วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ความสำคัญของแนวปะการัง
ประเภทของแนวปะการัง
สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง
ชีววิทยาของปะการัง
แนวปะการังที่สำคัญของประเทศไทย
สภาวะความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
สาเหตุความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
การฟื้นฟูแนวปะการัง
ข้อควรพิจารณาในการฟื้นฟูแนวปะการัง
สภาวะความเสื่อมโทรมของแนวปะการัง
ในการที่จะประเมินสภาพของแนวปะการังบริเวณใดว่ามีสภาพสมบูรณ์หรือเสื่อมโทรมนั้น
ก็จะต้องทราบและเข้าใจลักษณะโครงสร้างทางธรรมชาติของชุมชนปะการังในแต่ละบริเวณด้วย
การประเมินสภาพแนวปะการังโดยทั่วไปมักพิจารณาโดยตรง
จากอัตราส่วนระหว่างปะการังมีชีวิตกับปะการังตาย ต่อหน่วยพื้นที่
โดยอาจมีการพิจารณารวมกับลักษณะของปะการังที่ตายหรือถูกทำลายในลักษณะต่างๆ
ที่มีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันด้วย เช่น ผลจากการโดนระเบิด
การถูกปกคลุมด้วยตะกอน การปกคลุมหรือถูกรุกรานจากสิ่งมีชีวิตอื่น
การระบาดของดาวมงกุฎหนาม การหัวทำลายจากการทิ้งสมอเรือ
หรือถูกเหยียบย่ำจากนักท่องเที่ยว และการถูกทำลายจากพายุ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการประเมินสภาพของแนวปะการังโดยการพิจารณาจากอัตราส่วนของปะการังมีชีวิตกับปะการังตายเพียงอย่างเดียวนั้น
บางครั้งไม่อาจบ่งบอกถึงสภาพความสมบูรณ์หรือเสื่อมโทรมที่แท้จริงของแนวปะการังได้
และไม่อาจบอกได้ว่าแนวปะการังบริเวณนั้นมีศักยภาพที่สามารถจะฟื้นคืนสภาพได้เองหรือไม่
ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่นชุมชนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
หรือสภาพของระบบนิเวศโดยรวม เป็นต้น
กรมประมงโดยโครงการจัดการทรัพยากรปะการัง
ได้ทำการสำรวจและจัดทำแผนที่ปะการังในน่านน้ำไทยโดยการสำรวจและประเมินพื้นที่แนวปะการังในอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
โดยจำแนกสภาพปะการังออกเป็น 5 ระดับ คือ สภาพสมบูรณ์ดีมาก สมบูรณ์ดี สมบูรณ์ปานกลาง
เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก โดยการประเมินสภาพเป็นอัตราส่วนร้อยละของแต่ละพื้นที่
ซึ่งสภาพแนวปะการังในอ่าวไทย ในการสำรวจระหว่าง ปี 2538 2541
สรุปว่าสภาพปะการังในอ่าวไทยฝั่งตะวันออกมีสภาพสมบูรณ์ดี ประมาณ 36%
และอ่าวไทยฝั่งตะวันตกมีปะการังสภาพสมบูรณ์ดี ประมาณ 52%
(กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ้างถึง กรมประมง, 2546)
ถึงแม้ว่าจากผลการสำรวจดังกล่าวถ้ามองภาพโดยรวมอาจจะเห็นว่าสภาพทั่วไปของปะการังในน่านน้ำไทยยังอยู่ในระดับที่สมบูรณ์อยู่พอสมควร
แต่จากสภาพความเสื่อมโทรมของปะการังประกอบกับสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมนั้น
ส่งผลให้ปะการังอ่อนแอ และทำให้ปะการังมีแนวโน้มเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้น
และอัตราการเสื่อมโทรมของปะการังจะเพิ่มขึ้น
เร็วกว่าในอดีตที่ผ่านมาแม้ว่าหลายพื้นที่จะมีกิจกรรมการอนุรักษ์และมาตรการในการระวังป้องกันแนวปะการังในลักษณะต่างๆ
เพิ่มขึ้นโดนเฉพาะการใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว