความดีมันเกิดขึ้นมาจากอะไร? ในความคิดแบบเอกาธิปไตย(autarchy) ยกตัวอย่างเช่น ในการครอบครองเหตุผลของคนๆหนึ่ง ซึ่งบอกกับเราถึงความพึงพอใจต่างๆ ความร่ำรวย และทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกเรียกว่าอารยธรรมของคนๆหนึ่งคือสิ่งชั่วร้าย ที่มันเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายเพราะ มันทำให้รู้สึกถึงความต้องการเหล่านั้น.

โดยเหตุนี้ แนวคิดของไซนิค จึงแยกตัวออกไปต่างหากจากสังคม และดำรงอยู่อย่างมนุษย์ในยุคบุพกาลด้วยสิ่งของที่จำเป็นเพียงไม่กี่อย่าง และสิ่งที่ไม่กี่อย่างเหล่านี้มันได้มาจากธรรมชาตินั่นเอง ระหว่างธรรมชาติกับสังคมอย่างที่เรารู้กัน โดยความสุขสบายทั้งหมดของชีวิต มันมีความแตกต่างเช่นเดียวกันกับเรื่องระหว่างคุณงามความดี และความชั่วร้าย. การดำรงชีวิตอยู่โดยความเข้าใจธรรมชาติ นั่นคือ แบบจำลองของชีวิตแบบไซนิค

บุคคลซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของสำนักความคิดไซนิคคือ Diogenes แห่ง Sinope. ลัทธิไซนิคเป็นปฏิกริยาอันหนึ่งระหว่างชนชั้นที่ยากจนกับชนชั้นสูงที่ตรงข้ามกัน; โดยที่ปฏิกริยาดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาในนามของธรรมชาติ

สำนักความคิดไซเรนเนียค
สำนักความคิดนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาที่เมือง Cyrene, ซึ่งในช่วงวันเวลานั้นมันเป็นส่วนหนึ่งของลิเบีย(อยู่ทางแอฟริกาตอนเหนือ) ก่อตั้งขึ้นมาโดย Aristippus ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาเป็นสานุศิษย์ของโสกราตีส เขาได้เคยฟังการบรรยายของ Protagoras.

ในเรื่องของการรับรู้ สำหรับ Aristippus แล้ว เพียงประสาทสัมผัสต่างๆส่วนตัวเท่านั้นจึงเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้; อันนี้เป็นการแสดงนัยะว่า ขอบเขตของความรู้นั้น ได้ถูกจำกัดอยู่ที่การรับรู้(cognition)ของสภาวะหนึ่งภายหลังอีกสภาวะหนึ่ง ซึ่งตัวตน(ตัวรับ)ได้สังเกตตัวของตัวเองในฐานะประสาทสัมผัสต่างๆ ดังนั้นพวกเราจึงเป็นอายตนะนิยมอันบริสุทธิ์(pure sensism) ตามสิ่งซึ่งความจริงเป็น แต่ก็เป็นความต่อเนื่องของปรากฎการณ์อัตวิสัย โดยไม่มีความสัมพันธ์อะไรเลยกับวัตถุภายนอกใดๆ

สำหรับ Aristippus ไม่มีเรื่องของเมตาฟิสิกส์หรือสิ่งที่เหนือจากความจริงทางกายภาพ ในเมื่อตัวตนยังคงแนบชิดอยู่กับเรื่องประสาทสัมผัสต่างๆ

เกี่ยวกับเรื่องของจริยศาสตร์ บรรดานักคิดสำนักไซเรนเนียน ค่อนข้างจะตรงข้ามกับพวกไซนิค นั่นคือ พวกเขายืนยันว่า คุณงามความดีมีไว้เพื่อความพึงพอใจ ส่วนความชั่วร้ายดำรงอยู่ในความเจ็บปวด. ตามหลักตรรกะอันนี้ของพวกเขา คุณงามความดีจึงเป็นผัสสะที่ให้ความพึงพอใจ และความชั่วร้ายเป็นผัสสะที่เกี่ยวกับความเจ็บปวด

บรรดานักคิดไซเรนเนียนมีทฤษฎีของพวกเขาเกี่ยวกับประสาทสัมผัสอันหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. สิ่งที่ให้ความพอใจ(pleasant)
2. สิ่งที่ให้ความเจ็บปวด(painful) และ
3. เฉยๆ(indifferent)

คนฉลาดจะพยายามแสวงหาหนทางที่ไกลห่างจากสิ่งที่ให้ความเจ็บปวด หรือพยายามลดมันลงมาให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะที่เขาจะเปลี่ยนความเป็นกลางหรือความรู้สึกเฉยๆไปสู่ผัสสะของความพึงพอใจต่างๆ

ในด้านหนึ่งนั้น คุณงามความดีมีไว้เพื่อน้อมนำให้ตัวเองไปสู่สภาวะทางอารมณ์ต่างๆที่สุภาพอ่อนโยนมากเท่าที่จะเป็นไปได้. เนื่องจากเหตุนี้ มันจึงไม่ใช่สภาวะของการยอมจำนนหรือเป็นฝ่ายรับ(passive) ผัสสะที่น่าพอใจซึ่งมีคุณงามความดีประกอบอยู่ แต่ในทางสูงสุดมันพยายามที่จะปกป้องตัวเองให้ปลอดภัยและดำรงอยู่กับความพึงพอใจในระดับสูงสุด (อันนี้ได้รับการเรียกขานว่า ลัทธิสุขนิยมพลวัต - dynamic hedonism)

คนฉลาดจะต้องพยายามธำรงความเป็นนายให้อยู่เหนือตัวของเขาเอง ขณะเดียวกันก็จะต้องดำรงอยู่ในแก่นกลางของความพึงพอใจ. เขาจักต้องครอบครองมันแต่จะต้องไม่ถูกมันยึดครอง ดังที่ Horace ได้กล่าวเอาไว้เช่นนั้น. ในสภาวะที่เลิศสุด นักคิดไซเรนเนียนที่เฉลียวฉลาดจะเป็นคนที่มีความสุข ซึ่งได้ค้นพบข้อจำกัดหนึ่งเพียงในเรื่องของเหตุผลเท่านั้น

บรรดาสานุศิษย์ของ Aristippus ได้พัฒนาสิ่งกระตุ้นในเรื่องของเหตุผลไปไกลเกินกว่าความพึงพอใจทีรับรู้ได้อย่างฉับพลัน และถูกทำให้สิ้นสุดลงโดยการสรุปของ Theodore ผู้ไม่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า(Atheist) ว่า "ไม่มีอะไรที่ดำรงอยู่เลย เว้นแต่ความพึงพอใจ". ส่วนคนอื่นๆ อย่างเช่น Hegesias, ผู้เชื้อเชิญความตาย ได้มาสู่ข้อสรุปที่ว่า "ชีวิตเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่โดยไม่มีราคาค่างวดอะไรเลย ถ้าเผื่อว่ามันขาดแคลนซึ่งความพึงพอใจ"

นั่นคือสองตัวอย่างของสำนักทางความคิดรองแบบโสกราตีส(Minor Socratic Schools) ส่วนสำนักทางความคิดแบบโสกราตีสที่ยิ่งใหญ่สุดนั้น หรืออ้างถึงสำนักทางความคิดหลักแบบโสกราตีส(Major Socratic School) ก็คือ"อคาเดมี"ของเพลโต(the Academy of Plato) ซึ่งความคิดหลักต่างๆได้ดำรงอยู่อย่างใกล้ชิดมากกับเจตนาดั้งเดิมของคำสอนของโสกราตีส

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย