ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

โสกราตีส

รากเหง้าเหตุผลและศีลธรรมตะวันตก

สมเกียรติ ตั้งนโม


ความคิดเห็นโดยทั่วไป
ชีวิตของโสกราตีส
แนวความคิดต่างๆ
จริยศาสตร์
สกุลความคิดรองของโสกราตีส

แนวความคิดต่างๆ

หลักคำสอนของโสกราตีส สามารถที่จะได้รับการสรุปลงได้ด้วยคำเพียงสองคำคือ แนวความคิดต่างๆ(concepts), ศีลธรรม(morality) - หรือที่ดีกว่า ควรจะเป็น แนวความคิดต่างๆทางศีลธรรม

สำหรับโสกราตีส แนวความคิดคือสิ่งซึ่งเกี่ยวกับความคิดทั้งหมด เมื่อพวกเขาได้พูดถึงสิ่งๆหนึ่ง กล่าวคือ ในส่วนที่เป็นเรื่องของเหตุผลของคนทุกๆคน มันมีความนึกคิดต่างๆดำรงอยู่ ซึ่งต่างมีอยู่ร่วมกันทั้งหมด และด้วยเหตุนี้จึงมีความพอใจและความเพลิดเพลินอย่างเป็นสากลและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และแนวความคิดนั้น มันเป็นรูปแบบอันเป็นรากฐานของความเข้าใจหรือความรู้ที่แท้จริง(For Socrates, the concept is that of which all think when they speak of a thing. In the rational part of every man there exist some notions which are common to all and hence enjoy universality and necessity, and which form the substratum of true understanding or knowledge).

แนวความคิดเกี่ยวกับสิ่งซึ่งบรรดาโซฟิสท์ทั้งหลายพูดคุยกันนั้น มันเป็นเพียงความคิดเห็นเท่านั้น(an opinion) หรือเป็นเพียงความรู้ชั่วแล่น(a fleeting instant of knowledge). โสกราตีสไม่ได้ประเมินคุณค่าความรู้นี้ว่าต่ำแต่อย่างใด แต่ก็ไม่ได้พิจารณามันว่าเป็นความรู้ที่สมบูรณ์; สำหรับความรู้ที่แท้นั้น ควรจะดีพอที่จะสถาปนาขึ้นมาเพื่อรับใช้ในฐานะที่เป็นรากฐานของศาสตร์

ศาสตร์ที่แท้(true science)เป็นสิ่งสากล; นั่นคือ มันเป็นของร่วมกันหรือสาธารณะกับมนุษย์ทุกคนและเป็นเช่นนั้นตลอดเวลา; มันเป็นเรื่องของภาววิสัย(objective), ไม่ใช่เรื่องของอัตวิสัย(subjective)ที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามชะตากรรม. ศาสตร์ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากความเข้าใจโดยผ่านแนวความคิดต่างๆ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่เป็นสากลเช่นเดียวกันกับศาสตร์ในตัวมันเอง

เพื่อเข้าถึงความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดต่างๆเหล่านั้น โสกราตีสได้ใช้วิธีการสนทนาแบบอุปนัย(inductive method - เป็นวิธีการพิสูจน์โดยอ้างประสบการณ์เฉพาะหน่วยที่แน่ใจแล้ว สนับสนุนข้อความทั่วไปที่ยังไม่แน่ใจให้มีความแน่ใจมากขึ้น) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิธีการของโสกราตีส(Socratic method), ส่วนประกอบที่สำคัญของมัน มีอยู่สองส่วนคือ การเหน็บแนม(irony), และการซักถามที่เป็นการสืบสวน(maieutics). โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการดังกล่าวมีลักษณะเป็นดังต่อไปนี้

  • อันดับแรก โสกราตีสจะยกคำถามขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น "อะไรคือความยุติธรรม?" เมื่อเขากล่าวออกมาเช่นนั้น เป็นเพราะตัวเขาเองไม่รู้ว่าความยุติธรรมมันเป็นอย่างไรกันแน่(อันนี้คือ การไม่รู้ของโสกราตีส - Socratic ignorance), เขาจะถามนักเรียนของเขาถึงสิ่งที่พวกเขาคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม
  • บรรดานักเรียนทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกโซฟิสท์จะตอบคำถามไปตามวิธีการของพวกโซฟิสท์ โดยอ้างอิงตัวอย่างต่างๆมากมาย ยกตัวอย่างเช่น "เทพเจ้าซีอุสคือความยุติธรรม"; "เทพเจ้าต่างๆล้วนคือความยุติธรรม" ฯลฯ. (อันนี้ยกเป็นตัวอย่าง). "โอ้, จำนวนความยุติธรรม!" โสกราตีสร้องทัก. "ฉันถามว่าอะไรคือความยุติธรรม แต่พวกเธอกลับตอบฉันถึงความยุติธรรมจำนวนมาก"

 

  • ด้วยเหตุนี้ เขาได้ผ่านไปสู่การวิจารณ์(เหน็บแนม)เกี่ยวกับตัวอย่างต่างๆที่อ้างขึ้นมา โดยการที่เขามีความชัดเจนต่อความคิดต่างๆที่มีอคติของบรรดาสานุศิษย์ของเขา และความคิดที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคำถามที่นำมาถาม
  • จากการใช้วิธีการเหน็บแนม(irony) เขาจะผ่านไปสู่การตั้งคำถามในเชิงสืบสวน(maieutics) - ศิลปะซึ่งโสกราตีสใช้พูด เขาได้เรียนรู้มาจากแม่ของเขา ซึ่งเธอได้ช่วยเหลือในส่วนของร่างกาย ส่วนเขาได้ทำในส่วนที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณให้สมบูรณ์ขึ้น. (คำว่า maieutics นี้ได้รับการสืบทอดมาจากคำศัพท์ภาษากรีก" maieutikos," ซึ่งเป็นเรื่องของการผดุงครรภ์ หรือการคลอด). วิธีการตั้งคำถามในเชิงสืบสวน(maieutic)เป็นวิถีทางของโสกราตีสในการทำให้ความคิดต่างๆที่แฝงเร้นอยู่ในจิตใจได้เผยตัวหรือคลอดออกมา
  • การตั้งคำถามแบบสืบค้นเป็นส่วนของข้อสรุปของการสนทนา ซึ่งโสกราตีสพยายามที่จะทำให้สานุศิษย์ของเขามองเห็นว่ามันเป็นอย่างไร โดยการสะท้อนความคิดและการไตร่ตรองตัวของพวกเขาเอง พวกเขาสามารถสังเกตเห็นการมีอยู่ของธาตุแท้บางอย่างที่มีอยู่ร่วมกัน และจำเป็นต่อความยุติธรรมทั้งหมด (แนวความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม)

ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า การสนทนาของโสกราตีสไม่ได้ประสบผลสำเร็จในการนิยาม หรือทำให้นิยามความหมายมีความคงที่เสมอไป. ในหลายๆกรณี สิ่งที่เรียกว่า การไม่รู้ของโสกราตีส(Socratic ignorance) ซึ่งโสกราตีสได้สารภาพออกมานับจากเริ่มต้นของการตั้งคำถาม ไม่ใช่การโกหก. ดังนั้นการสนทนาจึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง กระทำโดยการช่วยเหลือของนักเรียนทั้งหลายเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ถ้าเป็นไปได้ว่า มันก็จะนำพาไปสู่แนวความคิดหนึ่งได้ - นั่นคือความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับคำถามที่เสนอขึ้นมา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย