ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เอตทัคคะ

พระมหากัสสปเถระ เอตทัคคะ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ

มีนามเดิมว่า “ปิปผลิมาณพ” เกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า “มหาติฏฐะ” ในแคว้นมคธ เมืองราชคฤห์ บิดาชื่อ กปิละ มารดาไม่ปรากฎชื่อ เป็นวรรณะพราหมณ์ตระกูลมหาศาลเชื้อสายกัสสปโคตร

ต่อมาบิดาและมารดาจึงต้องการผู้สืบเชื้อสายวงค์ตระกูล ได้จัดการให้แต่งงานกับหญิงสาวธิดาพราหมณ์มหาศาลเหมือนกัน ชื่อภัททกาปิลานี ในขณะท่านมีอายุได้ 20 ปี นางภัททกาปิลานีมีอายุได้ 16 ปี แต่เพราะทั้งคู่จุติมาจากพรหมโลก และบำเพ็ญเนกขัมมบารมีมา จึงไม่ยินดีเรื่องกามารมณ์

เห็นโทษของการครองเรือนว่า ต้องคอยเป็นผู้รับบาปจากการการะทำของผู้อื่น ในที่สุดทั้งสองได้ตัดสินใจออกบวชโดยยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ญาติและบริวาร พวกเขาได้ไปซื้อผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตรดินจากตลาด ต่างฝ่ายต่างปลงผม ให้แก่กันเสร็จแล้ว ครองผ้ากาสาวพัสตร์สะพายบาตร ลงจากปราสาทไปอย่างไม่มีความอาลัย

ท่านได้ไปพบ พระพุทธองค์ที่ต้นไทร ชื่อว่า “พหุปุตตนิโครธ” ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พระพุทธองค์ทรงประทานการบวชให้ท่านแบบ โอวาท ปฏิคคหณูปสัมปทา คือ การบวชด้วยการประทานโอวาทให้ 3 ข้อ คือ

  1. ทรงสอนให้มีหิริโอตตัปปะในภิกษุที่เป็นเถระ นวกะ และปานกลาง
  2. ทรงสอนให้ฟังธรรมทั้งหมดที่ประกอบไปด้วยกุศล ด้วยความเคารพและทรงจำไว้ให้ได้
  3. ทรงสอนให้เจริญกายคตาสติอย่างสม่ำเสมอ
  • ท่านออกบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก
  • ท่านได้รับสังฆาฏิจากพุทธองค์ ซึ่งเป็นการยกย่องอย่างยิ่ง
  • ท่านเป็นต้นแบบของผู้มักน้อยสันโดษ คือสมาทานธุดงค์ครบทั้ง 13 ข้อ
  • ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในการถือธุดงค์เป็นวัตร
  • ท่านได้เป็นประธานจัดทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ : รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน
พระอุรุเวลกัสสปเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ : เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก อัครสาวกเบื้องขวา
พระมหาโมคคัลลานเถระ : เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
พระมหากัสสปเถระ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ
พระมหากัจจายนเถระ : อธิบายความย่อให้พิศดาร
พระโมฆราชเถระ : ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระราธเถระ : มีปฏิภาณ(ไหวพริบดี)
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ : เป็นผู้เลิศในด้านการแสดงธรรมเทศนา
พระกาฬุทายีเถระ : ทำสกุลที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ : เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างสำรวมระวังอินทรีย์ 6
พระราหุลเถระ : เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระอุบาลีเถระ : ผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
พระภัททิยเถระ : ในทางเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง หรือสุขุมาลชาติ
พระอนุรุทธเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
พระอานนทเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร
พระโสณโกฬิวิสเถระ : เป็นเลิศในทางปรารภความเพียร
พระรัฐบาลเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหาปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางเจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
พระโสณกุฏิกัณณเถระ : ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระลกุณฎกภัททิยเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีเสียงไพเราะ
พระสุภูติเถระ : เป็นผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีกิเลส และเป็นทักขิไณยบุคคล
พระกังขาเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในการเข้าฌาน
พระโกณฑธานเถระ : เป็นเลิศในทางถือสลากเป็นปฐม
พระวังคีสเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ
พระปิลินทวัจฉเถระ : เป็นเลิศในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา
พระกุมารกัสสปเถระ: เป็นเลิศในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
พระมหาโกฏฐิตเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระโสภิตเถระ : เป็นเลิศในทางระลึกชาติก่อนได้
พระนันทกเถระ : เป็นเลิศในทางสอนนางภิกษุณี
พระมหากัปปินเถระ : เป็นเลิศในทางการสอนภิกษุ
พระสาคตเถระ : ผู้ฉลาด (ชำนาญ) ในทางเตโชสมาบัติ
พระอุปเสนเถระ : เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบด้าน
พระขทิรวนิยเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
พระสีวลีเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภมาก
พระวักกลิเถระ : เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้เป็นสัทธาวิมุตติ
พระพาหิยทารุจีริยเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายตรัสรู้เร็วพลัน
พระพากุลเถระ : เป็นผู้มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยที่สุดด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 ลัทธิของค้านท์
ลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัด หรือ Moral Purism แปลว่า บริสุทธิ์นิยมทางศีลธรรม หรือบางทีก็เรียกว่า หน้าที่นิยม เพราะเน้นที่หน้าที่เป็นหลัก

🍁 ประชุมพงศาวดาร
การศึกษาหาความรู้พงศาวดาร และตำนานเก่าย่อมถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งใน การศึกษาทั่วทุกประเทศ

🍁 อปริหานิยธรรม 7
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์

🍁 จริยธรรม
จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต

🍁 ภาษิต คติพจน์ ของอังกฤษ

🍁 คมคำบาดใจ

🍁 ปรัชญาชาวบ้าน

🍁 ปรัชญาจากพระคัมภีร์ไบเบิล

🍁 บทเพลงสากลจากอดีต (แปลไทย)

🍁 สุภาษิตจีน

🍁 สุภาษิตสอนหญิง

🍁 ภาษิตจีนโบราณ

🍁 ปราชญ์สอนว่า (ขงจื้อ)

🐍 โปรดระวังงูฉก

ความดีงามในความเป็นมนุษย์เริ่มถดถอย
เมื่อเราใช้ความคิดมากขึ้นแต่ใช้ความรู้สึกน้อยลง

ความรักและมนุษยธรรมกลายเป็นเรื่องไร้สาระ
เมื่อความรู้มีไว้ใช้คุยข่ม
ความฉลาดปราดเปรื่องคือความได้เปรียบ

จากสังคมแห่งการแบ่งปัน
สู่สังคมความแห่งการแย่งชิง

ระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ
ขยายอิทธิพลมาถึงหัวบันไดบ้าน

ความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำ
กินพื้นที่ชีวิตทุกภาคส่วน

ไม่มีช่องว่างให้โอดโอย.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
สง่างามแบบมนุษย์ๆ ไม่ขี้โกงเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่นินทากันลับหลัง ไม่เหยียบย่ำทำลายกัน นั่นย่อมประเสริฐแล้ว

🌿 ฝ่าเท้าเย้ยพิภพ
ปรัชญาเถื่อน โดย :: สารถี แห่งลุ่มแม่น้ำเพชร
อหังการ์แห่งมนุษยชาติ ก้าวเท้ากดลึกลงบนผิวดวงจันทร์ บริวารเก่าแก่ดวงเดียวของโลก ซึ่งครั้งหนึ่ง บรรพชนเคยนมัสการกราบไหว้

🌿 ความทรงจำที่เศร้าหมอง
จอมยุทธ : กรีดสาย
กับความอาดูรที่สูญสิ้น บางสิ่งบางอย่างไม่อาจหวนคืน ใครคนหนึ่งเก็บตัวเงียบเหมือนสัตว์ป่าหายาก

🌿 ธรรมนูญนรก
ปรัชญาเถื่อน โดย :: สารถี แห่งลุ่มแม่น้ำเพชร
และแล้วชีวิตก็จากไป จากไปอย่างไร้ร่องรอย คงทิ้งไว้แต่เพียงเรือนร่างร้างที่เคยสิงสถิต ซากศพผู้จงรักภักดี

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆