ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์

คณะพุทธศาสตร์ สาขาเอกพระพุทธศาสนา,คณะสังคมศาสตร์ สาขาเอกรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

        ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต เป็นตระกูลภาษาเดียวกัน ดังนั้น จึงมีการสร้างคำและวิธีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน ผู้ที่รู้ภาษาสันสกฤต ย่อมเข้าใจหลักการภาษาบาลีได้โดยไม่ยากนัก ก็หลักการแห่งไวยากรณ์ในภาษาบาลีนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากไวยากรณ์สันสกฤตเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวยากรณ์ภาษาบาลีในยุคหลังอรรถกถาของพระพุทธโฆสเถระ เช่น คัมภีร์กัจจายนะ ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ไวยากรณ์สันสกฤตชื่อกาตันตระ, คัมภีร์โมคคัลลานะอาศัยคัมภีร์จานทรไวยากรณ์ ดังนี้เป็นต้น ซึ่งต่างจากคัมภีร์ยุคก่อน เช่น นิรุตติปิฎก และมหานิรุตติเป็นต้นที่มีแนวการเขียนที่ ไม่ได้อิงอาศัยสูตรของคัมภีร์สันสกฤตแต่อย่างใด

จะอย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาษาบาลีจะได้รับอิทธิพลทางกฏเกณฑ์จากสันสกฤต แต่ก็ต้องเป็นกฏเกณฑ์ที่สามารถเข้าได้กับพระพุทธพจน์ ดังจะเห็นได้จากการที่พระอาจารย์กัจจายนะ ได้เขียนสูตรกัจจายนะไว้ว่า "ชินวจนยุตฺตํ หิ" (ที่สอดคล้องกับพุทธพจน์) "ตทนุปโรเธน" (โดยไม่ขัดกับพระพุทธพจน์)

คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีที่เก่าแก่ที่สุด น่าจะเป็นคัมภีร์นิรุตติปิฎกและมหานิรุตติซึ่งเป็นผลงานของพระมหาสาวกกัจจายนะสมัยพุทธกาล, คัมภีร์จูฬนิรุตติปิฎกของพระยมกเถระ และคัมภีร์กัจจายนะของพระกัจจายนเถระ ซึ่งคัมภีร์เหล่านี้ ไม่หลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบันอีกแล้ว ยกเว้นคัมภีร์กัจจายนะเท่านั้นที่ยังคงความเป็นอมตะอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ส่วนคัมภีร์ที่ปรากฏในยุคปัจจุบันล้วนเป็นคัมภีร์ยุคหลังทั้งสิ้น

 

รายงาน เรื่องนี้ เป็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ ความเป็นมา ประวัติของผู้แต่ง จุดเด่น รูปแบบ และลักษณะของเรื่องย่อที่เป็นข้อๆ ของคัมภีร์ สัททนีติปทมาลา คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์ โดย พระอัคควังสเถระ เป็นผู้รจนา ซึ่งทางกลุ่มผู้จัดทำนี้ ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลแล้วเลือกเอาหัวข้อที่สำคัญจัดพิมพ์ไว้ เพื่อให้ผู้สนใจในหลักบาลีดังกล่าว นำไปค้นคว้าต่อในหนังสือคัมภีร์ สัททนีตีปทมาลา ฉบับสมบูรณ์ตามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสงฆ์ต่อไป

ส่วนเนื้อหาสาระที่สำคัญในรายงานนี้ประกอบด้วย ความเป็นมา ประวัติผู้แต่ง (รจนา) จุดเด่น รูปแบบการรจนา และ หัวข้อย่อๆ ที่สำคัญ เป็นต้น

อีกประการหนึ่ง ก็ขอขอบพระคุณ หนังสือคัมภีร์ สัททนีติปทมาลา คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ที่ได้ให้ข้อมูลดังกล่าว และคณะอาจารย์ประจำวิชาที่ให้คำแนะนำ ในการทำรายงานเล่มนี้ให้สำเร็จไป หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

บทนำ
ความเป็นมาพอสังเขป
ประวัติเกี่ยวกับผู้รจนา
รูปแบบและวิธีการรจนาคัมภีร์สัททนีติ
สาระสำคัญในสัททนีติ ปทมาลา
ส่วนที่เป็นเนื้อหาย่อย
เนื้อหาสาระโดยสังเขป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย