ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เอตทัคคะ

พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะ : อธิบายความย่อให้พิศดาร

เดิมชื่อว่า กัญจนมาณพ เป็นชื่อที่มารดาตั้งให้ เพราะทารกนั้นมีผิวกาย เหมือนทองคำ แต่คนทั่วไปเรียกตามโคตรว่า กัจจานะ หรือ กัจจายนะ

บิดาชื่อ ติริฏิวัจฉะ มารดาชื่อว่า“จันทนปทุนา” เป็นวรรณะพราหมณ์กัจจายนโคตรบิดาเป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี เรียนจบไตรเพทได้รับหน้าที่เป็นปุโรหิตแทนบิดา

พระเจ้าจัณฑปัชโชติ ทราบข่าวการอุบัติเกิดขึ้นของพระพุทธองค์ จึงมอบหมายให้กัจจายนะพร้อมกับผู้ติดตามอีก 7 คนไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล เมื่อได้ฟังธรรมแล้วก็บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ยังเป็นฆราวาส แล้วจึงขอบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในการขยายเนื้อความย่อให้พิสดาร

พระมหากัจจายนเถระ ทำประโยชน์ของตนให้สำเร็จอย่างนี้แล้ววันหนึ่งจึงกราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจัณฑปัชโชต ปรารถนาจะไหว้พระบาทและฟังธรรมของพระองค์ พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า กัจจายนะ เธอนั่นแหละจงไปในวังนั้น เมื่อเธอไปถึงแล้วพระราชาจักทรงเลื่อมใส พระเถระพร้อมกับภิกษุอีก 7 รูป ได้ไปยังพระราชวังนั้นตามพระบัญชาของพระศาสดา ได้ทำให้พระราชาทรงเลื่อมใส แล้วได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ในอวันตีชนบทเรียบร้อยแล้ว จึงได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาอีก ปกรณ์ ทั้ง 3 คือ กัจจายนปกรณ์ มหานิรุตติปกรณ์และเนตติปกรณ์ได้ปรากฎขึ้นในท่ามกลางสงฆ์เพราะความปรารถนาในอดีตของท่าน

ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่เมืองกุรฆระแคว้นอวันตี ภูเขาปวัตตะ เมืองกุรฆระ ซึ่งเป็นชายแดนที่มีผู้เลื่อมใสมากใคร่จะบวชศิษย์ที่ชื่อว่า“โสณกุฏิกัณณะ” แต่หาพระมาให้ครบจำนวนที่จะบวชไม่ได้ จึงรออยู่ถึง 3 ปี จึงบวชได้ เมื่อบวชแล้ว ก็อยากจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระมหากัจจายนะจึงฝากความไปทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบ และแก้ไขพุทธบัญญัติ คือ การบวชในปัจจันตชนบท มีพระสงฆ์ครบจำนวน 5 รูป ก็บวชได้ และ

พระมหากัจจายนเถระ เป็นผู้ฉลาดสามารถในการอธิบายคำที่พระศาสดาตรัสไว้ โดยย่อให้พิสดาร ได้ตรงตามพุทธประสงค์ทุกประการ เช่น ครั้งหนึ่ง พระศาสดาทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรโดยย่อแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายยังไม่เข้าใจเนื้อความ จึงอาราธนาพระเถระอธิบายให้ฟัง พระเถระอธิบายขยายความแห่งพระสูตรนั้นโดยพิสดารแล้วบอกว่า ถ้ารูปใดยังไม่แน่ใจก็ขอให้ไปทูลถามพระศาสดา ภิกษุทั้งหลายไปกราบทูลถามพระศาสดาตามที่ท่านได้อธิบาย พระศาสดาทรงสรรเสริญท่านแล้ว ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะเป็นคนมีปัญญา ถ้าพวกเธอถามเนื้อความนั้นกับเราแม้เราก็ต้องแก้อย่างนั้นเหมือนกันเนื้อความแห่งธรรมที่เรา แสดงไว้โดยย่อมีความหมายอย่างนั้นแหละเธอทั้งหลายจงทรง จำเนื้อความนั้น ไว้เถิด เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้รับแต่งตั้งจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร ด้วยพระดำรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจายนะ เป็นเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จำแนกเนื้อความที่เรากล่าวไว้โดยย่อให้พิสดาร”

  • ท่านเคยเป็นปุโรหิต เมืองอุชเชนี สมัยพระเจ้าจัณฑปัชโชติ
  • ท่านพร้อมด้วยบริวาร 7 คน ถูกพระเจ้าจัณฑปัชโชติส่งไปเชิญเสด็จพระศาสดาที่วัดเชตวัน และขอบวชที่นั่น
  • ท่านเป็นผู้ขอพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ในชนบทจำนวน 5 รูปสามารถทำพิธีอุปสมบทได้
  • ท่านได้รับเอตทัคคะว่าเป็นเลิศในการขยายความย่อให้พิสดาร

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ : รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน
พระอุรุเวลกัสสปเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ : เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก อัครสาวกเบื้องขวา
พระมหาโมคคัลลานเถระ : เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
พระมหากัสสปเถระ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ
พระมหากัจจายนเถระ : อธิบายความย่อให้พิศดาร
พระโมฆราชเถระ : ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระราธเถระ : มีปฏิภาณ(ไหวพริบดี)
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ : เป็นผู้เลิศในด้านการแสดงธรรมเทศนา
พระกาฬุทายีเถระ : ทำสกุลที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ : เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างสำรวมระวังอินทรีย์ 6
พระราหุลเถระ : เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระอุบาลีเถระ : ผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
พระภัททิยเถระ : ในทางเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง หรือสุขุมาลชาติ
พระอนุรุทธเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
พระอานนทเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร
พระโสณโกฬิวิสเถระ : เป็นเลิศในทางปรารภความเพียร
พระรัฐบาลเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหาปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางเจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
พระโสณกุฏิกัณณเถระ : ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระลกุณฎกภัททิยเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีเสียงไพเราะ
พระสุภูติเถระ : เป็นผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีกิเลส และเป็นทักขิไณยบุคคล
พระกังขาเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในการเข้าฌาน
พระโกณฑธานเถระ : เป็นเลิศในทางถือสลากเป็นปฐม
พระวังคีสเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ
พระปิลินทวัจฉเถระ : เป็นเลิศในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา
พระกุมารกัสสปเถระ: เป็นเลิศในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
พระมหาโกฏฐิตเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระโสภิตเถระ : เป็นเลิศในทางระลึกชาติก่อนได้
พระนันทกเถระ : เป็นเลิศในทางสอนนางภิกษุณี
พระมหากัปปินเถระ : เป็นเลิศในทางการสอนภิกษุ
พระสาคตเถระ : ผู้ฉลาด (ชำนาญ) ในทางเตโชสมาบัติ
พระอุปเสนเถระ : เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบด้าน
พระขทิรวนิยเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
พระสีวลีเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภมาก
พระวักกลิเถระ : เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้เป็นสัทธาวิมุตติ
พระพาหิยทารุจีริยเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายตรัสรู้เร็วพลัน
พระพากุลเถระ : เป็นผู้มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยที่สุดด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย