ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

โสกราตีส

รากเหง้าเหตุผลและศีลธรรมตะวันตก

สมเกียรติ ตั้งนโม

ความเชื่อตามจารีตของชนชาวกรีกโบราณ พวกเขาเชื่อว่า บ้านเมืองต่างๆของพวกเขานั้นได้รับกฎเกณฑ์ต่างๆมาจากเทพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ปกป้องบ้านเมือง และความสุขหรือความดีที่เกิดขึ้น มาจากการดำเนินชีวิตไปตามกฎเกณฑ์เหล่านั้น และต่างยอมรับหลักการของมันเช่นเดียวกับการยอมรับเทพเจ้าและเป็นเช่นนั้นชั่วนิรันดร์ แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาพวกโซฟิสท์ทั้งหลายกลับมีความสงสัยต่อศรัทธาอันนี้อย่างถึงราก

เช่นดั่งในกรณีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ โดยการปกปักษ์รักษาแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม พวกเขาพากันยุติความขี้สงสัย รวมไปถึงข้อกังขาเกี่ยวกับปัญหาหรือคำถามที่มีต่อศีลธรรมด้วย และด้วยการมีอคติเกี่ยวกับเรื่องของอัตวิสัย(subjective) พวกเขาได้ยุติแนวคิดอรรถประโยชน์นิยม(utilitarianism - การถือเอาประโยชน์เป็นสำคัญ)และสุขนิยม(hedonism)ลงด้วย ทั้งนี้เพราะ นั่นคือสิ่งที่ดีซึ่งสนองความพึงพอใจระดับสัญชาตญานและกิเลสของคน

ความเชื่อในหลักการต่างๆอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจริยาศาสตร์ ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาในหมู่ชนชาวกรีกนั้น บรรดาพวกโซฟิสท์ทั้งหลายถือว่าเป็นอคติอย่างหนึ่ง และบ่อยครั้งเป็นการขัดขวางหน่วงเหนี่ยวชีวิตด้วย ซึ่งมันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องขจัดออกไป

บรรดาโซฟิสท์ทั้งหลายยังเห็นว่า "ความดี" เช่นที่แสดงให้เห็นผ่านประสบการณ์ เกิดจากความมั่นคงของตนเองที่ได้มีการสั่งสม เป็นเจ้าของในเชิงปริมาณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงเรื่องวิธีการที่นำมาใช้เพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้นมา สำหรับความดีเหล่านี้สามารถให้ความพอใจกับสัญชาตญานต่างๆและกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นอย่างเดียวกับความสุข

ความพยายามหรือมุ่งมั่นเพื่อที่จะเพิ่มความเข้มแข็งแก่บุคลิกภาพของคนๆหนึ่งให้มากขึ้น เพื่อที่จะไปพ้นหรืออยู่เหนือคนอื่นๆในเรื่องของความรุนแรง, และในการแข่งขันหรือต่อสู้ดิ้นรนสำหรับความดีแบบทางโลก อันนี้คืออุดมคติทางศีลธรรมของพวกโซฟิสท์

บรรดาพวกโซฟิสท์ทั้งหลายยังโจมตีความเชื่อตามจารีตเกี่ยวกับ"สิทธิอันชอบธรรม"อย่างรุนแรงด้วย - ซึ่งเป็นสิ่งที่สืบทอดมาจากหลักการต่างๆที่ตั้งอยู่บนฐานของ"ความยุติธรรม" - และพวกเขาได้ทดแทนแนวคิดดังกล่าวด้วย"อำนาจ"สำหรับความยุติธรรมอันนั้น

จากช่วงขณะของการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมของผู้คนในพลังประชาธิปไตย ได้เริ่มก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายขึ้นเป็นจำนวนมาก บรรดาโซฟิสท์ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งไม่เพียงทำให้"สิทธิอันชอบธรรม"ทางการเมืองและ"ความถูกต้องชอบธรรมอื่นๆ"ขาดความน่าเชื่อถือลงไปเท่านั้น แต่ยังทำให้"สิทธิโดยธรรมชาติ"ได้ประโยชน์ด้วย

พวกโซฟิสท์ปกป้อง"สิทธิตามธรรมชาติ" แต่สิทธิตามธรรมชาติอันนี้ พวกเขาไม่ได้หมายถึงส่วนที่เป็นเรื่องของ"เหตุผล"ของมนุษย์ อันที่จริงแล้วพวกเขาหมายถึง"สัญชาตญาน"และ"กิเลสตัณหา"ของคน. ด้วยเหตุดังนั้นสำหรับพวกเขา "สิทธิ"คือสิ่งซึ่งที่ได้มาโดยการเรียกร้องตัวมันเองโดยผ่านการใช้อำนาจ หรือการบังคับเอาโดยได้รับการสถาปนาขึ้นมาจากอำนาจบังคับและความรุนแรง

มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วไม่เท่าเทียมกัน มันมีทั้งคนที่เข้มแข็งและคนที่อ่อนแอ และสิทธิชั่วคราว(the moment right)เกิดจากอำนาจ มันกลายเป็นภาระหน้าที่ของผู้ที่เข้มแข็งกว่าที่เป็นคนออกคำสั่งและสร้างกฎหมายขึ้นมา; และผู้ที่อ่อนแอจะต้องเชื่อฟัง



Thrasymachus โซฟิสท์คนหนึ่ง, ในหนังสือเล่มที่หนึ่งของ Republic ของเพลโต ยึดมั่นใน"กฎธรรมชาติคือสิทธิอันชอบธรรมของผู้ที่เข้มแข็งกว่า". คนที่เข้มแข็งนั้น ดูถูกกฎหมายทั้งหมดที่ได้รับการเสนอขึ้นมาโดยคนที่อ่อนแอในนามของความยุติธรรม และยัดเยียดเจตจำนงของเขาให้กลายเป็นสิทธิอันชอบธรรม เช่นดัง Callicles ยืนยันไว้ในเรื่อง Gorgias ของเพลโต

ในที่นี้เรากำลังอยู่ในแนวคิดสุดขั้ว ที่ได้บ่งชี้ถึงคำสอนหรือทฤษฎีทั้งหมดของพวกโซฟิสท์. แนวคิดสุดขั้วดังกล่าว กลายเป็นสิ่งที่น่ายินดีสำหรับคนหนุ่มสาวของเอเธนส์ในช่วงเวลาของ Pericles (รัฐบุรุษแห่งเอเธนส์ 495-429 BC.) คนหนุ่มสาวทั้งหมดต่างกระวนกระวายที่จะได้รับหน้าที่หรือตำแหน่ง ซึ่งจะประกันความมั่งคั่งและความสุขใจให้กับพวกเขา คำสอนของโซฟิสท์ โดยความดีที่เหนือกว่าระเบียบแบบแผนทั้งหมดของจริยศาสตร์และความยุติธรรม ได้เปิดโอกาสให้กับคนหนุ่มให้มีหนทางอันหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ และให้เหตุผลต่อการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความหลอกลวงหรือเล่ห์เพทุบายทั้งหมด และกิเลสอันรุนแรงอย่างถึงที่สุด

ด้วยเหตุดังที่ได้อธิบาย ผู้คนทั้งหลายจึงชื่นชอบและมักจะห้อมล้อมพวกโซฟิสท์บางคน อย่างเช่น Protagoras ผู้ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างผู้มีชัยชนะและอย่างรื่นเริงบันเทิงใจ ในฐานะแขกคนหนึ่งในบ้านของชาวเอเธนส์ที่มีชื่อเสียงต่างๆโดยทั่วไป

โดยเหตุดังนั้น อย่างที่ได้อธิบายมาแล้วเช่นกัน ในฐานะที่เป็นภารกิจอันสูงส่งของโสกราตีส ผู้ซึ่งได้มาฟื้นฟูคุณค่าต่างๆของความมีศีลธรรมที่ศักดิ์สิทธิ์และไม่อาจล่วงละเมิดได้ เพราะมันตั้งอยู่บนพื้นฐานของ"เหตุผล"และไม่ใช่เรื่องของ"กิเลสตัณหา"อันไม่อาจควบคุมได้ โสกราตีสได้ใช้ชีวิตที่มีอยู่ทั้งหมด และดำเนินไปอย่างไม่ไร้ประโยชน์เพื่อการนี้

ความคิดเห็นโดยทั่วไป
ชีวิตของโสกราตีส
แนวความคิดต่างๆ
จริยศาสตร์
สกุลความคิดรองของโสกราตีส

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย