ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์

บทนำ
ความเป็นมาพอสังเขป
ประวัติเกี่ยวกับผู้รจนา
รูปแบบและวิธีการรจนาคัมภีร์สัททนีติ
สาระสำคัญในสัททนีติ ปทมาลา
ส่วนที่เป็นเนื้อหาย่อย
เนื้อหาสาระโดยสังเขป

ประวัติเกี่ยวกับผู้รจนา

ผู้รจนาหรือเขียนคัมภีร์สัททนีตินี้ มีชื่อในทางพระพุทธศาสนาว่า อัคควังสะ เป็นชาวเมืองอริมัททนะหรือพุกามซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของท่านผู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมยุคนั้น (ผู้แตกฉานปริยัติธรรม 3 ท่านประกอบด้วย พระมหาอัคคบัณฑิตเถระ มีศิษย์ชื่อ พระอัคคบัณฑิตเถระ และพระอัคควังสเถระ หลานของพระอัคคบัณฑิตเถระ)

ในคัมภีร์สาสนาลังการะและสาสนวังสปทีปิกา ได้ระบุประวัติของพระอัคควังสะไว้ว่า "ท่านได้รจนาคัมภีร์สัททนีติ ระหว่างปี พ.ศ. 1697" ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอะลองสี่ตู่ (จุลศักราช 454 - 529 หรือพุทธศักราช 1635 - 1701) ส่วนในคัมภีร์ปิฏกัดต่อตะมาย ระบุว่า "คัมภีร์นี้รจนาระหว่างปี พ.ศ. 1777 - 1793) ในยุคสมัยของพระเจ้าจะสวา

จะอย่างไรก็ตาม เนื่องจากในคัมภีร์สัททนีติเอง ไม่ได้กำหนดศักราช เป็นที่แน่ชัดจึงยากที่จะตัดสินลงไปว่าท่านแต่งเมื่อใด แต่เมื่อได้อาศัยเทียบเคียงกับคัมภีร์ไวยากรณ์อื่นเช่น คัมภีร์โมคคัลลานะซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สัททนีติเอ่ยถึงในเนื้อหา อันแสดงให้เห็นว่า คัมภีร์สัททนีติแต่งหลังคัมภีร์โมคคัลลานะ ส่วนคัมภีร์โมคคัลลานะนั้น แต่งภายหลัง พ.ศ. 1696ดังนั้น คัมภีร์สัททนีติ ก็คงมีอายุกาลภายหลังจากนี้

คัมภีร์สัททนีติ ได้รับการยอมรับจากนักไวยากรณ์เป็นจำนวนมากทั้งในประเทศพม่าและลังกา เช่น สมเด็จพระสังฆราชลังกาทรงพระนามว่าสิริราหุล ผู้รจนาคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาปทีปะ ทรงยกย่องคัมภีร์นี้มาก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย