สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ต้นตอของขบวนการโลกาภิวัตน์
โครงสร้างอำนาจของทุน
การปรับโครงสร้างการผลิต
บทบาทของหนี้
โครงสร้างของโลกาภิวัตน์
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองของโลก
ความเปราะบางของระเบียบโลกใหม่
อัตลักษณ์และความรู้ : การเผชิญหน้ากับอนาคต
ความล้าสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฯ
กระบวนการทางการเมืองและระเบียบโลก
พลังท้าทายของสรรพสิ่งมีชีวิต
ทางออกสู่รูปแบบใหม่ของสังคมเศรษฐกิจ
เชิงอรรถ
ความล้าสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ
พัฒนาการสำคัญที่เกิดขึ้นในแวดวงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศช่วง 10-20
ปีที่ผ่านมาคือ การเกิดขึ้นของเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ
ในฐานะเป็นส่วนเสริมแต่งให้กับทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ซึ่งแต่เดิมมุ่งไปที่ประเด็นด้านการทหารและการเมืองเป็นหลัก ในแวดวงวิชาการ
พัฒนาการดังกล่าวฉีกออกเป็น 2 แนวแทนที่จะเป็นเรื่องเดียวกัน ณ
ขณะนี้เป็นเวลาอันควรที่จะวิเคราะห์ความเป็นมาของการแบ่งแยกวิชานี้
และเสนอการมองแบบใหม่โดยรวมทั้งสองส่วนเข้าเป็นองค์ความรู้เดียวกัน
เริ่มแรกนั้น เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศได้รับความสนใจ
เพราะให้ความสำคัญกับประเด็นที่ว่า เศรษฐกิจเป็นรากฐานสำคัญของอำนาจ
แต่ประเด็นนี้มิได้มีความหมายแต่กับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศหนุนนำให้มีการเปลี่ยนแนวความคิดเรื่องระบบโลก
โดยให้ความสนใจกับประเด็นเรื่องกรอบหรือโครงสร้างมิติประวัติศาสตร์
ที่พฤติกรรมมนุษย์เกิดขึ้น
และให้ความสำคัญกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเชื่องช้าภายใต้กรอบดังกล่าว
แนวคิดดังกล่าวแตกต่างจากการเมืองว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ซึ่งมีสมมติฐานเรื่องธรรมชาติของระบบรัฐที่คงที่
และมีสมมติฐานเรื่องเศรษฐกิจที่มีลักษณะคงที่มิใช่เป็นกระบวนการ
วิธีการคิดแบบเก่าเคยมีประโยชน์ช่วยแก้ปัญหาภายใต้สภาวะสถิต
แต่มีประโยชน์น้อยในการช่วยให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลง
ทำไมผู้คนจึงจะเข้าใจสภาพของตนเองและปัญหาที่ตนประสบภายใต้ภาวะที่โลกเปลี่ยนเร็ว?
การก่อตัวขึ้นของอัตลักษณ์ที่หลากหลาย
เป็นตัวชี้ถึงความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาแล้วนั้น
ความสำเร็จของเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศมิใช่อยู่ที่ว่าได้นำเอาเรื่องเศรษฐกิจเข้ามาวิเคราะห์
แต่อยู่ที่การเปิดให้มีการเสาะแสวงหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประวัติศาสตร์อย่างวิเคราะห์วิจารณ์
จุดเน้นเรื่องประเด็นทางเศรษฐกิจเป็นเพียงปรากฎการณ์สำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่เกี่ยวกับระเบียบโลก
ความพยายามดังกล่าวนำเอาสิ่ง ใหม่ ๆ เข้ามาประกอบมิใช่แต่เรื่องเศรษฐกิจแบบแคบ ๆ
ตัวอย่างเช่นส่งเสริมให้มีการนำเอามิติความแตกต่างของหญิงชายเข้ามาวิเคราะห์ประเด็นเรื่องอำนาจ
และนัยยะต่อพฤติกรรมมนุษย์ในโลกของสิ่งมีชีวิต
นอกจากนั้นยังมีการขยายแนวคิดเรื่องความมั่นคงให้รวมมิติความแตกต่างหญิงชายและโลกของสิ่งมีชีวิต
<script async
src="//pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js"></script>
<!-- center_2559 -->
<ins class="adsbygoogle"
style="display:block"
data-ad-client="ca-pub-2716469986870548"
data-ad-slot="8796964454"
data-ad-format="auto"></ins>
<script>
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
</script>
กล่าวโดยทั่วไป เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ
เสนอวิธีการมองจากแง่มุมโครงสร้างทางประวัติศาสตร์ นั่นคือ ต้องวิเคราะห์ปัจจัยต่าง
ๆ ซึ่งมนุษย์เลือกไม่ได้แต่ก็มีผลในการสร้างประวัติศาสตร์ของมนุษย์
ดังที่มารกซ์เขียนไว้ โครงสร้างทางประวัติศาสตร์นี้
ถูกหล่อหลอมจากข้างล่างขึ้นข้างบน
โดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบส่วนย่อยของสังคมเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ
ยังได้นำการวิพากษ์ตนเอง การทบทวนสภาพของตนเอง การตระหนักถึงว่า
แห่งที่จุดยืนของเรา ณ ช่วงเวลาและสถานที่หนึ่ง ๆ และโครงสร้างของ
สังคมเป็นปัจจัยกำหนดความเข้าใจประวัติศาสตร์ของเรา การปฏิวัติวิธีคิดดังที่กล่าวมา
ทำให้เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบเดิม ๆ
ล้าสมัยหรือใช้ไม่ได้
เป็นการปูทางสู่ความรู้ที่รอบด้านเกี่ยวกับกระบวนการของระเบียบโลกที่เป็นองค์รวมมากขึ้นกว่าเดิม
การเสาะหารูปแบบความรู้เป็นองค์รวมที่มีความครอบคลุมก้าวไปไกล
เกินขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ
โดยท้าทายวิชาอื่น ๆ ด้วย
การวิเคราะห์ว่าความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นรากฐานของอำนาจทางการเมืองและต้นเหตุของความขัดแย้ง
ทำให้มองเห็นว่าการแยกการเมืองเปรียบเทียบออกจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ
แน่นอนเราไม่อาจศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างและบางท่านรู้เรื่องการเมืองเปรียบเทียบดีกว่ากิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการทูตและการเจรจาหลายฝ่าย
ถ้าจะเข้าใจระเบียบโลกหรือพัฒนาการของเขตภูมิภาคแล้ว
ก็จำเป็นจะต้องผนวกความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอำนาจภายในสังคม
และความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่ถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ทางสังคมที่ว่ามานั้น
นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องข้ามพ้นการผูกติดอยู่กับกรอบของศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง
นั่นคือต้องนำความรู้ด้านประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ อีกนัยหนึ่ง
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ทั้งหมดเข้ามาประกอบกัน