ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พระราหุลเถระ เอตทัคคะ : เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
บิดามีชื่อว่า เจ้าชายสิทธัตถะ มารดาชื่อว่า พระนางยโสธรา(พิมพา)
เป็นพระนัดดา(หลาน) ของพระเจ้าสุทโธทนะผู้ครองนครกบิลพัสดุ์
ท่านได้ออกบวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ได้เพียง 7
วันสาเหตุที่ท่านได้เข้าไปบวชนั้นก็เพราะว่าเข้าไปทูลขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบิดาตามคำชี้แนะของพระนางยโสธราผู้เป็นมารดา
พระพุทธองค์ทรงดำริว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
ที่จะมั่นคงถาวรและประเสริฐยิ่งกว่าอริยทรัพย์นั้นไม่มีควรที่เราจะให้อริยทรัพย์แก่ราหุลเถิด
ทรงมอบหมายให้ พระสารีบุตรเถระเป็น พระอุปัชฌาย์ พระเถระรับพุทธบัญชา
แต่ว่า พระกุมารนั้นยังเล็กเกินไป อายุได้ 7 ปี ไม่ควรที่จะเป็นสงฆ์
จึงทูลถามพระพุทธองค์ถึงวิธีบรรพชา พระศาสดาตรัสให้ใช้ตาม วิธีติสรณคมนูปสัมปทา
เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัย ให้พระกุมารบวช วิธีนี้ได้ใช้กันสืบมาถึงทุกวันนี้
เรียกว่า บวชเณร
ท่านมีวัตรปฏิบัติที่เลื่องลือมากอย่างน้อย 2 ประการ
ที่นอกเหนือจากการเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา คือ 1.) ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย และ
2.) การเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อมารดา
- ท่านเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา
- ท่านเป็นสามเณรด้วยวิธีไตรสรณคมน์ มีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์
- ท่านเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
- ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
- ท่านมีความกตัญญูกตเวทีเป็นยอด
- ท่านปรินิพพานในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก่อนพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตร
พระอัญญาโกณฑัญญเถระ : รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน
พระอุรุเวลกัสสปเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ : เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก อัครสาวกเบื้องขวา
พระมหาโมคคัลลานเถระ : เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
พระมหากัสสปเถระ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ
พระมหากัจจายนเถระ : อธิบายความย่อให้พิศดาร
พระโมฆราชเถระ : ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระราธเถระ : มีปฏิภาณ(ไหวพริบดี)
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ : เป็นผู้เลิศในด้านการแสดงธรรมเทศนา
พระกาฬุทายีเถระ : ทำสกุลที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ : เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างสำรวมระวังอินทรีย์ 6
พระราหุลเถระ :
เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระอุบาลีเถระ : ผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
พระภัททิยเถระ : ในทางเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง หรือสุขุมาลชาติ
พระอนุรุทธเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
พระอานนทเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร
พระโสณโกฬิวิสเถระ : เป็นเลิศในทางปรารภความเพียร
พระรัฐบาลเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหาปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางเจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
พระโสณกุฏิกัณณเถระ : ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระลกุณฎกภัททิยเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีเสียงไพเราะ
พระสุภูติเถระ : เป็นผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีกิเลส และเป็นทักขิไณยบุคคล
พระกังขาเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในการเข้าฌาน
พระโกณฑธานเถระ : เป็นเลิศในทางถือสลากเป็นปฐม
พระวังคีสเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ
พระปิลินทวัจฉเถระ : เป็นเลิศในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา
พระกุมารกัสสปเถระ: เป็นเลิศในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
พระมหาโกฏฐิตเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระโสภิตเถระ : เป็นเลิศในทางระลึกชาติก่อนได้
พระนันทกเถระ : เป็นเลิศในทางสอนนางภิกษุณี
พระมหากัปปินเถระ : เป็นเลิศในทางการสอนภิกษุ
พระสาคตเถระ : ผู้ฉลาด (ชำนาญ) ในทางเตโชสมาบัติ
พระอุปเสนเถระ : เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบด้าน
พระขทิรวนิยเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
พระสีวลีเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภมาก
พระวักกลิเถระ : เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้เป็นสัทธาวิมุตติ
พระพาหิยทารุจีริยเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายตรัสรู้เร็วพลัน
พระพากุลเถระ : เป็นผู้มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยที่สุดด้วย