ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เอตทัคคะ

พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะ : ในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา

นามเดิมชื่อว่า “ปิลินทะ” ส่วนคำว่าวัจฉะเป็นชื่อของโคตร ภายหลังชื่อว่า “ปิลินทวัจฉะ” เพราะนำเอาชื่อโคตรไปรวมด้วยเกิดในตระกูลวัจฉโคตรใน เมืองสาวัตถี ส่วนบิดาและมารดาไม่ปรากฎนามปกติท่านเป็นผู้ที่มากไปด้วยความสังเวช คือความสลดใจที่ประกอบกับโอตตัปปะ ได้บวชเป็นปริพาชกสำเร็จวิชา3 ชื่อว่า จูฬคันธาระ เหาะเหินเดินอากาศได้และรู้ใจของผู้อื่น มีลาภยศมากโดยอาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ และประทับประกาศพระศาสนาอยู่ที่นครราชคฤห์ ทำให้วิชา และลาภยศของท่านเสื่อม ต่อมาท่านจึงเลื่อมใสและขอบวช โดยหวังว่าจะได้เรียนรู้วิชาจากพระพุทธองค์

เพราะผู้ที่ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านสมัยเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ไปเกิดเป็นเทวดามากมาย เทวดาเหล่านั้นอาศัยความกตัญญู มีความนับถือท่านมาก เข้าไปหาท่านทั้งเช้าเย็น แต่ท่านมักจะมีปัญหากับภิกษุและชาวบ้าน เพราะท่านชอบใช้วาจาไม่ไพเราะ ต่อมาพระศาสดาทรงแก้ไขให้ทุกคนเข้าใจ ก็ไม่มีใครถือสากลับมีศรัทธาเลื่อมใสยิ่งขึ้น

ท่านเป็นพระที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เล่ากันว่า ชายคนหนึ่งถือถาดดีปลีมา ท่านถามว่า “ถาดอะไรไอ้ถ่อย” ชายคนนั้นโกรธ คิดว่าพระอะไรพูดคำหยาบ จึงตอบไปว่า “ถาดขี้หนู” พอผ่านท่านไปดีปลีเป็นขี้หนูจริง ๆ ต่อมามีคนแนะนำเขาว่าให้เดินสวนทางกับท่านใหม่ ถ้าท่านถามอย่างนั้น จงตอบท่านว่าดีปลี ก็จะกลายเป็นดีปลีดังเดิม เขาได้ทำตามคำแนะนำ ปรากฏว่ามูลหนูกลับเป็นดีปลีดังเดิม

  • ก่อนบวชท่านเคยบวชเป็นปริพพาชก สำเร็จวิชา 3 เหาะเหินเดินอากาศ และรู้ใจคนอื่นได้
  • ท่านพบพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ถูก พระศาสดาทำให้ท่านเสื่อมวิชา และเสื่อมลาภ ท่านจึงเข้ามาฟังธรรมแล้วปฏิบัติตามธรรมจนบรรลุพระอรหันต์
  • ท่านมักพูดกับคนอื่นว่า คนถ่อย เพราะความเคยชิน แต่ไม่เจตนาร้าย
  • ท่านได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้รักใคร่ของเหล่าเทพยดาทั้งหลาย

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ : รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน
พระอุรุเวลกัสสปเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ : เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก อัครสาวกเบื้องขวา
พระมหาโมคคัลลานเถระ : เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
พระมหากัสสปเถระ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ
พระมหากัจจายนเถระ : อธิบายความย่อให้พิศดาร
พระโมฆราชเถระ : ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระราธเถระ : มีปฏิภาณ(ไหวพริบดี)
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ : เป็นผู้เลิศในด้านการแสดงธรรมเทศนา
พระกาฬุทายีเถระ : ทำสกุลที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ : เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างสำรวมระวังอินทรีย์ 6
พระราหุลเถระ : เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระอุบาลีเถระ : ผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
พระภัททิยเถระ : ในทางเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง หรือสุขุมาลชาติ
พระอนุรุทธเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
พระอานนทเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร
พระโสณโกฬิวิสเถระ : เป็นเลิศในทางปรารภความเพียร
พระรัฐบาลเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหาปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางเจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
พระโสณกุฏิกัณณเถระ : ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระลกุณฎกภัททิยเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีเสียงไพเราะ
พระสุภูติเถระ : เป็นผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีกิเลส และเป็นทักขิไณยบุคคล
พระกังขาเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในการเข้าฌาน
พระโกณฑธานเถระ : เป็นเลิศในทางถือสลากเป็นปฐม
พระวังคีสเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ
พระปิลินทวัจฉเถระ : เป็นเลิศในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา
พระกุมารกัสสปเถระ: เป็นเลิศในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
พระมหาโกฏฐิตเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระโสภิตเถระ : เป็นเลิศในทางระลึกชาติก่อนได้
พระนันทกเถระ : เป็นเลิศในทางสอนนางภิกษุณี
พระมหากัปปินเถระ : เป็นเลิศในทางการสอนภิกษุ
พระสาคตเถระ : ผู้ฉลาด (ชำนาญ) ในทางเตโชสมาบัติ
พระอุปเสนเถระ : เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบด้าน
พระขทิรวนิยเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
พระสีวลีเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภมาก
พระวักกลิเถระ : เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้เป็นสัทธาวิมุตติ
พระพาหิยทารุจีริยเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายตรัสรู้เร็วพลัน
พระพากุลเถระ : เป็นผู้มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยที่สุดด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย