ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พระอานนทเถระ เอตทัคคะ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
บิดาชื่อว่า สุกโกทนะ มารดาชื่อว่า กีสาโคตมี
มีฐานะเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ อนุรุทธะ ภคุ
กิมพิละ เทวทัตแห่งเมืองเทวทหะด้วย
แต่ท่านพิเศษกว่าตรงที่เป็นสหชาต(ผู้เกิดพร้อมกัน)ของพระพุทธเจ้า
ท่านออกบวชพร้อมกับภัททิยะ อนุรุทธะ ภคุ กิมพิละ เทวทัต และอุบาลี
ที่อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ มูลเหตุที่ทำให้ท่านบวช
เพราะเป็นจังหวะที่พระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ
จึงปรึกษากันแล้วพร้อมใจกันบวชตามเป็นจำนวนมาก
ท่านได้บรรลุธรรมช้ากว่าเจ้าชายศากยะ เพราะว่าท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม
เนื่องจากต้องขวนขวายอยู่กับการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
เพราะได้ฟังธรรมของพระปุณณมันตานีบุตร และได้บรรลุพระอรหันต์เมื่ออายุได้ 80 ปี
ก่อนมีการทำปฐมสังคายนา ภายหลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน
รวมเวลาที่ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันอยู่นานถึง 42 ปี
ท่านบรรลุพระอรหันต์แปลกกว่าสาวกองค์อื่นๆ คือไม่อยู่ในอิริยาบถทั้ง 4
ได้แก่ขณะที่ท่านนั่งอยู่บนเตียงแล้วจึงค่อยเปลี่ยนการเอนกายลงด้วยตั้งใจว่า
จักนอนพักผ่อนสักครู่หนึ่ง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน
ระหว่างนี้เองจิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะคลายความยึดมั่นลงได้
ท่านองค์เดียวเท่านั้นที่บรรลุพระอรหันต์ที่ไม่อยู่ในอิริยาบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง
และนอน และหลังจากบรรลุพระอรหันต์แล้วไม่นานก็รุ่งเช้า เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จ
ขณะที่พระสงฆ์ 499 องค์ ได้เข้าไปนั่งรอท่านอยู่ในมณฑปที่ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขา
เวภาระ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธนั้น
ท่านก็ได้แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏเพื่อประกาศให้คณะสงฆ์ได้ทราบว่าท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว
ด้วยการดำดินแล้วไปโผล่ขึ้นตรงอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ท่านนั่ง
จากนั้นการทำสังคายนาจึงได้เริ่มขึ้น
เพราะเหตุที่พระอานนทเถระ เป็นผู้ทรงธรรมวินัยมีความรอบคอบหนักในเหตุผล
มีปัญญาแก้ปัญหาต่าง ๆ และอุปัฏฐากพระศาสดา
โดยไม่หวังประโยชน์ส่วนตนหวังให้เกิดผลแก่พระพุทธศาสนาในอนาคตกาลภายภาคหน้าองค์สมเด็จพระบรมศาสดา
จึงทรงสรรเสริญท่าน โดยอเนกปริยายและตั้งไว้ในเอตทัคคะว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร มีสติมีคติ มีธิติ และเป็น
พุทธอุปัฏฐาก
บั้นปลายชีวิตท่านมีอายุถึง 120 ปี จึงปรินิพพานในอากาศ เหนือแม่น้ำโรหิณี
ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย คือ เจ้าศากยะและเจ้าโกลิยะ
พระอัญญาโกณฑัญญเถระ : รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน
พระอุรุเวลกัสสปเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ : เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก อัครสาวกเบื้องขวา
พระมหาโมคคัลลานเถระ : เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
พระมหากัสสปเถระ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ
พระมหากัจจายนเถระ : อธิบายความย่อให้พิศดาร
พระโมฆราชเถระ : ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระราธเถระ : มีปฏิภาณ(ไหวพริบดี)
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ : เป็นผู้เลิศในด้านการแสดงธรรมเทศนา
พระกาฬุทายีเถระ : ทำสกุลที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ : เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างสำรวมระวังอินทรีย์ 6
พระราหุลเถระ : เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระอุบาลีเถระ : ผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
พระภัททิยเถระ : ในทางเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง หรือสุขุมาลชาติ
พระอนุรุทธเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
พระอานนทเถระ :
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร
พระโสณโกฬิวิสเถระ : เป็นเลิศในทางปรารภความเพียร
พระรัฐบาลเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหาปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางเจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
พระโสณกุฏิกัณณเถระ : ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระลกุณฎกภัททิยเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีเสียงไพเราะ
พระสุภูติเถระ : เป็นผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีกิเลส และเป็นทักขิไณยบุคคล
พระกังขาเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในการเข้าฌาน
พระโกณฑธานเถระ : เป็นเลิศในทางถือสลากเป็นปฐม
พระวังคีสเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ
พระปิลินทวัจฉเถระ : เป็นเลิศในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา
พระกุมารกัสสปเถระ: เป็นเลิศในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
พระมหาโกฏฐิตเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระโสภิตเถระ : เป็นเลิศในทางระลึกชาติก่อนได้
พระนันทกเถระ : เป็นเลิศในทางสอนนางภิกษุณี
พระมหากัปปินเถระ : เป็นเลิศในทางการสอนภิกษุ
พระสาคตเถระ : ผู้ฉลาด (ชำนาญ) ในทางเตโชสมาบัติ
พระอุปเสนเถระ : เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบด้าน
พระขทิรวนิยเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
พระสีวลีเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภมาก
พระวักกลิเถระ : เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้เป็นสัทธาวิมุตติ
พระพาหิยทารุจีริยเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายตรัสรู้เร็วพลัน
พระพากุลเถระ : เป็นผู้มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยที่สุดด้วย